เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดไผ่รื่นรมย์

รหัสวัด
02730202004

ชื่อวัด
วัดไผ่รื่นรมย์

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 01 เดือน มีนาคม ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 05 เดือน พฤศจิกายน ปี 500

ที่อยู่
วัดไผ่รื่นรมย์

เลขที่
71

หมู่ที่
4

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ทุ่งลูกนก

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73140

เนื้อที่
47 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 518

ปรับปรุงล่าสุด : 27 มกราคม พ.ศ. 2565 13:30:14

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 10:06:18

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดไผ่รื่นรมย์
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
วัดไผ่รื่นรมย์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๗๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม พื้นที่ที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๔๗ ไร่ ๑ งาน ๘๐ ตารางวา ตามหนังสือ น.ส.๓ เลขที่ ๑๔๕ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ จรด ที่โรงเรียนการบินทหารอากาศกำแพงแสน
ทิศใต้ จรด ทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก จรด ทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก จรด ทางสาธารณประโยชน์
ความเป็นมาแต่เดิม
วัดไผ่รื่นรมย์ เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อบ้านรางลึก อยู่ห่างไกลทางคมนาคมพอสมควรทางสัญจรไปมาเป็นทางเกวียนไม่
สะดวกในการเดินทางนักทุรกันดาร ชื่อบ้านรางลึก เพราะมีลำรางโบราณตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน เดิมว่าใช้ในการสัญจรคดเคี้ยวไปสู่
พระแท่นดงรัง กาญจนบุรีได้ เป็นลำรางใหญ่น้ำลึก ต่อมามีผู้อยู่อาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่พอสมควรจึงเรียกขานที่นี่ว่าบ้านรางลึก
กาลต่อมา ลำรางเริ่มตื้นเขินขึ้น แต่ยังมีร่องรอยให้ได้เห็นอยู่บ้างและพื้นที่อันเป็นที่ตั้งวัดปัจจุบันเป็นป่าไผ่บริเวณกว้างอยู่
ใกล้ลำรางเก่านั้น พลอากาศตรี เรือง วิศวกรรม ซึ่งซื้อที่มาจากนายเทียม จันทร์ทองม่วง ในปี ๒๕๐๖ จึงดำริถวายที่ดินสร้างวัดร่วม
พลอากาศตรี พิพัธน์ พรรณรุกข์ ปลูกสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น และได้อาราธนาพระภิกษุ ๗ รูป สามเณร ๒ รูป มาอยู่พรรษาในปี
ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ จึงได้กำเนิดวัดไผ่รื่นรมย์ (รางลึก) ขึ้นจวบจนทุกวันนี้
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป
มีลักษณะเป็นเนินราบ เดิมมีป่าไผ่และไม้เบญจพรรณ ปัจจุบันชาวบ้านทำไร่อ้อย และพืชล้มลุก หมุนเวียน สภาพและ
สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปล้อมรอบไปด้วยไร่อ้อย มีบ้านเรือนอยู่พอประมาณโดยเฉพาะ ด้านทิศเหนือติดกับที่ตั้งโรงเรียนการบินทหารอากาศ
กำแพงแสนอันเป็นสถานที่ของทางราชการ
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา
ครั้นได้ช่วยกันหักล้างถางป่ารกต่าง ๆ ประกอบด้วยพระภิกษุสามเณรและประชาชนพอสมควรในการก่อสร้างวัดแล้วซึ่งมี
ที่ประกอบศาสนกิจพร้อมที่อยู่อาศัยชั่วคราว หลังจากได้รับหนังสืออนุญาตให้สร้างวัด ปี ๒๕๑๘ พระล้อมชัย ชยธมฺโม หัวหน้าสงฆ์
ในขณะนั้น จึงปรึกษาหารือกับสงฆ์ และพลอากาศตรี พิพัธน์ พรรณรุกข์ ผู้อุปถัมภ์ ดำริในการก่อสร้างอุโบสถ ซึ่งได้รับการเห็นชอบ
และสนับสนุนจากหลาย ๆ ฝ่าย จึงได้วางศิลาฤกษ์และเทรากฐาน อุโบสถตามแบบแปลนของกรมศิลปากร กว้าง ๑๕.๐๐ เมตร
ยาว ๓๓.๐๐ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีเสาหารรายรอบบานประตู หน้าต่างไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสุโขทัย
ลวดลายลงสีทองคำ และสีต่าง ๆ ทั้งหน้าบัน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ ซุ้มประตู หน้าต่าง ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานพอสมควรจึง
แล้วเสร็จ ๑๕ ปี และ ได้จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตในปี ๒๕๓๙
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลำดับ
ด้วยเป็นวัดสร้างใหม่ห่างความเจริญชุมชนน้อย ทางคมนาคมไม่สะดวก การพัฒนาจึงค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับ ในปี
๒๕๑๔ - ๒๕๑๖ พระอาจารย์ล้อมชัย ชยธมฺโม หัวหน้าสงฆ์ จึงดำเนินการก่อสร้างกุฏิ ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาการเปรียญ หลังจาก
ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดในปี ๒๕๑๘ ได้ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นอีก และหอถังน้ำบาดาล เพื่อใช้ในวัดพร้อมทั้งสงเคราะห์ประชาชนโดยรอบ
ด้วยขาดแคลนน้ำ
การพัฒนาวัดในยุคปัจจุบัน
เมื่อได้รับอนุญาตตั้งวัดในปี ๒๕๒๐ และพระปลัดล้อมชัย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็ได้ปรับปรุงก่อสร้าง ซ่อมแซม
เสนาสนะใหม่ เช่นกุฏิสงฆ์ มณฑป ประดิษฐานพระพุทธรูป คู่วัด ศาลาและห้องอบสมุนไพร ศาลาการเปรียญหลังใหม่
ถังน้ำบาดาลคอนกรีตเสริมเหล็ก เดินไฟฟ้าเข้าวัดพร้อมหม้อแปลงไฟฟ้าจากไฟฟ้าภูมิภาค ๕๐๐,๐๐๐ บาทเศษ เดิมขอใช้จาก
โรงเรียนการบินกองทัพอากาศ
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
. อุโบสถ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ก่ออิฐถือปูน เครื่องบนหลังคาเป็นไม้เนื้อแข็ง ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ได้รับ
พระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังสุด เมื่อวันที่ ๕ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ อุโบสถ หลังนี้ กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๓ เมตร
. ศาลาการเปรียญ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ทรงไทย ๓ มุข โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
ก่ออิฐถือปูน หลังคากระเบื้องซีแพค ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นเงิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท ศาลาการเปรียญหลังนี้ มีขนาด
๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร
ประวัติปูชนียวัตถุของวัด
. พระประธานประจำอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพระพุทธลักษณะที่สำคัญคือ เป็นลักษณะของปางประธานพุทธ
แบบนั่งของกรมศิลปากร จำลองแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี สร้างด้วยวัสดุลงรักปิดทอง มีขนาดสูง ๓.๓๒ เมตร หน้าตักกว้าง
.๐๐ เมตร ผู้สร้างถวายคือ นายฤทธิไกร จิตติวรรณ และครอบครัว กรุงเทพฯ สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐
. พระพุทธรูปปางมารวิชัย สุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ที่ประชาชนทั่วไปกราบไหว้เคารพ ปิดทอง ถวายมาลัย
เป็นประจำ ประดิษฐานที่วิหารมณฑป (เป็นพระพุทธรูปเก่านำมาถวาย) สร้างด้วย โลหะทองเหลืองปิดทอง มีขนาดสูง ๐.๙๙ เมตร
หน้าตักกว้าง ๐.๕๙ เมตร ผู้สร้างถวายคือ นางสิน สวนพลู และบุตรธิดา กรุงเทพฯ สร้างไว้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
ลำดับรายนามเจ้าอาวาสวัดไผ่รื่นรมย์
ความเป็นมาที่เริ่มมีเจ้าอาวาสปกครองวัด หลังจากที่รับถวายที่ป่าไผ่ให้สร้างวัด พระที่ได้รับอาราธนามาก็ร่วมด้วยช่วยกัน
ถากถางพัฒนาพื้นที่จนร่มรื่นเหมาะสมจนได้รับอนุญาตสร้างวัด เมื่อตั้งวัด พระครูวิมลชัยสิทธิ ฉายา ชยธมฺโม นามสกุล
ปั้นประสม น.ธ.เอก ก็เริ่มต้นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ปกครองวัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ จนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส
ตามหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาส ที่ ๓/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์เป็นที่ปรึกษา
เจ้าคณะตำบลกระตีบ และมีสมณศักดิ์ครั้งหลังสุดเป็น พระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท
ปูชนียวัตถุของวัดคือ
. พระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ (พระพุทธรัตนปราการ)
. พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่พระวิหารมณฑป (พระพิรุณมงคล)
ไวยาวัจกร
นายนิพนธ์ เทพมาลาพันธ์ศิริ

รายการพระ

พระใบฎีกาอุดมศักดิ์ ทีปธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 17-08-2566

พระสมศักดิ์ ปภากโร

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 20-01-2565

พระไพโรจน์ โชติปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 20-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด