เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดหนองศาลา

รหัสวัด
02730203007

ชื่อวัด
วัดหนองศาลา

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500

ที่อยู่
วัดหนองศาลา

เลขที่
22

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ทุ่งลูกนก

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73140

เนื้อที่
27 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 657

ปรับปรุงล่าสุด : 29 มกราคม พ.ศ. 2565 10:10:38

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 11:13:22

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดหนองศาลา
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
วัดหนองศาลา เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
พื้นที่ที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๒ งาน ๙๖ ตารางวา ตามหนังสือ โฉนดเลขที่ ๒๑๐๙๓ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จรด ถนนสาธารณะ
ทิศใต้ จรด ถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออก จรด ถนนส่วนจังหวัด
ทิศตะวันตก จรด ถนนสาธารณะ
ความเป็นมาแต่เดิม
วัดหนองศาลา เดิมคำว่า “หนองศาลา” อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ซึ่งแต่ก่อนมาวัดก็ตั้งอยู่ในเขตนี้ มีศาลาอยู่กลางทุ่งลูกนก
(มีนกอาศัยทำรังอยู่ ชาวบ้านก็เอาไข่ เอาลูกนกมาประกอบอาหาร) เป็นที่พักของคนสมัยก่อน ที่จะไปนมัสการพระพุทธบาทพระแท่น
ดงรัง ต้องผ่านเส้นทางนี้ ถ้าเดินทางถึงในเขตบริเวณนี้ตอน ๓ โมงเย็นแล้ว ห้ามเดินทางต่อเพราะเส้นทางนี้มีเสือโคร่งมาก จะไม่
ปลอดภัย จึงต้องอาศัยศาลานี้ พักอยู่รอเวลาจนถึงเช้า จึงจะเดินทางต่อได้ (ศาลานี้ ใครสร้างไม่ปรากฏ) แต่เดี๋ยวนี้ ศาลาได้ผุพังไปตาม
ธรรมชาติหมดแล้ว
กาลต่อมา มีผู้จัดสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ในบริเวณหนองช้างหล้า ซึ่งเป็นเส้นทางไปตำบลโกสินาราย (อยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่ง)
กับเมืองอู่ทองช้างดินทางมาถึงจุดนี้ ก็อ่อนแรงไปไม่ไหวแล้วล้มตาย ส่วนเจ้าของช้าง ขณะพักอยู่ก็เอาทรัพย์สมบัติฝังไว้ที่บริเวณ
ขอบหนอง แล้วปลูกต้นมะขามเป็นที่สังเกตต่อต้นมะขาม เขาเรียกต้นมะขามเท้า กิ่งเท้าคล้ายแขนคน ภายหลังมีคนขุดเอา
ทรัพย์สมบัติไปหมด คำว่า “หนองช้างหล้า” ต่อ ๆ มา ก็เรียกเพี้ยนเป็น “หนองศาลา” ตามที่เคยชินกับศาลากลางทุ่ง
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป
เป็นที่ดอน สมัยก่อนเป็นที่อาศัยของผู้คนที่อพยพมาจากที่อื่น ที่ถูกน้ำท่วมทุกปีในฤดูน้ำหลาก โรงเรียนประถม
และมัธยมขยายโอกาส ก็อาศัยตั้งอยู่ในเขตวัดนี้ เรียกว่า “โรงเรียนวัดหนองศาลาประชานุกูล” แนวเขตทั้งสี่ด้าน มีกำแพงล้อมรอบ
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา
ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๔ ชาวบ้าน โดยการนำของ นางกิ่ม บุญวงษ์ ได้จัดสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นโดยมีหลวงตาหวัด เป็นผู้นำ
ฝ่ายสงฆ์ ต่อมาในสมัยอาจารย์บุญรอด อุตฺตโร ได้ขอตั้งเป็นวัดขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗
พ.ศ. ๒๕๑๖ พระอธิการสี สุชีโว จากวัดทัพยายท้าว มาเป็นเจ้าอาวาสและจัดสร้างโบสถ์ แล้วผูกพันธสีมา ฝังลูกนิมิต
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ และได้สร้างต่อเติมศาลาการเปรียญ ที่หลวงพ่อเติม วัดไร่ขิง มาสร้างค้างไว้ แล้วเสร็จในปีพ.ศ. ๒๕๒๖
และสร้างอาคารเมรุต่อจนเสร็จในปีเดียวกันนั้น สร้างวิหารต่อเติมจากที่ หลวงพ่อโพธิ์สร้างค้างไว้ สร้างพระพุทธรูป ๑ องค์ ขนาด
หน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ถวายพระนามว่า “หลวงพ่อจักรีเพชร” ต่อมา พระอธิการสี สุชีโว สุขภาพไม่ดี เนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ
เบียดเบียน จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลำดับ
พ.ศ.๒๕๒๙ ทางคณะกรรมการวัด ได้ไปนิมนต์ พระ ม.ร.ว.แสงนิล เกษมสันต์ มาเป็น เจ้าอาวาส ท่านได้สร้างกุฏิเป็น
อาคารคอนกรีต ๒ ชั้น เป็นกุฏิที่อยู่ของเจ้าอาวาส และสร้างแท็งก์น้ำประปา สำหรับใช้ในบริเวณวัด สร้างห้องสุขา สร้างกุฏิเป็นอาคาร
คอนกรีต ๒ ชั้น ขนาด ๖ ห้อง จำนวน ๒ หลัง สร้างศาลาอเนกประสงค์ ขนาดยาว ๗ ห้อง ต่อมา พระ ม.ร.ว.แสงนิล เกษมสันต์
ก็ได้ลาสิกขาไป ในปี พ.ศ.๒๕๓๗
การพัฒนาวัดในยุคปัจจุบัน
ปัจจุบัน ทางคณะกรรมวัดได้ไปนิมนต์ พระเชื้อ อธิปญฺโญ ที่เป็นพระในท้องถิ่นให้มาเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่
ท่านได้จัดสร้างกำแพงล้อมวัดเป็นขอบเขตทั้งสี่ด้าน สร้างกำแพงโบสถ์ โดยนายมีชัย ก้อนทอง เป็นผู้บริจาคทรัพย์ถวาย
สร้างห้องสุขาเพิ่มเติมอีก และสร้างหอกระจายข่าวประจำวัด
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
. อุโบสถ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงไทยโดยทั่ว ๆ ไป โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ฝาผนังก่ออิฐฉาบปูน ก่อสร้าง
แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ได้รับพระราชทานวิสุคามสีมาครั้งหลังสุด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ อุโบสถหลังนี้
มีขนาดกว้าง ๘.๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
. ศาลาการเปรียญ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงไทยชั้นเดียว เทพื้นคอนกรีต โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาเป็น
โครงเหล็ก มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ศาลาการเปรียญหลังนี้ มีขนาดกว้าง
๙.๕ เมตร ยาว ๒๘.๕ เมตร
. ฌาปนสถาน
เหตุที่จัดสร้างขึ้น ก็เพราะครั้งหนึ่ง ได้มีการฌาปนกิจศพพระด้วยฟืน ในบริเวณกลางแจ้งแบบโบราณ ปรากฏเป็นที่น่าสังเวช
จึงได้จัดสร้างขึ้นตามสมัยนิยม มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบแท่นซุกชีสี่เหลี่ยม ไม่มีหลังคา โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ไม่มีลวดลายประกอบ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท มีขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร
ประวัติปูชนียวัตถุของวัด
. พระประธานประจำอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ สร้างด้วยโลหะหล่อ มีขนาดสูง ๒ เมตรเศษ หน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร ผู้สร้างถวายคือ
นายประเสริฐ บ้านอยู่กรุงเทพ ฯ สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑
. พระพุทธรูปปางสมาธิ
ขนาดสูง ๓ เมตร หน้าตักกว้าง ๒.๕ เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ถวายพระนามว่า “หลวงพ่อจักรีเพชร” โดยหลวง
สำนักวัดอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นผู้ตั้งชื่อถวาย สร้างขึ้นในสมัยที่หลวงพ่อโพธิ์เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ ผู้ที่สร้างถวายคือ
พุทธศาสนิกชนโดยการนำของหลวงพ่อโพธิ์
ลำดับรายนามเจ้าอาวาสวัดหนองศาลา
ความเป็นมาที่เริ่มมีเจ้าอาวาสปกครองวัดหนองศาลานั้น เริ่มแรกเป็นสำนักสงฆ์ ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของหลวงตาหวัด
และนางกิ่ม บุญวงษ์ ปัจจุบันได้มีพระภิกษุที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแล้ว ซึ่งจะพอสืบค้นหาและลำดับได้ดังนี้ คือ
๑. หลวงตาหวัด เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จนถึงปี พ.ศ. ไม่ระบุ
๒. พระอธิการบุญรอด อุตฺตโร นามสกุล เจเถี่ยน น.ธ.ตรี เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ วันที่ ๕ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๐
๓. หลวงพ่อโพธิ์ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๔
๔. พระอธิการสี สุวีโร เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๘
๕. พระอธิการ ม.ร.ว.แสงนิล เขมสนฺโต นามสกุล เกษมสันต์ น.ธ.เอก เป็นเจ้าอาวาส ตั้แต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึง
ปี พ.ศ. ๒๕๓๗
๖. พระอธิการเชื้อ อธิปญฺโญ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (13.8 kb)

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระอธิการเชื้อ อธิปญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-12-2564

พระประยงค์ สญฺญโต

ข้อมูลเมื่อ : 05-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระกมล กมโล

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมิน ธมฺมโชโต

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระปัญญา มหายโส

ข้อมูลเมื่อ : 05-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสงัด ปภาธโร

ข้อมูลเมื่อ : 05-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระประทีป จนฺทสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 05-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด