เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดดอนมะกอก

รหัสวัด
02730208004

ชื่อวัด
วัดดอนมะกอก

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 24 เดือน ธันวาคม ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
-

ที่อยู่
-

เลขที่
99

หมู่ที่
5

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ดอนข่อย

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73140

เนื้อที่
6 ไร่ - งาน - ตารางวา

Line
0624605445

มือถือ
0624605445

อีเมล์
donmakok69@gmail.com

จำนวนเข้าดู : 511

ปรับปรุงล่าสุด : 30 มกราคม พ.ศ. 2565 16:24:29

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 11:35:27

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดดอนมะกอกที่ตั้งวัดปัจจุบัน
                วัดดอนมะกอก  เป็นวัดราษฎร์  สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย  ทะเบียนวัดเลขที่  ๙๙  หมู่ที่  ๕  ตำบลดอนข่อย
อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  เนื้อที่ของวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน  ๒๕  ไร่โดยประมาณ  มีอาณาเขตโดยรอบดังนี้
          ทิศเหนือ                    จรดที่นาของ  นายประเสริฐ
          ทิศตะวันออก                จรดที่สาธารณะ  ( ครองเจริญสุข )
          ทิศใต้                       จรดที่สาธารณะ
          ทิศตะวันตก                  จรดที่ 
ความเป็นมาของวัด
            แต่เดิมเป็นป่าช้าที่ชาวบ้านหลายหมู่กันไว้ใช้ร่วมกัน   เป็นป่าทึบมีที่เตียนอยู่ชายคลองประมาณ  ๒  ไร่  ซึ่งเป็นที่สาธารณะประโยชน์ที่ปล่อยทิ้งรกร้างไว้โดยมิได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร
    ในปี พ.ศ.๒๕๓๘  มีพระจากวัดดอนเตาอิฐ  ๑  รูปจะมาขอปฏิบัติธรรมซึ่งพิจารณาเห็นว่าเป็นที่เงียบสงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม  และเป็นที่พักสงฆ์ได้  จึงได้มาปรึกษากับผู้ใหญ่บ้านคือ  นายบุญ  วงโคคุ้ม  ต่อมาผู้ใหญ่บุญจึงได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านในเรื่องนี้  ซึ่งชาวบ้านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  และชาวบ้านก็ได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์  สละสิ่งของสร้างศาลาขึ้นมา  ๑  หลัง  ด้านหลังทำเป็นห้องสำหรับพระจำวัด  ซึ่งพรรษานั้นมีพระมาจำพรรษา  ๓  รูป  พระที่ได้มาจำพรรษาร่วมกับชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา  ก็จะมาช่วยกันพัฒนาถากถางป่าที่รกชัฏเหลือไว้แต่ต้นไม้ใหญ่
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป
                ลักษณะพื้นที่ของวัดเป็นที่ปานกลางไม่ลุ่มไม่ดอน  ห่างหมู่บ้านประมาณ๘๐๐ เมตร ไม่ไกลมากนักชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาข้าว  และเลี้ยงกุ้ง
ยุคที่มีการก่อสร้างเริ่มแรก
          ปี  พ.ศ.๒๕๓๘  สร้างศาลาหลังเล็ก
          ปี  พ.ศ.๒๕๔๑  สร้างกุฏิ  ๓  ห้อง ๒  ชั้น ได้ใช้งบประมาณไป  ๒๐๐,๐๐๐  กว่าบาท
          ปี  พ.ศ.๒๕๔๔  เริ่มสร้างศาลาการเปรียญ
          ปี  พ.ศ.๒๕๔๕  เริ่มสร้างเมรุ
          ปี  พ.ศ.๒๕๔๘  สร้างศาลาเมรุ
การพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องโดยลำดับ
                เรื่องราวต่อจากประวัติของวัดในข้างต้น  ประมาณ  ๒  ปีต่อมาผู้สูงอายุ  และ  ชาวบ้านได้เห็นดีสมควรที่จะต้องทำพิธี  ล้างป่าช้าจึงไปหาหมอมาทำพิธี  พอทำพิธีเสร็จเรียบร้อยพระอาจารย์พล  ผู้ที่มาร่วมบุกเบิกจึงคุยกับชาวบ้านให้ช่วยกันแล้วแต่กำลังศรัทธา  จัดสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้น  ๑  หลังด้วยวงเงินประมาณ  ๒๐๐,๐๐๐  บาทเศษสามห้อง  ๒  ชั้นประมาณ  ๒  ปีจึงแล้วเสร็จ  ต่อมาก็เริ่มสร้างศาลาการเปรียญขึ้น  ๑  หลังโครงสร้างทำด้วยปูนเสริมเหล็กยกพื้นประมาณ  ๑  เมตรโดยยังไม่เสร็จสมบูรณ์  มีญาติโยมผู้มีจิตศรัทธามาช่วยชี้แนะให้มีการสร้างเมรุ  จึงได้ไปปรึกษาท่าน  พระครูวิมลญาณวัฒน์( หลวงพ่อเสมียน )  เจ้าคณะตำบลสามง่ามพร้อมชาวบ้านพูดคุยกันจึงเห็นสมควรให้สร้างเมรุไปพร้อมกับศาลาการเปรียญโดยมีท่าน  พระครูวิมลญาณวัฒน์  ( หลวงพ่อเสมียน )  เจ้าคณะตำบลสามง่ามเป็นประธานฝ่ายสงฆ์  พร้อมด้วยชาวบ้านพอเมรุสร้างเสร็จจนใช้การได้ท่านอาจารย์เสมียน  จึงได้นิมนต์ พระครูประยุตนวการ  (หลวงปู่แย้ม)  วัดสามง่ามมาทำพิธีเปิดเพื่อเป็นการฉลอง  ต่อมาจึงมีการสร้างศาลาเมรุเพิ่มขึ้นอีก  ๑  หลังโดยมีญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาในละแวกนั้นช่วยกันบริจาคปัจจัยเพื่อที่จะสร้างศาลาเมรุจึงแล้วเสร็จมาจนถึงทุกวันนี้  ด้วยวงเงินประมาณ  ๕๐๐,๐๐๐ บาท  ต่อมาก็ได้ต่อเติมศาลาการเปรียญหลังใหญ่ให้แล้วเสร็จ  แต่ก่อนพระสงฆ์ที่มาจำพรรษาอยู่ต้องอาศัยน้ำคลองเพื่อเป็นที่สงฆ์น้ำ  ต่อมากำนัน  และ  อบต.เห็นว่าเป็นการไม่สะดวกแก่พระสงฆ์  จึงของบประมาณทางราชการทำการเจาะบ่อน้ำบาดาล  และขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้นำไฟฟ้าเข้ามาใช้ภายในที่พักสงฆ์  ในปี  พ.ศ.๒๕๕๔  ทางที่พักสงฆ์ได้บอกบุญผู้ที่มีจิตศรัทธาเพื่อจัดซื้อที่ดินทางทิศเหนือเพิ่มอีก  ๖  ไร่เพื่อเอาไว้สร้างอุโบสถ
          เมื่อต้นปี  พ.ศ.๒๕๕๕  พระสงฆ์บางส่วนได้จาริกไปที่อื่นบางส่วนก็ลาสิขาไปจึงไม่มีพระผู้นำที่จะพัฒนาวัดต่อ  ชาวบ้านเห็นสมควร  ที่จะไปขอพระลูกวัดจากวัดบ่อน้ำจืดมาอยู่ประจำที่พักสงฆ์แห่งนี้จึงไปขอ  พระครูอมรบุญญารักษ์    ( อาจารย์รอด )  รองเจ้าคณะอำเภอกำแพงแสนอาจารย์รอดมีเมตตาจึงส่ง  พระปลัดเสงี่ยม  ญาณสีโล  ซึ่งเป็นพระลูกวัดของท่านมาอยู่ประจำ  ณที่พักสงฆ์แห่งนี้ชาวบ้านมีความพอใจเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อพระปลัดเสงี่ยมมาอยู่ก็ได้เป็นผู้นำพาชาวบ้านช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่มเติม  และถมดินในพื้นที่ต่ำให้สูงเท่าๆกับพื้นที่ส่วนอื่นๆ  และยังถมดินในส่วนที่จะสร้างโบสถ์ขึ้นไปอีก  ๑  เมตรเพื่อเตรียมจัดสร้างโบสถ์ต่อไปตามลำดับ    เมื่อวันที่  ๒๔  ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๕๕  ได้มีประกาศของสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้ประกาศให้เป็นวัดในวันที่  ๑๔  กุมภาพันธ์   ๒๕๕๖ ก็ได้แต่งตั้งให้  พระปลัดเสงี่ยม  ญาณสีโล  ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสพร้อมประกาศให้ที่พักสงฆ์แห่งนี้ได้เป็นวัดโดยใช้ชื่อว่า  วัดดอนมะกอก  จนถึงปัจจุบัน
 
ถาวรวัตถุภายในวัดที่มีอยู่ในปัจจุบัน
๑.       ศาลาการเปรียญ
มีลักษณะเป็นแบบทรงไทยประยุค  ภาพโดยรวมจะอยู่ตรงกลางที่ของวัดมีประตู  เข้า – ออก  อยู่ทางด้านทิศใต้  เป็นประตูกระจกสีดำขอบอลูมิเนียมสองบาน  ๑  ทางทิศตะวันตกเป็นบานเล็กอีก๑บานหน้าต่างโดยรอบก็ทำจากกระจกขอบเป็นอลูมิเนียมเหมือนกัน  โครสร้างของศาลาทำจากปูนเสริมด้วยเหล็กทั้งหมด
๒.      กุฏิ
มีลักษณะเป็นแบบทรงไทยประยุค  อยู่ทางด้านทิศใต้ของศาลาการเปรียญโครงสร้างทำจากปูนเสริมด้วยเหล็ก  ๒  ชั้นมีทั้งหมด  ๖  ห้อง
๓.       เมรุ
เมรุเป็นแบบเตาเดียวไม่ใหญ่มากมีทางขึ้น – ลงสามทางโครงสร้างทำจากปูนเสริมด้วยเหล็ก  อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของศาลาการเปรียญ
๔.       ศาลาเมรุ
ศาลาเมรุอยู่ทางด้านข้างของเมรุ  โครงสร้างทำจากปูนเสริมด้วยเหล็กภายในด้านหลังทำเป็นห้องเก็บของด้วย
๕.       ห้องครัว
ห้องครัวอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของศาลาการเปรียญ  โครงสร้างทำจากปูนเสริมเหล็กด้านหน้าทำเป็นโรงไม้สูงเพื่อเป็นที่ใช้สอยสำหรับพระสงฆ์  และญาติโยมตามแต่เห็นสมควร
ปูชนียวัตถุของวัด
                 
 
                                ลำดับรายชื่อท่านเจ้าอาวาสของวัดดอนมะกอก
            แต่เดิม  พระพล   เตชพโลได้เป็นผู้บุกเบิกวัดแห่งนี้ต่อมาได้จาริกกลับวัดต้นสังกัด  โดยมี  พระกรุง  ถาวโร  มารับเป็นเจ้าสำนักต่อ  พระกรุง  ถาวโร  ได้เป็นผู้นำชาวบ้านพัฒนาวัดมาได้ประมาณ  ๕ – ๖  ปีจึงขอลาสิกขาไปเมื่อต้นปี ๒๕๕๔  จนในปัจจุบันได้ยกขึ้นเป็นวัดเมื่อ วันที่  ๒๔  ธันวาคม  ๒๕๕๕  มี  พระปลัดเสงี่ยม  ญาณสีโล  น.ธ.ชั้นเอก จากวัดบ่อน้ำจืด  พรรษา   ๑๘       มาดำรงค์ตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสโดยได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ   วันที่  ๑๔   กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖  จนมาถึงปัจจุบันนี้
 
                                                  จัดทำเมื่อ  อาทิตย์  ที่  ๖  ตุลาคม    ๒๕๕๖
เริ่มสร้างศาลาการเปรียญ หลังใหม่  พศ.๒๕๕๘  เสร็จ   ๒๕๖๑ สิ้นงบประมาณไป  ประมาณ 8ล้านบาท
๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑   เริ่มลงมือก่อสร้างอุโบสถประวัติวัดดอนมะกอก
 

รายการพระ

พระปลัดเสงี่ยม ญาณสีโล

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-12-2564

พระธีรพงษ์ ชยานนฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระจอม จารุธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระธนพร ธมฺมสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 20-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด