เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8336 รูป
สามเณร
297 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8847 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7183 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

๑๒๙ ปี อัฏฐมีบูชา

จังหวัดนครปฐม ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม และองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด จัดงานบุญประเพณี วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง หรือวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งชาวตำบลวัดละมุด สืบทอดติดต่อกันมา ๑๒๙ปี ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ที่วัดใหม่สุคนธาราม ตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม โดยมี พระเทพศาสนาภิบาล เจ้าคณะภาค ๑๔ ประธานฝ่ายสงฆ์

ในภาคกลางมีวัดที่จัดงานวันอัฐมีบูชาติดต่อกันมายาวนานเช่นกัน
คือ วัดใหม่สุคนธาราม ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม โดยในปี ๒๕๖๕ นี้นับเป็นปีที่ ๑๒๙

ประวัติการจัดงานวันอัฐมีบูชาจากข้อมูลสัมภาษณ์ของนางจำลอง วิบูลย์ปิ่น
ที่ได้สัมภาษณ์นายบัว ชูสูงทรง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ ต.วัดละมุด
และอดีตไวยาวัจกร วัดใหม่สุคนธาราม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ ซึ่งขณะนั้นนายบัวมีอายุ ๘๘ ปี
ให้ข้อมูลกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของประเพณีดังกล่าวว่า

การจัดงานประเพณีนี้เริ่มมีขึ้นในสมัยหลวงพ่อเบี้ยว ปทุมรัตน์ *
อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๔ ของวัดใหม่สุคนธาราม โดยมี มีไวยาวัจกร ๓ ท่าน
คือ นายวอน ลอยสูงวงศ์ นายขีด แก้วบูชา และนายอ่วม อ่อนสูงทรง เป็นผู้นำในการจัด
จากข้อมูลการสัมภาษณ์นายบัวเท่าที่จำความได้ทางวัดมีการจัดงานทุกปีไม่เคยเว้นว่าง

ซึ่งการจัดงานในสมัยก่อนนั้นปู่ของนายบัวเล่าว่า
จัดกันตั้งแต่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา หรือวันปรินิพพาน เป็นต้นไป
โดยในช่วงค่ำจะมีการตั้งหีบพระบรมศพจำลองบนศาลาการเปรียญ
และมีการสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญพระกุศลถวายสักการะเป็นพุทธบูชา ๗ คืน

เมื่อถึงวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิง
ในช่วงเช้าชาวบ้านจะประกอบพิธีทำบุญตักบาตรที่วัด
หลังจากนั้นทางวัดและชาวบ้านในชุมชนจะช่วยกันสร้างจิตกาธาน
หรือเชิงตะกอนจำลอง เพื่อใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงในตอนบ่าย
หมู่บ้านต่างๆ ในละแวกใกล้เคียงวัดก็จะรวมกันจัดขบวนแห่พุ่มผ้าป่า
แห่ดอกไม้ไฟประมาณ ๓ – ๔ ขบวนมายังวัด
เมื่อเสร็จพิธีถวายพระเพลิงแล้วก็จะทำการจุดดอกไม้ไฟ ตะไล กวด
ที่ประกอบมาในขบวนแห่นั้นถวายเป็นพุทธบูชา

สมัยหลวงพ่อย้อย อินทโร อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๖ ของวัดใหม่สุคนธาราม
นับเป็นยุคเฟื่องฟูของงานประเพณีสมัยหนึ่ง มีความร่วมมือในการประกอบพิธีทางศาสนา
ระหว่างชุมชนวัดใหม่สุคนธารามและวัดห้วยพลู
โดยในวันวิสาขบูชาชุมชนจากวัดใหม่สุคนธารามจะไปเวียนเทียนที่วัดห้วยพลู
และเมื่อถึงวันอัฐมีบูชาชุมชนจากวัดห้วยพลูก็จะพากันจัดขบวนแห่มาร่วมพิธี

ซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์ดา ปิยทสสี วัดใหม่สุคนธารามและคณะศิษย์
จะเป็นผู้รับผิดชอบในการประดิษฐ์ดอกไม้ไฟให้กับขบวนแห่ที่มาร่วมงาน
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชุมชนที่ไม่สามารถประดิษฐ์ดอกไม้ไฟ
การจัดงานครั้งนั้นมีขบวนแห่ที่มาร่วมงาน ๒ สาย คือ
ชุมชนห้วยพลู ต.ห้วยพลู นำโดยผู้ใหญ่บด ศิริพิน และนายชาญ แก้วบูชา
สายที่ ๒ คือ ชุมชนวัดกลาง ต.บางพระ นำโดยกำนันเทียน ปลื้มละมัย
แต่การเข้าร่วมของทั้ง ๒ ชุมชนนั้น ดำเนินการได้เพียง ๒ ปี
ก็ต้องยุติไปด้วยเหตุจำเป็นบางประการ

การจัดงานในครั้งนั้นมีการสร้างจิตกาธานจำลองซึ่งหลวงพ่อย้อย
ผู้ทรงภูมิปัญญาในการแทงหยวกเป็นผู้แกะสลักลวดลายแทงหยวก
ประดับจิตกาธานจำลองอย่างวิจิตรตระการตา
โดยมีลูกศิษย์คือ นายบุญธธรม ฤทธิ์ศรีสันต์ ซึ่งมีอายุ ๖๑ ปี
(จากข้อมูลสัมภาษณ์ของนางจำลอง วิบูลย์ปิ่น เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔)
เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาและช่วยในการแทงหยวกทุกปี

ต่อมาสมัยหลวงพ่อเชื้อ สิริปุญโญ อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๗
ได้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ที่เรียกขานนามว่า “หลวงพ่อใหญ่”
ซึ่งเป็นพระปางปรินิพพานที่มีต้นแบบจากประเทศศรีลังกา
แกะสลักจากศิลาทรายโดยช่างชาวอยุธยา มีขนาดตลอดพระองค์ ๖ เมตร ๙ นิ้ว
ชาวบ้านในละแวกนี้ต่างภูมิใจและมีความเชื่อว่า หลวงพ่อใหญ่เป็นพระปางปรินิพพาน
สร้างจากศิลาทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สมัยพระครูนวกิจโสภณ(โกศล ปริปุณโณ) เจ้าอาวาสองค์ที่ ๘
ซึ่งมีนายสำรวย เกิดต่อพันธุ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๓ ต.วัดละมุด
ดำรงตำแหน่งต่อจากนายบัว ชูสูงทรง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๖ เป็นผู้นำชุมชน
การจัดงานวันอัฐมีบูชาได้เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางขึ้น
โดยหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรต่างๆ ได้เข้ามาให้ความร่วมมือในการจัดงาน
คณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะอำเภอนครชัยศรีก็เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งชุมชนหมู่บ้านใกล้เคียงต่างให้ความร่วมมือส่งขบวนแห่เข้าร่วมมากขึ้น
และสื่อมวลชนก็ได้ให้ความสำคัญในการทำและเผยแพร่ข่าวมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ประวัติความเป็นมาในการจัดงานวันอัฐมีบูชานี้นางจำลอง วิบูลย์ปิ่น
ได้ประมวลเหตุการณ์และข้อมูลพบว่าการประกอบพิธีต่างๆ ของชุมชนแห่งนี้
มีความพยายามจัดขึ้นโดยจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ให้ใกล้เคียงเหตุการณ์ในพุทธประวัติ
ดังมีการกล่าวไว้ในหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย ฉบับฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ แสดงให้เห็นว่าชุมชนแห่งนี้มีการเรียนรู้เรื่องราวในพุทธประวัติ
ตอนอัฐมีบูชาโดยละเอียด แม้ว่าทางราชการจะมิได้กำหนดให้เป็นวันสำคัญทางศาสนา
หรือแม้แต่บรรจุในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับแต่ประการใด
ซึ่งผู้ริเริ่มนั้นจะเรียนรู้จากแหล่งใดมิอาจทราบได้แน่ชัด
แต่การที่ชุมชนมีการนำจุดเล็กๆ ในพุทธประวัติมาเป็นคติในการทำบุญ
และยังคงสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นนั้น นับเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่ง
ที่ชี้ให้เห็นถึงความเจริญทางอารยธรรมของชุมชนลุ่มน้ำนครชัยศรี

ไฟล์แนบเพิ่มเติม

ไฟล์แนบ 1
(15.74 kb)

ไฟล์แนบ 2
(12.93 kb)

ไฟล์แนบ 3
(157.73 kb)

ไฟล์แนบ 4
(77.89 kb)

โดย : วัดใหม่สุคนธาราม

ที่อยู่ : ต.วัดละมุด อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

จำนวนเข้าดู : 253

ปรับปรุงล่าสุด : 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 18:23:59

ข้อมูลเมื่อ : 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 18:22:10

 
 
 
 

ข่าวประชาสัมพันธ์ 10 อันดับ

งานกิจกรรมวัด และภาพกิจกรรม

โดย วัดขรัวตาหนู

ข้อมูลเมื่อ : 02-06-2567

เปิดดู : 7