เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดนิยมธรรมวราราม

รหัสวัด
02730207001

ชื่อวัด
วัดนิยมธรรมวราราม

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 10 เดือน สิงหาคม ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 24 เดือน มิถุนายน ปี 500

ที่อยู่
วัดนิยมธรรมวราราม

เลขที่
1

หมู่ที่
2

ซอย
-

ถนน
จันทรุเบกษา

แขวง / ตำบล
ทุ่งบัว

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73140

เนื้อที่
41 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0654812584

อีเมล์
watniyomtham@hotmail.com

จำนวนเข้าดู : 998

ปรับปรุงล่าสุด : 30 มกราคม พ.ศ. 2565 10:43:52

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 11:29:02

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดนิยมธรรมวราราม
วัดนิยมธรรมวราราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งบัว อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม
พื้นที่ตั้งวัด
มีเนื้อที่ ๔๑ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จรด กับที่ดินเอกชน
ทิศใต้ จรด ถนนจันทรุเบกษา
ทิศตะวันออก จรดเ ขตสระน้ำของเอกชน
ทิศตะวันตก จรด ทางรถไฟสายชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี
ความเป็นมาแต่เดิม
วัดนิยมธรรมวราราม ตั้งอยู่ ณ บ้านทุ่งควายหาย ตำบลทุ่งบัว อำเภอกำเเพงแสน จังหวัดนครปฐม สร้างขึ้นเมื่อปี
พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีนายพิน กันตะเพ็ง ศึกษาธิการอำเภอกำแพงแสน ในสมัยนั้นได้เป็นผู้ซื้อที่ดินจำนวน ๖๐ ไร่เศษ ถวายพระครูสุกิจ
ธรรมสรณ์ ( หลวงพ่อหว่าง ) เจ้าอาวาสวัดกำแพงแสน
ต่อมาภายหลังหลวงพ่อได้มอบที่ดินเพื่อสร้างโรงเรียนวัดนิยมธรรมวราราม จำนวน ๒๐ ไร่ และถูกทางรถไฟ สายชุมทาง
หนองปลาดุก - สุพรรณบุรี ตัดผ่านอีกจำนวนหนึ่ง ทำให้มีที่ดินของทางวัด คงเหลือจำนวน ๔๐ ไร่ ๑ งาน ๑๐ ตารางวา
วัดนิยมธรรมวราราม ได้ประกาศตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
ต่อมาพระครูสุกิจธรรมสรณ์ จึงได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อสกล ปริสุทฺโธ มาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งขณะสร้างวัดใหม่ๆ ยังไม่มีชื่อวัด
เพียงแต่อยู่ในเขตบ้านทุ่งควายหาย จึงตั้งชื่อ “วัดนิยมธรรมวราราม” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงพ่อสกล
ลาออกจากเจ้าอาวาส
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ พระสมาน สิริปญฺโญ จึงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดสืบมา จนได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็น
พระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสิริปัญญารักษ์ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงได้ไปนิมนต์พระสุริยา
ปภากโร วัดทะเลบก ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มาเป็นเจ้าอาวาส ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ พระอธิการสุริยา
ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส
กำนันบุญชู และ ไวยาวัจกร ชาวบ้านจึงไปขอพระภิกษุจากพระครูสุธรรมนาถ วัดปลักไม้ลาย พระครูสุธรรมนาถ จึงส่ง
พระอธิการเอกกุญชร อุชุจาโร มาในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในวันที่ ๑ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๕๔๗ สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรก
ในสมัยที่หลวงพ่อสมาน สิริปุญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส ได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังแรกของวัดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖
มีขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๔ เมตร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ และได้รับพระราชทานวิสุงคาม เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยใช้ทำสังฆกรรมตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบัน
การพัฒนาวัดที่มีสืบกันมาโดยลำดับ
ในสมัยที่หลวงพ่อสกล ปริสุทฺโธ เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ท่านได้ดำเนินการก่อสร้างดังนี้ พ.ศ. ๒๕๐๑ สร้างศาลา
เสาไม้ มุงสังกะสี พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
พ.ศ. ๒๕๐๑ สร้างกุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๖ พระอธิการสมาน สิริปญฺโญ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และดำเนินการสร้างเมรุในปีเดียวกัน ขนาดกว้าง ๘
เมตร ยาว ๑๐ เมตร
พ.ศ. ๒๕๑๖ สร้างกุฏิสงฆ์ จำนวน ๗ หลัง จำนวน ๑๘ ห้อง
พ.ศ. ๒๕๑๖ ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๔ เมตร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๑
พ.ศ. ๒๕๑๗ สร้างหอสวดมนต์ กว้าง ๗.๕ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างหอระฆัง กว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร ๒ ชั้น
พ.ศ. ๒๕๓๘ พระอธิการสุริยา ปภากโร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และดำเนินการสร้างศาลาธรรมสังเวช ๑ หลัง
กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๕ เมตร แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๒
พ.ศ. ๒๕๔๓ สร้างกุฏิกรรมฐานทรงไทย จำนวน ๔ หลัง กว้าง ๑.๘ เมตร ยาว ๒.๕ เมตร
พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างโรงครัว ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร
การพัฒนาวัดในยุคปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ พระอธิการสุริยา ปภากโร ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส กำนันบุญชู ไวยาวัจกร และชาวบ้านจึงไปขอ
พระภิกษุจากพระครูสุธรรมนาถ วัดปลักไม้ลาย พระครูสุธรรมนาถจึงส่งพระอธิการเอกกุญชร อุชุจาโร มาในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.
๒๕๔๖ และ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ แล้ว พระอธิการเอกกุญชร อุชุจาโร ได้ดำเนินการ
ก่อสร้างและปฏิสังขรณ์วัดนิยมธรรมวราราม มาโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๔๖ ดำเนินการสร้างกุฏิห้องกระจก ๑ หลัง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๐ เมตร
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างห้องน้ำห้องสุขา จำนวน ๑ หลัง รวม ๗ ห้อง
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อสร้างพระสีวลี ขนาดใหญ่ ๑ องค์ กว้าง ๑.๑๙ เมตร สูง ๕ เมตร ฐานพระสูง ๑.๕ เมตร ฐานพระปูด้วยหิน
เเกรนิต ( ดำทอง ) ส่วนรอบฐานพระ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร ปูด้วยหินอ่อน
พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างกำแพงวัด ยาว ๒๐ วา พร้อมจัดทำป้ายชื่อวัดแกะสลักด้วยหินแกรนิต
พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างกุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง จำนวน ๙ ห้อง สร้างกุฏิแม่ชี ๑ หลัง จำนวน ๒ ห้อง กว้าง ๖ เมตร
ยาว ๒๒ เมตร
พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างห้องน้ำห้องสุขา จำนวน ๒ หลัง รวม ๗ ห้อง
พ.ศ. ๒๕๕๑ สร้างห้องน้ำห้องสุขา จำนวน ๑ หลัง รวม ๓ ห้อง
พ.ศ. ๒๕๕๑ กำลังดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ แทนศาลาหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ
๑. พระประธาน ในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะทองเหลือง ขนาดสูง ๒.๑ เมตร หน้าตัก
กว้าง ๑.๓๙ เมตร
๒. พระร่วงโรจนฤทธิ์ ขนาดกว้าง ๐.๕๕ เมตร สูง ๒.๐๙ เมตร
๓. พระเจ้าทันใจ ๓ องค์ ประกอบด้วย
๓.๑ หล่อด้วยโลหะทองเหลืองสัมฤทธิ์ ๑ องค์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๐.๗๕ เมตร สูง ๑.๐๙ เมตร
๓.๒ หล่อด้วยทองเหลือง ๒ องค์ ปางมารวิชัย ๑ องค์ ปางสมาธิ ๑ องค์ หน้าตักกว้าง ๐.๗๐ เมตร สูง ๑.๐๙
ทั้งสององค์
๔. หลวงปู่ทวด ๑ องค์ หน้าตักกว้าง ๐.๗๕ เมตร สูง ๐.๙๐ เมตร
๕. สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หน้าตักกว้าง ๐.๗๒ เมตร สูง ๐.๙๗ เมตร
๖. รูปหล่อหลวงพ่อสกล ปริสุทฺโธ หน้าตักกว้าง ๐.๖๙ เมตร สูง ๐.๙๙ เมตร
๗. พระสีวลี ๑ องค์ กว้าง ๑.๑๙ เมตร สูง ๕ เมตร
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
อุโบสถ หลังแรก สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๑
ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑
กุฏิสงฆ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ , พ.ศ. ๒๕๑๖ , พ.ศ. ๒๕๔๒ , พ.ศ. ๒๕๔๘
ฌาปนสถาน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘
โรงครัว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔
ห้องน้ำ - ห้องสุขา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ , พ.ศ. ๒๕๔๘ , พ.ศ. ๒๕๕๑
กำแพงหน้าวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘
ป้ายชื่อวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒
ผูกพัทธสีมา
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๓
ลำดับรายนามเจ้าอาวาส
๑. หลวงพ่อสกล ปริสุทฺโธ ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึง ปี พ.ศ. ๒๕๑๕
๒. พระครูสิริปัญญารักษ์ ( สมาน สิริปญฺโญ ) ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ถึง ปี พ.ศ. ๒๕๓๘
๓. พระอธิการสุริยา ปภากโร ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๕
๔. พระอธิการเอกกุญชร อุชุจาโร ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึง พ.ศ.๒๕๖๐
๕. พระอธิการวีรวัฒน์ อาภากโร ดำรงตำแหน่ง พ.ศ.๒๕๖๔ ถึงปัจจุบัน
ไวยาวัจกร ( ปัจจุบัน )
กำนันศิลป์ชัย พุกยม

รายการพระ

พระจรัณธรรม์ ชินวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระอธิการวีรวัฒน์ อาภากโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 07-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-12-2564

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด