เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8352 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8868 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7199 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดท่าขนุน

รหัสวัด
02710701001

ชื่อวัด
วัดท่าขนุน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2483

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2498

ที่อยู่
วัดท่าขนุน

เลขที่
๒๓๕

หมู่ที่

ซอย
-

ถนน
ทองผาภูมิ-สังขละบุรี

แขวง / ตำบล
ท่าขนุน

เขต / อำเภอ
ทองผาภูมิ

จังหวัด
กาญจนบุรี

ไปรษณีย์
๗๑๑๘๐

เนื้อที่
59 ไร่ 2 งาน 30 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

เว็บไซต์
คลิกดู

มือถือ
๐๘๙ - ๘๑๕ - ๒๔๗๒

โทรศัพท์
-

Fax
-

อีเมล์
suthamma2564@gmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) ดีเด่น

จำนวนเข้าดู : 10779

ปรับปรุงล่าสุด : 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 13:55:44

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 14:44:30

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา


ประวัติวัดท่าขนุน

         วัดท่าขนุนได้ชื่อตามเมืองด่านท่าขนุน สมัยนั้นการสัญจรส่วนมากไปทางเรือที่ล่องตามลำน้ำแควน้อย จุดที่ตั้งของเมืองด่านท่าขนุนเป็นท่าเรือ มีที่หมายสำคัญคือมีต้นขนุนอยู่หลายต้น จึงเรียกกันง่าย ๆ ว่า "ท่าขนุน" จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองตั้งแต่นั้นมา
         ในหนังสือนิราศท่าดินแดง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ เมื่อคราวเสด็จไปทำศึกกับพม่า ซึ่งยกมารุกรานไทยที่ท่าดินแดง ทรงยกทัพไปพร้อมกับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท โดยขบวนเรือจากกรุงเทพฯ ไปจนถึงเมืองไทรโยค แล้วจึงเดินทัพทางบกต่อไป
         พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเข้าตีค่ายพม่าที่ท่าดินแดง ในขณะที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงเข้าตีค่ายพม่าที่ตำบลสามสบ โดยเข้าตีค่ายพม่าพร้อมกันทั้งสองทัพ เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๓๒๙
         ทำการรบกันอยู่สามวัน ถึงวันที่ ๒๓ เวลาบ่าย ฝ่ายไทยบุกทะลวงเข้าค่ายพม่าได้ และได้รบติดพันกันอยู่จนพลบค่ำ พม่าจึงทิ้งค่ายแตกหนีไปกองทัพไทยได้ไล่ติดตามไปถึงค่ายพระมหาอุปราชาที่ตำบลแม่กษัตริย์
         พระมหาอุปราชารู้ว่ากองทัพหน้าแตกแล้วก็ไม่คิดต่อสู้ รีบยกกองทัพหนีไปก่อน ทัพพม่าจึงแตกยับเยิน เสียรี้พลและอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย โดยเฉพาะปืนใหญ่ไม่สามารถที่จะลากกลับไปได้แม้แต่กระบอกเดียว
         จากนิราศท่าดินแดงในครั้งนั้น ได้กล่าวถึงจังหวัดกาญจนบุรีในนามเดิมว่า เมืองปากแพรก   ในหลวงรัชกาลที่ ๑ และพระอนุชาธิราช ทรงยกทัพเรือขึ้นไปถึงเมืองไทรโยค จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นทัพบก ยกไปตั้งค่ายที่ด่านท่าขนุน เพื่อให้กำลังพลได้พักผ่อน แล้วบุกเข้าโจมตีกองทัพพม่าที่ท่าดินแดง ดังเนื้อความในนิราศ ดังนี้
         ฯลฯ...ถึงปากแพรกซึ่งเป็นที่ประชุมพล
                             พร้อมพหลพลนิกรน้อยใหญ่
                             ค่ายคูเขื่อนขัณฑ์ทั้งนั้นไซร้
                             สารพัดแต่งไว้ทุกประการ
         จึงรีบรัดจัดโดยกระบวนทัพ
                      สรรพด้วยพยุหทวยหาญ
                      ทุกหมู่หมวดตรวจกันไว้พร้อมการ
                      ครั้นได้ศุภวารเวลา
         ให้ยกพลขึ้นทางไทรโยคสถาน
                             ทั้งบกเรือล้วนทหารอาสา
                             จะสังหารอริราชพาลา
                             อันสถิตอยู่ยังท่าดินแดง...ฯลฯ
         ฯลฯ...ออกจากเนินผาศิลาพนัส
                      เร่งรัดทวยหาญทั้งซ้ายขวา
                      ไปตามแนวแถวในพนาวา
                      พอสุริยาสายัณห์ลงรอนรอน
         ก็ถึงด่านท่าขนุนโดยหมาย
                             ให้ตั้งค่ายตามเชิงศิขร
                             แล้วรีบเร่งพหลพลนิกร
                             ทั้งลาวมอญเขมรไทยเข้าโจมตี...ฯลฯ
         จะเห็นได้ว่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ นั้น ท่าขนุนก็เป็นเมืองหน้าด่านอยู่แล้ว จากค่านิยมของชาวพุทธ ไม่ว่าจะเป็นมอญ พม่า ไทย ลาว ก็คือมีบ้านที่ไหน ก็ต้องมีวัดที่นั่น ทำให้มั่นใจได้ว่า จะต้องมี   วัดท่าขนุนมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว เพียงแต่ไม่ได้ปรากฏหลักฐานในเอกสารทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
         หลักฐานการมีวัดท่าขนุนปรากฏชัด เมื่อครั้งที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธรำไพ และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา สองพระราชธิดาในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดาอ่อน เสด็จมาประพาสป่าทองผาภูมิ
         ทั้งสองพระองค์เกิดชอบพระทัยในสภาพป่าทองผาภูมิ จึงได้เสด็จมาอีกครั้งหนึ่ง และได้ขอเด็กกะเหรี่ยง ๒ คน คือ นังมิ่นกงกับนอเด่งเฉ่ง จากบ้านปรังกาสี ไปเลี้ยงไว้ในวังอีกด้วย
         ในการเสด็จประพาสทองผาภูมิครั้งหลังนี้เอง ทั้งสองพระองค์ได้ทูลขอพระราชทานพระพุทธรูปรัชกาล ขนาดหน้าตักประมาณ ๑ ศอก ๒ องค์ และธรรมาสน์ทรงบุษบกฝีมือช่างหลวง ถอดประกอบได้ทุกชิ้น จากในหลวงรัชกาลที่ ๗ มาถวายแก่หลวงปู่พุก อุตฺตมปาโล อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
         หลวงปู่พุก อุตฺตมปาโล เป็นพระเถระเชื้อสายมอญ มีสีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ทั้งสองพระองค์ทราบกิตติศัพท์ จึงเสด็จมานมัสการ พร้อมกับถวายสิ่งของพระราชทานดังกล่าว
         หลวงปู่พุกปกครองวัดท่าขนุนมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ ก็มรณภาพลง ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงปู่เต๊อะเน็ง ชาวกะเหรี่ยงนอก (มาจากพม่า) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุนเป็นรูปที่ ๒
         ช่วงนั้นพอดีหลวงพ่ออุตตะมะเดินธุดงค์เข้าไทยมา ได้พบกับหลวงปู่เต๊อะเน็ง จึงช่วยกันสร้างมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสี่รอยจำลองให้กับทางวัดท่าขนุน
         หลวงปู่เต๊อะเน็งปกครองวัดท่าขนุนจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๔ ก็เดินทางกลับไปพม่า โดยไม่ได้กลับมาอีก ทางคณะสงฆ์ส่งพระภิกษุจากในเมืองกาญจนบุรี มาช่วยดูแลวัดให้ แต่อยู่ได้ไม่นานก็ต้องหนีกลับไป เพราะทนสู้ไข้ป่าไม่ไหว วัดท่าขนุนจึงกลายเป็นวัดร้างอยู่ระยะหนึ่ง
         จนกระทั่งวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๙๕ หลวงปู่สาย อคฺควํโส เดินธุดงค์มาจากนครสวรรค์ มาปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ที่บริเวณวัดท่าขนุน ชาวบ้านเห็นวัตรปฏิบัติอันน่าเสื่อมใส จึงให้การอุปัฏฐากเป็นอย่างดี จนถึงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ หลวงปู่สายก็ได้ลาชาวบ้าน เดินธุดงค์เข้าไปในพม่า
         ครั้นวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๙๖ หลวงปู่สายเดินธุดงค์กลับจากพม่ามาถึงวัดท่าขนุน และได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าขนุนจนถึงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๖ ชาวบ้านซึ่งนำโดยนายบุญธรรม นกเล็ก ได้นิมนต์ให้หลวงปู่สายอยู่เป็นเจ้าอาวาสที่วัดท่าขนุนเลย
         หลวงปู่สายแนะนำให้ นายบุญธรรม นกเล็ก นำชาวบ้านไปขอท่านกับ หลวงปู่น้อย  เตชปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลท่าน แล้วก็ลาชาวบ้าน เดินทางกลับไปวัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์
         หลังออกพรรษา พ.ศ. ๒๔๙๗ นายบุญธรรม นกเล็ก จึงนำศรัทธาชาวบ้านเดินทางไปนครสวรรค์กราบหลวงปู่น้อย ขอหลวงปู่สายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน เมื่อหลวงปู่น้อยอนุญาตแล้ว หลวงปู่สายจึงเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะศรัทธาชาวบ้าน ถึงวัดท่าขนุนเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ และเริ่มทำการบูรณะวัดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
         หลวงปู่สายได้รับการแต่งตั้งจากพระวิสุทธิรังษี (ดี พุทธโชติมหาเถระ) เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีในขณะนั้น ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน หลวงปู่สายและศรัทธาชาวบ้าน ได้ช่วยกันพัฒนาวัดท่าขนุนจนได้รับรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่างในปี ๒๕๑๖
         หลวงปู่สาย อคฺควํโส มรณภาพลงในปี ๒๕๓๕ ทำให้เสนาสนะทั้งหลายได้ทรุดโทรมลง บางส่วนก็ชำรุดจนไม่สามารถที่จะใช้งานได้
         ถึงปี ๒๕๔๕ สมัยพระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าขนุน พระราชธรรมโสภณ  รักษาการเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระเทพเมธากร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี) ได้มีบัญชาให้พระใบฎีกาเล็ก สุธมฺมปญฺโญ (ปัจจุบันคือ พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน) มาพัฒนาวัดท่าขนุน ให้มีเสนาสนะที่สมบูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

วัดท่าขนุนมีเจ้าอาวาสมาแล้ว ๖ รูป ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ลำดับที่ ๑ พระอธิการพุก อุตฺตมปาโล ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙
ลำดับที่ ๒ พระอธิการเต๊อะเน็ง โอภาโส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๔
ลำดับที่ ๓ พระครูสุวรรณเสลาภรณ์ (สาย อคฺควํโส) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๕
ลำดับที่ ๔ พระอธิการสมเด็จ วราสโย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑
ลำดับที่ ๕ พระสมุห์สมพงษ์ เขมจิตฺโต ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๑
ลำดับที่ ๖ พระครูวิลาศกาญจนธรรม
, ดร. (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๑ ถึง ปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : วิสุงคามสีมาวัดท่าขนุน (86.21 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : แผนผังวัดท่าขนุน (53.85 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : แผนที่เดินทางไปวัดท่าขนุน (592.98 kb)

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูวิลาศกาญจนธรรม สุธมฺมปญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 10-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-09-2566

พระปลัดอาทิตย์ ชุตินฺธโร

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 31-01-2565

พระมหาอุตรา อุตฺตโร

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2566

พระใบฎีกาอมรชัย เมตฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 31-01-2565

พระมหาภูมินทร์ ฐิตญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระมหากว้าง ญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 31-01-2565

พระมหาอินทรปกรณ์ ฐิตสุโภ

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2566

พระมหากวินฬพัฒน์ อิสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2566

พระมหาชลธี ธมฺมวโร

ข้อมูลเมื่อ : 17-03-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2566

พระมหานันทวัฒน์ อคฺคธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-07-2566

พระมหาสราวุธ ปญฺญาวุฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระมหาเอกชัย สุทฺธิธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 17-03-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 08-04-2565

พระสมุห์ณัฐพสิษฐ์ ปญฺญาคโม

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระพัฒน์ ฐิตาจาโร

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระศิระ จิตฺตสุโภ

ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-03-2565

พระพีระวิทย์ ชิตมาโร

ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-04-2567

พระวีรพล ฐิตเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระอ่อง ทีฆายุโก

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระสุบรรณลักษณ์ ปญฺญาวุฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-01-2566

พระยุทธพิชัย กลฺยาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระกรกฤต ฐิตสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระสรายุทธิ์ ปณฺฑิโต

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระสรวิชญ์ ธีรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 24-03-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 24-03-2565

พระวสุพล อภิปุญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระอนัน ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระอัศนีย์ โฆสทินฺโน

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระพงษ์สิทธิ์ สนฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระกวีวัธน์ สทฺธาธิโก

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระอัครพงศ์ ปญฺญวนฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระชัชวาล ครุธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระจิรายุ ชุติปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 17-03-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 21-03-2565

พระกานต์ สุทฺธจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 07-03-2565

พระสิงห์คำ สุทินฺโน

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระณารัณย์ อํสุการี

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-03-2565

พระวุฒินันท์ นาควโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-03-2565

พระมานพ ฐานุตฺตโม

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-12-2565

พระวุฒิชัย คุณวุฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-12-2565

พระณัฐวัฒน์ จิรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 17-03-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-12-2565

พระทินรัชต์ อตฺตคุตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-12-2565

พระโชคชัย กิตฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-12-2565

พระสุรศักดิ์ อินฺทโก

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-12-2565

พระนุติพงษ์ อาจาโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-12-2565

พระจิตติพัฒน์ อินฺทปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-12-2565

พระอนุชิต สุจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-12-2565

พระศตวรรธน์ กุสโล

ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 10-12-2565

พระรณชิต ฐานิโย

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระมนูรักษ์ ฐิตคุโณ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระชุมพล โสภโณ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระ​มอเอ กิตฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 17-03-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระอาทิตย์ อสโม

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระราวิน อรุโณ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระปิยะศักดิ์ มุนินฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

พระนรภัท ฐิติโก

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

ดร. แม่ชีกุลภรณ์ แก้ววิลัย

ข้อมูลเมื่อ : 28-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

แม่ชีชื่น ศรีสองแคว

ข้อมูลเมื่อ : 15-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

แม่ชีลัดดา เนตรภักดี

ข้อมูลเมื่อ : 15-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

แม่ชีเกสรมณี จารย์ไธสง

ข้อมูลเมื่อ : 15-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

แม่ชีมาลี บุญรักษา

ข้อมูลเมื่อ : 15-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

แม่ชีฉัตรปวีณ์ ครุฑดำ

ข้อมูลเมื่อ : 28-01-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 01-10-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

เทศกาลงานบุญประเพณี

พิธีบรรพชาสามเณ...

วันที่จัดงาน : 31-03-2567

เปิดดู 19 ครั้ง

บวชเนกขัมมะปฏิบ...

วันที่จัดงาน : 12-04-2567

เปิดดู 10 ครั้ง

บวชเนกขัมมะปฏิบ...

วันที่จัดงาน : 24-02-2567

เปิดดู 9 ครั้ง

บวชเนกขัมมะปฏิบ...

วันที่จัดงาน : 29-12-2566

เปิดดู 123 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

สรีระสังขารพระค...

ข้อมูลเมื่อ : 11-10-2564

เปิดดู 1865 ครั้ง

สมเด็จพระสัมมาส...

ข้อมูลเมื่อ : 11-10-2564

เปิดดู 1233 ครั้ง

พระพุทธเจติยคีร...

ข้อมูลเมื่อ : 11-10-2564

เปิดดู 2146 ครั้ง

อุโบสถวัดท่าขนุ...

ข้อมูลเมื่อ : 10-10-2564

เปิดดู 1553 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

เสียงธรรมจากวัด...

ข้อมูลเมื่อ 07-05-2567

เปิดดู 2 ครั้ง

งานแห่หลวงพ่อทอ...

ข้อมูลเมื่อ 05-05-2567

เปิดดู 10 ครั้ง

หิ้วตะกร้า นุ่ง...

ข้อมูลเมื่อ 17-08-2566

เปิดดู 89 ครั้ง

เสาร์ใส่บาตร ตล...

ข้อมูลเมื่อ 17-08-2566

เปิดดู 67 ครั้ง

ชุมชนคุณธรรมต้น...

ข้อมูลเมื่อ 19-06-2566

เปิดดู 167 ครั้ง

พื้นที่ต้นแบบกา...

ข้อมูลเมื่อ 27-11-2564

เปิดดู 395 ครั้ง

สาระธรรม

อานาปานสติเป็นพื้นฐานของกรรมฐานทั้งปวง

ข้อมูลเมื่อ : 07-05-2567

เปิดดู 8 ครั้ง

ทุกข์ วางไม่เป็นก็อย่าแบกสิ จะได้ไม่ต้องวาง

ข้อมูลเมื่อ : 04-05-2567

เปิดดู 19 ครั้ง

การรับข่าว ควรที่จะรับอย่างมีสติ

ข้อมูลเมื่อ : 01-05-2567

เปิดดู 12 ครั้ง

การสรงน้ำพระ

ข้อมูลเมื่อ : 29-04-2567

เปิดดู 16 ครั้ง

สื่อมีเดีย

​หลวงพ่อท...

ข้อมูลเมื่อ : 30-12-2564

เปิดดู 280 ครั้ง

หลวงพ่อพระพุทธล...

ข้อมูลเมื่อ : 30-12-2564

เปิดดู 808 ครั้ง

​หลวงพ่อพ...

ข้อมูลเมื่อ : 30-12-2564

เปิดดู 1346 ครั้ง

หลวงพ่อนาก

ข้อมูลเมื่อ : 30-12-2564

เปิดดู 1410 ครั้ง

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ตักบาตรเทโวและทอดกฐิน

ข้อมูลเมื่อ : 12-11-2564

งานทำบุญวันบูรพาจารย์

ข้อมูลเมื่อ : 12-11-2564

งานทำบุญวันแม่ ๑๒ สิงหาคม

ข้อมูลเมื่อ : 12-11-2564

อุ้มพระสรงน้ำ (Unseen Thailand)

ข้อมูลเมื่อ : 12-11-2564

งานแห่หลวงพ่อทองคำ

ข้อมูลเมื่อ : 12-11-2564

บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

ข้อมูลเมื่อ : 12-11-2564

ทำบุญกับวัด

วัดท่าขนุน ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
เจ้าอาวาส พระครูวิลาศกาญจนธรรม สุธมฺมปญฺโญ
โทร. -

ผู้มีจิตศรัทธา สามารถทำบุญกับวัดโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของวัดหรือ QR-Code ข้างล่างนี้

ธนาคาร ธนาคารกรุงไทย
เลขที่บัญชี 718-0-24461-9
ชื่อบัญชี วัดท่าขนุน

QRCODE เพื่อทำบุญวัด วัดท่าขนุน