เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดโพธิ์งาม

รหัสวัด
02730202003

ชื่อวัด
วัดโพธิ์งาม

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500

ที่อยู่
วัดโพธิ์งาม

เลขที่
1

หมู่ที่
8

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
กระตีบ

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73180

เนื้อที่
41 ไร่ 1 งาน - ตารางวา

Facebook
คลิกดู

โทรศัพท์
0845383157

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม

จำนวนเข้าดู : 1119

ปรับปรุงล่าสุด : 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566 13:53:50

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 09:38:26

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดโพธิ์งาม
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
วัดโพธิ์งาม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๗ ถนน รร.การบิน ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อ ที่ ๔๑ ไร่ ๑ งาน และมีหนังสือ เอกสารสำคัญ น.ส. ๓ แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของวัด มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จรดทางสาธารณะ
ทิศใต้ จรดทางสาธารณะ
ทิศตะวันออก จรดทางสาธารณะ
ทิศตะวันตก จรดทางสาธารณะ
ความเป็นมาแต่เดิม
วัดโพธิ์งาม เดิมบริเวณที่สร้างเป็นที่ของผู้ใหญ่สำอางค์ ปลีทอง หมู่ที่ ๑๓ ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
เป็นป่าไม้เบญจพรรณซึ่งเดิมที่นั้นเป็นหนองไม้ น่าได้มาจากชาวบ้านในระแวกนี้เขาเรียกกันชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณแถบนี้ ส่วนใหญ่
ใช้พื้นบริเวณแถบนี้ ทำไร่ ยาสูบ ปลูกฝ้าย ฯลฯ
กาลต่อมา ผู้ใหญ่สำอางค์ ปลีทอง ได้พิจารณาเห็นว่าที่บริเวณนี้เป็นสถานที่เหมาะสมในการสร้างวัดเพื่อให้ประชาชนใน
บริเวณใกล้เคียงจะได้สะดวกในการบำเพ็ญกุศล ถือศีล ฟังธรรมตามประเพณี มิฉะนั้นจะต้องไปประกอบการกุศลในวัดอื่นที่อยู่ห่างไกล
พอสมควร เมื่อพิจารณาเห็นสมควรแล้วพร้อมทั้งได้ถามความต้องการจากประชาชน จากแถบถิ่นใกล้สถานที่สร้างวัด ก็ได้รับการ
สนับสนุนด้วยดีจึงได้ช่วยกันสละทรัพย์ปลูกสร้างเป็นที่พักสงฆ์ไว้ก่อน และได้อาราธนาพระภิกษุ และสามเณรมาอยู่จำพรรษา เพื่อฉลอง
ศรัทธา ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นต้นมาในการขนานนามวัดนี้ได้พิจารณาสภาพภูมิประเทศอันเป็นป่าเบญจพรรณ และมีต้นโพธิ์ใหญ่ต้นหนึ่ง
มีกิ่งก้านสาขาเป็นที่ร่มรื่น พร้อมทั้งป่าไม้เบญจพรรณที่งอกงาม จึงนำมาเป็นเอกลักษณ์ใช้ในการตั้งชื่อวัดว่า “วัดโพธิ์งาม” เป็นต้นมา
จนถึงปัจจุบัน
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป
ลักษณะพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ดอน ซึ่งมีบริเวณหนองน้ำอยู่ในบริเวณใกล้เคียงชาวบ้าน เรียกกันว่าหนองไม้น้ำ เดิมผู้อยู่อาศัยใน
บริเวณนี้จะเป็นผู้ที่อพยพมาจากถิ่นอื่น เพื่อมาจับจองเนื้อที่ว่างเปล่ามาประกอบอาชีพทำไร่เป็นส่วนใหญ่
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา
พ.ศ. ๒๕๐๒ ผู้ใหญ่สำอางค์ ปลีทอง ได้นิมนต์พระภิกษุและสามเณรมาอยู่จำพรรษา
พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้นิมนต์พระภิกษุยิ่ม พร้อมทั้งลูกคณะ ๕ รูป สามเณร ๑ รูป มาอยู่จำพรรษา ๓ พรรษา
พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้ทำการสร้างโรงเรียนทำด้วยไม้ไผ่ ๑ หลัง นายอำเภอมนัส มาทำการเปิดโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๐๖ ชาวบ้านได้อาราธนาพระภิกษุเกื้อกูล ขุทฺทโก วัดท่าเสา พร้อมทั้งพระภิกษุ และสามเณรมาจำพรรษา
จำนวน ๕ รูป และเริ่มทำการบุกเบิกสร้างวัดขึ้นมาได้ชักชวนชาวบ้าน ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายสร้างกุฏิสงฆ์ โรงเรียนประถมขึ้นอีก
จำนวน ๑ หลัง แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ และก่อสร้างกุฏิเพิ่มขึ้นอีกจำนวน ๑ หลัง พ.ศ. ๒๕๐๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้งบประมาณ
จากทางรัฐบาลให้สร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก จำนวน ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดจากกระทรวงศึกษาธิการและได้ทำการเจาะบ่อน้ำบาดาล เพื่อให้เด็กนักเรียนและ
ประชาชนได้มีน้ำไว้ใช้
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น จำนวน ๑ หลัง พร้อมกับฌาปนสถานซึ่งมีความจำเป็นแก่ประชาชนและข้าราชการ
งานพระราชทานเพลิงศพของโรงเรียนการบินกำแพงแสน ในปีเดียวกัน
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลำดับ
เมื่อได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแล้ว พระอธิการเกื้อกูล ขุทฺทโก ได้ทำการสร้างหอระฆัง และห้องน้ำ ห้องสุขาประจำวัด
สร้างโรงครัว ขอไฟฟ้ามาใช้ภายในวัดและโรงเรียน สร้างกุฏิเพิ่มอีก จำนวน ๔ หลัง ปลูกต้นไม้ยืนต้น จัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยได้แนว
เพื่อความร่มรื่นโดยได้รับความอุปถัมภ์ ความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยทั่วไปทั้งใกล้ไกลได้ร่วมกันบริจาค
ทรัพย์ในการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้รับความเจริญและสะดวกสบายมาโดยลำดับ
การพัฒนาวัดในยุคปัจจุบัน
ปัจจุบัน พระครูอาทรภัทรกิจ ได้เอาใจใส่ดูแลรักษาวัดด้วยดีและพัฒนาวัดให้ได้รับความเจริญมาโดยตลอด เช่น
ทำการก่อสร้างอุโบสถ ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านภายในวัด และผู้อนุรักษ์ของใช้โบราณต่างๆ นอกจากนี้ยังดำเนินการส่งเสริม
การศึกษาทางด้านให้ทุนแก่เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจนตลอดจนส่งเสริมทาง การศึกษาทางด้านนักธรรมและบาลีของพระภิกษุสามเณร
โดยการมอบรางวัลจตุปัจจัยให้แก่ผู้สอบไล่ได้ โดยเฉพาะก็คือเพิ่มทุนของวัดและเพิ่มทุนส่วนตัวให้กับโรงเรียนสหศึกษาบาลีเป็นประจำทุกปี
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
. อุโบสถ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงไทย โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เครื่องบนไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง ก่อสร้างแล้วเสร็จ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเงิน ๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ ๙ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖
อุโบสถหลังนี้ มีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร
. ศาลาการเปรียญ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงไทยสองชั้น มุขด้านหน้าใช้ประโยชน์ทั้ง ๒ ชั้น โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
เครื่องบนไม้เนื้อแข็งทั้งหลังมุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเงิน ๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท ศาลา
การเปรียญหลังนี้มีขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร
. ศาลาเมรุ
ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของวัด วัตถุประสงค์ที่จัดสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกให้ข้าราชการ และประชาชน มีลักษณะรูปทรง
เป็นแบบทรงไทยชั้นเดียว มีมุขหน้า หลังคาโครงเหล็กมุงด้วยกระเบื้องสีแดง โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีช่อฟ้า
เป็นใบเทศ ใบระกาก่อเช่นเดียวกัน มีเตาเผาอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นเงิน ๔,๖๐๐,๐๐๐ บาท
มีขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร
ประวัติปูชนียวัตถุของวัด
พระประธานประจำอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปางพระพุทธชินราช สร้างด้วยวัสดุคือ โลหะ มีขนาดสูง ๓ เมตร หน้าตักกว้าง ๒.๕๐ เมตร ทางวัด
ได้จัดสร้างเอง
ลำดับรายนามเจ้าอาวาสวัดโพธิ์งาม
ความเป็นมาที่เริ่มมีเจ้าอาวาสปกครองวัดเมื่อแรกที่ก่อตั้ง วัดนี้เป็นที่พักสงฆ์ชาวบ้านได้ อาราธนาพระภิกษุ และสามเณร
มาจำพรรษาเพื่อฉลองศรัทธาของสาธุชนในระยะสั้น ๆ แล้วเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเป็นอย่างนี้เสมอมา ปัจจุบันได้มีพระภิกษุ
ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแล้ว ซึ่งพอจะสืบค้นหาและลำดับได้ดังนี้
พระครูอาทรภัทรกิจ ฉายา ขุทฺทโก นามสกุล สุขกากิจ วิทยฐานะ น.ธ.เอก ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส
ตามหนังสือ ที่ ๙/๒๕๑๓ ลงวันที่ ๑ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓ จนถึงปัจจุบันและดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์
เป็นเจ้าคณะอำเภอกำแพงแสน
อุโบสถหลังปัจจุบันมีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๓๕
ศาลาการเปรียญมีขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๒๕
ไวยาวัจกร
นายสมจิตร แป้นทอง
มีหน่วยงานของทางราชการ ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณของวัดคือ
โรงเรียนประชาบาล

รายการพระ

พระมหาบุญเกล้า นาคเสโน

ข้อมูลเมื่อ : 27-07-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 27-07-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด