เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดลาดหญ้าไทร

รหัสวัด
02730204002

ชื่อวัด
วัดลาดหญ้าไทร

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
-

วันรับวิสุงคามสีมา
-

ที่อยู่
วัดลาดหญ้าไทร

เลขที่
88

หมู่ที่
10

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ห้วยขวาง

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73140

เนื้อที่
25 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 749

ปรับปรุงล่าสุด : 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564 18:15:15

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 09:54:53

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดลาดหญ้าไทร
วัดลาดหญ้าไทร เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๘๘ หมู่ที่ ๑0 ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม
พื้นที่ตั้งวัด ๒๕ ไร่ ๓ งาน ๗๕ ตารางวา ต่อมาภายหลังถูกตัดถนผ่านที่จึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ แปลง แปลงที่ตั้งวัดอยู่ปัจจุบันนี้มีเนื้อที่ปรากฏอยู่ตามโฉนดเลขที่ ๓๘๔๔๗ เลขที่ดิน ๑๕๓ หน้าสำรวจ ๒๕๒๓ จำนวน ๒๑ ไร่ ๒ งาน ๒0 ตารางวา
มีอาณาเขตดังนี้ คือ
ทิศเหนือ จรด ทางสาธารณประโยชน์
ทิศใต้ จรด ที่ดินโฉนด เลขที่ ๖๔๐๕ เลขที่ดิน ๑๖๘ หน้าสำรวจ ๕๘๖
ทิศตะวันออก จรด ดูคลองน้ำ (โรงเรียนวัดลาดหญ้าไทร)
ทิศตะวันตก จรด ทางสาธารณประโยชน์
ที่ธรณีสงฆ์ มี ๙ แปลง คือ

  • แปลงที่ ๑ มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๖๔๐๕ เลขที่ดิน ๑๖๘ หน้าสำรวจ ๕ส๖ อยู่หมู่ที่ ๑๐  บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยซื้อจาก นายพิชัย ชัยมงคลตระกูล เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคมพ.ศ. ๒๕๓๒
  • แปลงที่ ๒ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๘. ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๗๕ เลขที่ดิน ๑๒ หน้าสำรวจ ๑๙๕ อยู่หมู่ที่ ๑๐บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยนายซาญ เชื้อไทย เป็นผู้ถวาย เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคมพ.ศ. ๒๕๓๑
  • แปลงที่ ๓ มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๒0 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๔๐ เลขที่ดิน ๓๐ หน้าสำรวจ ๑๘๐ อยู่หมู่ที่ ๑๐ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดย นางทองสุข ศิริพันธ์ เป็นผู้ถวาย เมื่อวันที่ ๓0 เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๐
  • แปลงที่ ๔ มีเนื้อที่ ๑๔ ไร่ ๑ งาน ๓๐ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๕๙๕๒๓ เลขที่ดิน ๕๙ หน้าสำรวจ ๔๙๓๕ อยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • แปลงที่ ๕ มีเนื้อที่ ๗ ไร่ - งาน ๑๔ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๕๔๑๑๑ เลขที่ดิน ๓๓๑ หน้าสำรวจ ๔๙๔๖ อยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • แปลงที่ ๖ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ - งาน ๗๑ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๕๘๙๑๑ เลขที่ดิน ๓๓๑ หน้าสำรวจ ๔๙๔๗ อยู่หมู่ที่ ๑๐บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • แปลงที่ ๗ มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๗๘ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๖๘๓๙๗ เลขที่ดิน ๓๙๔ หน้าสำรวจ ๖๘๙๑ อยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • แปลงที่ ๘ มีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๑ งาน ๔ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๗๘ เลขที่ดิน ๑0 หน้าสำรวจ ๗๘ อยู่หมู่ที่ ๑๐ บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำกอกำแพงแสน จังหวัดนดรปฐม โดย รท.โซติ ศิริพันธ์ เป็นผู้ถวาย เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
  • แปลงที่ ๔ มีเนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๒ งาน ๓๓ ตารางวา ตาม นส. ๓ ก. เลขที่ ๓๔๒ เล่ม ๔ ก. หน้า ๔๒ เลขที่ดิน ๕๐ อยู่หมู่ที่ ๑0 บ้านลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยนางสมร  รีพิพัฒน์ เป็นผู้ถวาย เมื่อพ.ศ. ๒๔๙๕ (ที่ตั้งโรงเรียนทางวัดกำลังดำเนินการออกโฉนดอยู่)
ความเป็นมาแต่เดิม
วัดลาดหญ้าไทร ตำบลห้วยขวาง อำภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เริ่มสร้างมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๒ มีพระอาจารย์แฉ่ง พร้อมด้วยนายยิ้ม (ไม่ทราบนามสกุล) พร้อมด้วยประชาชน ซึ่งตั้งภูมิสำเนาอยู่ในท้องถิ่นนั้น ร่วมกันสร้างขึ้นในพื้นที่ว่างเปล่า คือยังไม่มีใครจับจองเป็นเจ้าของสถานที่ตั้งวัดครั้งแรกนั้นอยู่ทางทิตใต้ของวัดที่ตั้งอยู่ปัจจุบันนี้ ในระยะแรก ๆ คงยังไม่เป็นวัดโดยสมบูรณ์เป็นเพียงที่พักสงฆ์ และในระยะต่อมาก็เป็นสำนักสงฆ์อยู่ได้ประมาณ ๑๕ ปีต่อมาพระอาจารย์แวว พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดพิจารณาเห็นว่า ได้เป็นสำนักสงฆ์มานานแล้ว จึงได้ขอตั้งเป็นวัดเรื่อยมาได้ประมาณ ๕ ปี  ต่อมาพระอาจารย์แคล้ว พร้อมด้วยคณะกรรมการวัดพิจารณาเห็นว่า สถานที่ตั้งวัดครั้งแรกนั้นไม่เหมาะสม เพราะเป็น
สถานที่ต่ำมาก เมื่อถึงฤดูฝนน้ำมักท่วมเป็นประจำ อีกทั้งทางเข้าออกไม่สะดวก ยากต่อการขยายเขตวัดในกาลต่อไป จึงได้ย้ายวัดไปตั้งในที่แห่งใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากที่เดิมประมาณ ๗  เมตร เพราะสถานที่แห่งนี้ มีบริเวณกว้างและเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม สถานที่แห่งนี้เดิมทีมีเนื้อที่ จำนวน ๒๕ ไร่ ๓ งาน ๗๕ ตารางวา เป็นที่ดอนสูงกว่า สถานที่อื่นๆ โดยรอบคาดว่าน้ำคงจะไม่ท่วมในปีต่อไป และมีทางคมนาคมสะดวกสบาย ได้ประกาศตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๒ โดยตั้งชื่อว่า "วัดลาดหญ้าไทร" คือตั้งชื่อตาม หมู่บ้านที่วัดตั้งอยู่ ดังมีประวัติย่อ ๆ ดังต่อไปนี้
 
 
ประวัติของวัดโดยสังเขป
สถานที่ตั้งวัดอยู่ในปัจจุบันนี้ บริเวณรอบๆ วัดจะเป็นทุ่งนา และมีลำรางลาดลึกกว่าท้องทุ่งนา ยาวประมาณ *00 เมตรเศษ  อยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ในลำรางนี้เป็นที่ลาดลงไปตามลำดับมีหญ้าชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมาก หญ้าชนิดนี้ตามลำต้น และใบมีขนแข็งและคมมากถ้าคนเดินผ่านเข้าไปในดงหญ้าชนิดนี้จะถูกใบหญ้าชนิดนี้บาดถึงกับเลือดออก ก็มีชาวบ้านเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า "หญ้าไทร" มีมูลเหตุดังกล่าวมานี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อลำรางซึ่งเป็นที่ลาด และมีหญ้าไทรหนาแน่นมากแห่งนี้ ว่า "ลาดหญ้าไทร" ต่อมาชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณนี้ก็พลอยเรียกหมู่บ้านที่ตนอาศัยอยู่ว่า บ้านลาดหญ้าไทร ตามไปด้วย  สมัยก่อนการตั้งชื่อหมู่บ้าน หรือตำบลก็ตาม มักอาศัยธรรมชาติในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นมูลเหตุ ต่อมาภายหลังได้สร้างวัดขึ้นใน
หมู่บ้านแห่งนี้ ก็เลยตั้งชื่อว่า "วัดลาดหญ้าไทร" เพื่อให้สอดคล้อง ต้องกันกับชื่อของหมู่บ้านที่วัดตั้งอยู่
รายนามเจ้าอาวาส
นับตั้งแต่สร้างวัดมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยที่ได้รับการแต่งตั้งบ้าง และมิได้รับการแต่งตั้งบ้าง ดังมีรายนามต่อไปนี้
๑.พระอาจารย์แฉ่ง ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้  ๑๕ ปี
๒.พระอาจารย์แวว ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ๕ ปี
๓.พระอาจารย์แคล้ว ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ๔ ปี
๔ .พระอาจารย์สวน ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้  ๒ ปี
๕ พระอาจารย์โก้ง ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้  ๒ ปี
๖.พระอาจารย์ยวง ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้  ๔ ปี
๗.พระอาจารย์บุญเชิด ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ๑๓ ปี
๘.พระอาจารย์เปลี่ยน  ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้  ๒ ปี
๙.พระครูสิงห์โต  อภงฺกโร ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ๓๑  ปี
๑๐.พระอาจารย์สาย เตชวโร ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ๒  ปี
๑๑.พระอธิการจรัส ญาณวุทฺโฆ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้  ๗ ปี
๑๒.พระครูอาชววิมล ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้ ๒๓ ปี
๑๓.พระครูพินิตสุตาคม ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน
 
วัดลาดหญ้าไทรนี้ นับตั้งแต่เริ่มสร้างมีสภาพล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอด เพิ่งจะมาเจริญขึ้นในสมัยที่ พระครูสิงห์โตอภงุกโร มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จัดว่าท่านเป็นพระนักพัฒนาดีเด่นนับตั้งแต่คณะกรรมการวัดได้ไปอาราธนาท่านมาจากวัดห้วยจระเข้ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดหญ้าไทร เมื่อพ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านก็เริ่มพัฒนาวัดมาโดยลำดับ คือ สร้างกูฏิ ๗ หลัง สร้างหอระฆัง ๑ หลัง สร้างเมรุ ๑ หลัง สร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างหอสวดมนต์ ๑ หลัง สร้างด้วยไม้ ลักษณะ ๒ชั้น ชั้นล่างใช้เป็นหอฉัน ชั้นบนใช้เป็น หอสวดมนต์ สร้างอุโบสถ  หลัง จะสร้างอะไรก่อน ไม่สามารถจะแต่ที่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดก็คือ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ และได้ลงมือก่อสร้างอุโบสถ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นั่นอง ได้จัดงานผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ นับว่าท่านได้ทำการก่อสร้าง ถาวรวัตถุที่จำเป็นให้เกิดมีขึ้น ในสมัยที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสนั้นครบทุกอย่างนอกจากนั้นท่านยังได้ทำเรื่องขอเปิดโรงเรียนประชาบาลขึ้น ณ วัดลาดหญ้าไทรอีกด้วย เพราะเหตุว่าตำบลห้วยขวาง ทั้งตำบลยังไม่เคยมีโรงเรียนประชาบาลเลย ครั้งแรกท่านได้เปิดเรียนที่ศาลาวัดไปพลางๆก่อน ต่อมาจึงได้สร้างโรงเรียนขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓โดยสร้างเป็นอาคารไม้ จำนวน ๔ ห้องเรียน เป็นอาคาร ๒ ชั้น แล้วมอบให้เป็นของทางราชการไป โดยมิได้ขอเงิน งบประมาณจากทางราชการแต่ประการใด
นอกจากนั้นท่านยังไปช่วยสร้างโรงเรียนบ้านอ้อกระทิง และรงเรียนรางอีเม้ย  ซึ่งอยู่ในตำบลเดียวกันจนแล้วเสร็จ ๒ โรงและท่านยังได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาชุมชน โดยตัดถนจากถนมาลัยแมน เข้าถึงวัดลาดหญ้าไทรเป็นระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตรและถนนสายนี้ได้ตัดผ่านที่ดินของวัดไปยังโรงเรียนบ้านห้วยขวางอีกด้วย ชาวบ้านได้อาศัยถนนสายนี้สัญจรไปมาอย่างสะดวกสบายตั้งแต่สมัยนั้นมาจนปัจจุบันนี้
ในสมัยที่พระครูสิงห์โต อภงกโร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดหญ้าไทรอยู่ ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดจึงสามารถก่อสร้างถาวรวัตถุให้เกิดมีขึ้นโดยสมบูรณ์ จะพูดอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่าท่านเป็นผู้พัฒนาวัดลาดหญ้าไทร และชุมชนในท้องถิ่นนี้ได้มีความเจริญมากที่สุดในสมัยนั้น จึงเป็นเหตุให้ประชาชนในท้องถิ่นนั้น และตำบลใกล้เคียง มีความเคารพนับถือท่านเป็นจำนวนมาก
พระครูสิงห์โต  อภงกโร ได้มรณภาพด้วยโรคปอดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ อายุได้ ๖๖ ปี จึงเป็นเหตุให้ประชาชนชาวบ้านลาดหญ้าไทร และตำบลใกล้เคียง มีความเศร้าโศกเสียใจในการจากไปของท่านอย่างสุดซึ้งหลังจากพระครูสิงห์โต อภงกโร ได้มรณภาพแล้ว ก็ได้ตั้งพระสาย เตชวโร ซึ่งเป็นพระผู้ชราภาพอยู่ใน วัดลาดหญ้าไทรนั่นเองให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ได้ประมาณ ๒ ปี ต่อมาคณะกรรมการวัดเห็นว่าท่านมีความชราภาพมาก คืออายุท่านได้ ๘o ปีเศษ  ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยได้ จึงได้อาราธนาพระอาจารย์จรัส ญาณวุฑโฆ มาจากวัดสามง่าม อำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐม มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ในช่วงระยะนี้วัดวาอารามมีแนวโน้มไปในทางเสื่อมมาก คือ สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย  ที่ได้ทำการก่อสร้างไว้ตั้งแต่สมัยพระครูสิงห์โต อภงกโร เป็นเจ้าอาวาส ก็เริ่มชำรุดทรุดโทรมมากขึ้นโดยลำดับ เพราะเหตุว่าเจ้าอาวาสรูปใหม่ไม่ได้เอาใจใสในการบูรณปฏิสังขรณ์เลย ประชาชนก็เสื่อมศรัทธาไม่มีความเลื่อมใส และต่อมาภายหลังก็มีอธิกรณ์เกิดขึ้นจึงถูกถอด
ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๙ นั่นอง คณะกรรมการวัดได้ไปอาราธนา พระธรรมธรสุดใจ อุชฺจาโร (ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ ได้เลื่อนเป็นพระครูสมุห์ และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรในตำแหน่งเจ้าคณะตำบลชั้นตรี มีพระราชทินนามว่า
พระครูอาชววิมล เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ และต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นชั้นโท ในราชหินนามเดิม เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๑) มาจากวัดม่วงตารศ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มาเป็นเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ในช่วงระยะนี้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมากดังกล่าวแล้วนั้น ส่วนเงินเก่าของทางวัดก็ไม่มีเหลืออยู่เลย จึงจำเป็นต้องรื้อถอนของเก่าออก แล้วคัดตัวไม้ที่ยังพอใช้การได้มาทำการก่อสร้างใหม่ คือ ก่อสร้างในรูปบูรณปฏิสังขรณ์บ้างและสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะบ้าง
งานด้านสาธารณูปการ / บูรณปฏิสังขรณ์
  • พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างกุฏิสงฆ์  หลัง ลักษณะครึ่งตึกครึ่งไม้ ห้อง ๒ ชั้น กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๒๐.๐๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๖,๓๗๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๒๐ สร้างกุฏิสงฆ์   หลัง ลักษณะครึ่งตึกครึ่งไม้ ๓ ห้อง ๒ ชั้น กว้าง ๖.๕o เมตร ยาว ๙.๕o เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๘,๗๖๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๒๒ สร้างแท็งก์น้ำเก็บน้ำฝน ลักษณะแบบ ฝ.๓๓ จำนวน ๓ แท็งก์ กว้าง ๒.00 เมตร สูง ๔.๒๐ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๒๓,๖๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๒๓ สร้างวิหารพระครูสิงห์โต อาภงกโร (อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดหญ้าไทร) ๑ หลัง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ผนังก่ออิฐถือปูน หลังดาทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบกาบกล้วย กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘.๕o เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๓๑๙,๗๘๕ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๒๓ สร้างหอแท็งก์น้ำบาดาล เรือนแท็งก์สูง ๗.๕o เมตร ขนาดแท็งก์เก็บน้ำ ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒.๐ สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๑๔ ๕๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๐ สร้างศาลาการเปรียญ - หลัง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพดโมเนียแดงกุหลาบ กว้าง ๑๕.00 เมตร ยาว ๓๑.๒๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๓,๒๐๐,๐0๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๑ สร้างอุโบสถ ๑ หลัง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบกรมศิลปากร ประเกท ข.๓ ลด ๓ ชั้น  กว้าง ๑๐.๘ เมตร ยาว ๒๕.. เมตร ผนังก่ออิฐถือปูน หน้าบันแกะลายไทย หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบกาบกล้วย สิ้นค่า  ๔,๓๕๐,๐๐๐ บาทอุโบสถหลังนี้สร้างประมาณ ๒ ปี ก็เสร็จเรียบร้อย โดยอาศัยงินทุนจากผู้มีจิตศรัทธารายใหญ่ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จีรี มีสุข  พร้อมด้วยวงศ์ตระกูล ได้บริจาคเงินให้สร้างอุโบสถ จำนวน ๓,00๐,000 บาท โดยกาชักนำของ คุณระเบียบ เอกจีน และคุณพรทิพย์  ไชยวัฒนะ  กรุงเทพฯ  และได้รับบริจาคจากประชาชนชาวบ้านลาดหญ้าไทร และตำบลใกล้เคียงอีกจำนวน ๑,๓๕๐,๐๐๐ บาท  อุโบสถหลังนี้จึงสำเร็จลุล่วงไปอย่างรวดเร็ว  อุโบสถหลังใหม่นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๓ และได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๓๔
  • พ.ศ. ๒๕๒๓ ซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อขยายเขตวัดให้กว้างกว่าเดิมอีก จำนวน ๗ ไร่ ๒ งาน ๕๘ ตารางวา จำนวนเงิน  ๔๐๐,๐๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๔ สร้างโรงครัว โรงอาหาร ๑ หลัง จำนวน ๕ ห้อง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน ปูหลังคามุ่งกระเบื้องรอนเล็ก กว้าง ๒๕.00 เมตร ยาว ๓๑.๒๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๕0,000 บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๕ ซื้อดินถมที่ที่ซื้อไว้ให้สูง เพื่อปลูกส่วนป่า จำนวน ๑๕0,๐00 บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๖ สร้างฌาปนสถาน ๑ หลัง ลักษณะทรงไทยนิยม คอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบกาบกล้วย กว้าง ๑๓.๖๐ เมตร ยาว ๑๔.๑ เมตร ราคาค่าก่อสร้าง ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ สร้างหอระฆัง ๑  หลัง ลักษณะทรงไทยนิยมจัตุรมุข คอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบกว้าง ๓.๕๐ เมตร ราคาค่าก่อสร้าง ๓๕๗,๓๒๒ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๗ ซื้อดินถมพื้นที่ทำตลาดนัด เพื่อให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าราคาถูก จำนวน ๑๒0,0๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างซุ้มประตูช่องเข้าวัดด้านหลังอุโบสถ ลักษณะทรงไทยนิยม คอนกรีตเสริมเหล็ก ราคาค่าก่อสร้าง  ๓๕๐,๐๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๓๘ สร้างกำแพงรอบวัด ลักษณะก่ออิฐถือปูน กว้าง ๘. เมตร ยาว ๓๓๓.๐๐ เมตร สูง ๑.๕o เมตร จะต้องใช้งบประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ
พระครูพินิตสุตาคม เจ้าอาวาสวัดลาดลาดหญ้าไทรและเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง ดำเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ มีดังต่อไปนี้
  • พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง จำนวน ๕ ห้อง ๒ ชั้น ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องชีแพคโมเนียแดงกุหลาบ กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๓ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๙๐๑,๘๒๙ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างกุฏิสงฆ์ 1 หลัง ลักษณะสร้างด้วยไม้  มุงด้วยกระเบื้องรอนเล็กชั้นเดียว ผนังก่ออิฐถือปูนกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๑.๒๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๕๑,๘๕๑ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างโรงเก็บรถและโรงเก็บของ ๑ หลัง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนียแดงกุหลาบ กว้าง ๒ㆍ เมตร ยาว ๒๓ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑๔๗.๓๕๓ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างศาลาขายทองอเนกประสงค์ ๑ หลัง ลักษณะสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนียแดงกุหลาบกว้าง ๑ เมตร ยาว ๒๓ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๓๗๑,๕๓๕ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๖ สร้างศาลาหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) อเนกประสงค์ ๑ หลัง ลักษณะสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้องชีแพคโมนียแดงกุหลาบ กว้าง ๑0 เมตร ยาว ๒๓  เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๓๐๘,๗๕๘ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๑ หลัง ๒  ชั้น ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องชีแพคโมนียแดงกุหลาบ กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๗ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๕,๑๑๔,๙๑๙ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๙ สร้างห้องน้ำ - ห้องสุขา 1 หลังจำนวน ๑๖ ห้องลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนียแดงกุหลาบ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๖๐๐,๐๐๐ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๔๙ สร้างห้องน้ำ - ห้องสุขา 1 หลัง จำนวน ๑๔ ห้อง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคามุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนียแดงกุหลาบ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๕๘, ๐๑๔ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๕o สร้างศาลาอเนกประสงค์ข้างวิหารพระครูสิงห์โต ๒ หลัง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคา มุงด้วยกระเบื้องซีแพคโมเนียแดงกุหลาบ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๔๑๑,๗๔๒ บาท
  • พ.ศ. ๒๕๕๒ สร้างศาลาเมรุและเตาเผาไร้มลพิษ 1 หลัง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูนมุงด้วยกระเบื้องซีแพดโมนียแดงกุหลาบ กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๕ เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง ๘,๐๐๐,๐๐๐ บาทเศษ
ด้านปูชนียวัตถุที่สำคัญ
๑. พระประธานในอุโบสถองค์เก่า  เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร แบบสุโขทัย มีพระพุทธ ลักษณะที่สำคัญ คือ สร้างด้วยวัสดุ คือ หล่อด้วยโลหะ มีขนาดสูงเฉพาะองค์พระ ๑.๘๙ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๒๙ เมตร ผู้สร้างถวาย คุณทองห่อ เช็งสุทธา กรุงเทพ ฯ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
๒. พระประธานในอุโบสถองค์ใหม่  เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร แบบสุโขทัย มีพระพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ มีซุ้มเรือนแก้ว แบบพระพุทธชินราช สร้างด้วยวัสดุ คือ หล่อด้วยโลหะ มีขนาดสูง เฉพาะองค์พระ ๒.๔๙ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๘๙ เมตร ผู้สร้างถวาย คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จีรี มีสุข
คุณระเบียบ เอกจีน คุณพรทิพย์ ไชยวัฒนะ กรุงเทพฯ สร้างถวายไว้  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔
๓. พระประธานในศาลาการเปรียญ  เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร มีพระพุทธลักษณะที่สำคัญ คือ เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน สร้างด้วยวัสดุคือหล่อด้วยโลหะ มีขนาดสูงเฉพาะองค์ ๒.๒๙ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๘๙ เมตร ผู้สร้างถวาย คือ คุณทวีพร โชคธนสุกาณจน์  คุณรัชนี สิมะพิเชฏ กรุงเทพฯ สร้างถวายไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙
๔. พระสารีบุตร พระโมคคัลลา  เป็นพระอัครสาวกแบบนั่งกระโหย่งท้าประนมมือ มีขนาดสูงเฉพาะองค์พระ ๑.๗๙ เมตร สร้างด้วยวัสดุ คือ หล่อด้วยโลหะ  ผู้สร้างถวาย คือ คุณวีพร โชดธนสุกาญจน์ คุณรัชนี สิมะพิเชฏ กรุงเทพฯ สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙
๕. รูปเหมือนลอยองค์พระครูสิงห์โต อภงุกโร  อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดหญ้าไทร สร้างด้วยวัสดุ คือ หล่อด้วยโลหะ มีขนาดสูงเฉพาะองค์ ๑.๕o เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๐๙ เมตร สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔
๖. สมเด็จพระพุทโธสุดโต  เป็นพระพุทธรูปปางลีลาประทานพร พบที่พุทธมณฑล สร้างด้วยวัสดุ คือหล่อด้วยโลหะ มีขนาดสูงเฉพาะองค์ ๙.๐๐ เมตรสร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ จำนวนเงิน ๒,๙๔๔,๒๖๖ บาท
๗. รูปเหมือนลอยองค์พระครูอาชววิมล (สุดใจ อุซุจาโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดลาดหญ้าไทร และเจ้าคณะตำบลห้วยขวาง สร้างด้วยวัสดุ คือหล่อด้วยโลหะ มีขนาดสูงเฉพาะองค์ ๑.๕ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๐๙ เมตร สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ จำนวนเงิน ๕0,๐๐๐ บาท
 
สรุปสาระสำคัญในปัจจุบัน
พระครูอาชววิมล (สุดใจ  อุชูจาโร) เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท (จต.ช.) และเป็นเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ถึง ๒๕๔๑
พระครูพินิตสุตาคม (สมพงษ์ สุตาคโม) เป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท (จต.ชท.) และเป็นเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบันนายจำเนียร เอกจีน เป็นไวยาวัจกร
นับตั้งแต่เริ่มสร้างวัดมา พ.ศ. ๒๔๓๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๒ วัดลาดหญ้าไทรมีอายุได้ ๑๒๐ ปี
ถ้าผู้ใดมีความประสงค์จะไปวัดลาดหญ้าไทร ให้ไปตามถนมาลัยแมน จากตัวเมืองนครปฐม ไปจังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๕ ถึง ๑๖ ตรงโค้งพอดีจะมีทางแยกด้านขวามือ และมีป้ายบอกชื่อวัดลาดหญ้าไทร ขับรถตามถนนตรงไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ก็จะถึงวัดลาดหญ้าไทร พอดี
 
 
 
 
 
 
 

รายการพระ

พระครูพินิตสุตาคม (สมพงษ์) สุตาคโม

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 28-12-2564

พระวัชระ ฐานยตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระดุสิต พลปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระรัตนกฦช มนสิทฺโธ

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระครูใบฎีกาอรรถ สุจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-12-2564

พระบุญมาก ธมฺมวโร

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระโกสุม ขิปฺปสิทฺโธ

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระอานนท์ อานนฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระพีรพงศ์ ปญฺญาธิโก

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระทิวานนท์ ธมฺโมภาโส

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระนิรันด์ อคฺคสกฺโก

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระนัฐพงษ์ วิวฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระชัยยุทธ สามตฺถิโย

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระวรชิต ชุติมนฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระณัฐวุฒิ โรจนสุโข

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสิทธิศักดิ์ นาถธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสมหมาย กนฺตสีโล

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสมชัย วรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระอรรถพล ฐานปิโย

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 26-01-2565

พระสง่า อินฺทปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสุนทร กุสลจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด