เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8344 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8859 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7192 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

พระสังกัจจายน์

รายละเอียด

ประวัติพระสังกัจจายน์

 

 “พระสังกัจจายน์” หรือ “หมีเล่อฝอ(弥勒佛)” หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า “พระสังกัจจายน์โพธิสัตว์” เป็นคำเรียกกันทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งเป็นองค์เดียวกันกับคำเรียกทางพุทธศาสนาฝ่านหินยานคือ “พระอาริย์” (พระศรีอารยเมตไตรย)อันเป็นคติความเชื่อทางพุทธศาสนาที่หมายถึงพระพุทธเจ้า องค์ใหม่ ที่จะบังเกิดมาในอนาคตกาล ณ เวลานั้น เชื่อกันว่า สันติสุขอันแท้จริงจะบังเกิดขึ้นแก่มวลมนุษยชาติ
           รูปลักษณะของพระสังกัจจายน์ (พระศรีอาริย์)ตามแบบคติแบบจีนนั้น จะเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะอ้วนพลุ้ยเปลือยอก มีใบหน้าที่สดชื่นร่าเริง สีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และมักหัวเราะเริงร่าอยู่เสมอ สองหูยาวจรดบ่า มักเห็นท่านในลักษณะท่าทางนั้งอย่างสบายอารมณ์ และปรากฏรูปเด็ก ๆ วิ่งรายล้อม อยู่รอบตัวพระสังกัจจายน์ เด็ก ๆ ที่ปีนป่ายอยู่รอบตัวท่านจะต้องเป็นเด็กผู้ชายจำนวน 5 คน เด็กชาย 5 คนเป็นความหมายแฝงที่หมายถึง “อู่ฝู” (五福)หรือความสุข 5 ประการ อันถือเป็นความสุขที่เที่ยงแท้ของชีวิตมนุษย์
ในตำนานพุทธสาวกทั้ง๘๐ องค์ กล่าวว่า พระสังกัจจายน์ เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา 
ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูลเสด็จกรุงอุชเชนี
กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ๗ คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอน ในที่สุดบรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน หลังจากนั้นทั้ง ๘ ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า
"ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน" 
พระ กัจจายนะจึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก ๗ องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม
หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร 
นับจากนั้นมาพระสังกัจจายน์ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก 
พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง 
พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก
มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์  สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส
เรื่องราวของพระสังกัจจายน์ พอสรุปได้ว่าเป็นพระพุทธสาวกที่มีความเฉลียวฉลาดมีความรู้ และเป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ยิ่ง มีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ จึงได้รับพรจากพุทธสาวก อันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์
เมื่อพูดถึงเรื่องโชคลาภแท้ที่จริงแล้วชาวพุทธเราจำนวนไม่น้อยต่างได้ลาภอันประเสริฐกันทุกคน ลาภอันประเสริฐที่ว่า คือ  "ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" นั่นเองตามบาลีที่ว่า "อโรคฺยาปรฺมา ลาภา"
          ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงเน้นเรื่องโรคทางใจมากกว่าเรื่องโรคทางกายพระองค์สรุปว่า "ผู้ที่ไม่มีโรคทางกายเป็นเวลาหลายปีนั้นพอหาได้ แต่ผู้ที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงชั่วเสี้ยวนาที ก็หาได้ยาก" จึงมีคำกล่าวตามมาที่ว่า "ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ" เช่นกัน
          ในทางพุทธศาสนามหายานนั้น คติการสร้างรูปเคารพพระสังกัจจายน์ หรือ “หมีเล่อฝอ” เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง(ซ้อง) ซึ่งเป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางด้านศิลปะหัตถกรรมจีน รูปเคารพทางพุทธศาสนาจึงถูกนำมาใช้ในความหมายที่ดีแก่ราชสำนักและคหบดีทั่ว ไป ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ภาพวาด จิตรกรรมจีน ประเพณี ประติมากรรมพระสังกัจจายน์ หรือ “หมีเล่อฝอ” จึงถูกนำมาใช้วัฒนธรรมมงคล เป็นสัญลักษณ์แห่งความสุขสมหวังและมีความหมายที่ดีสำหรับใช้เป็นภาพอวยพรให้ แก่กันและกัน เพื่อให้การดำเนินชีวิตใด ๆ สำเร็จสมประสงค์และเพียบพร้อมด้วยปิติสุขตลอดไป

"ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"
           วิธีขอพลัง คือ ตั้งจิตอธิฐาน ใช้มือข้างขวา ลูบที่พุงวนขวาตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ
           ปางที่ดีที่สุดคือ ปางที่เมื่อเราเห็นแล้วเรารู้สึก รัก รู้สึกชอบ เห็นแล้วรู้สึกดี
 
พระอรหันต์ผู้บันดาลโชคลาภ ปัญญา และเมตตามหานิยม         
ชาวพุทธกราบไหว้สักการบูชาพระสังกัจจายน์เพื่อให้บังเกิดความเป็นสิริมงคล 3 ประการแก่ตนเองและครอบครัว ดังนี้

  1. โชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ พระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องให้เป็นพระผู้อุดมด้วยโภคทรัพย์ และลาภสักการะเสมอด้วยพระสิวลี

  2. สติปัญญา เนื่องเพราะพระสังกัจจายน์ได้รับการยกย่องจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศในทางอธิบายความพุทธภาษิต ท่านเป็นอรหันต์ผู้มีปฎิภาณเฉียบแหลม

  3. ความงามและความมีเสน่ห์ เนื่องจากเพราะก่อนที่ท่านจะอธิษฐานจิตให้รูปร่างเปลี่ยนแปลง พระสังกัจจายน์มีผิวดั่งทองคำและมีรูปงามละม้ายเหมือนพระพุทธเจ้า จนแม้แต่เทพยดา พรหม มนุษย์ทั้งปวงพากันรักใคร่ชื่นชม

โดย : วัดท่านางเริง

ที่อยู่ : ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 3682

ปรับปรุงล่าสุด : 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 01:56:05

ข้อมูลเมื่อ : 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 23:01:22

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

หลวงพ่อแดง วัดเกาะวังไทร

โดย : วัดเกาะวังไทร

ข้อมูลเมื่อ : 01-02-2567

เปิดดู : 115

หลวงพ่อโต วัดดอนไก่ดี

โดย : วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 25-12-2566

เปิดดู : 121

พระพิฆเนศ ปางเสวยสุข

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 129

พระพุทธโตรโลกนาถ(หลวงพ่อขาว)

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 130

หลวงพ่อโตทันใจ

โดย : วัดอัมพวนาราม

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู : 193

หลวงพ่อโต ป่าเลไลยก์

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 09-12-2566

เปิดดู : 128