เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

ที่ประดิษฐ์สถาน หลวงพ่อวัดไร่ขิงจำรอง

รายละเอียด

วัดไร่ขิง

ประวัติความเป็นมาในสมัยก่อน ตำนานพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือ ที่เรียกกันว่า หลวงพ่อวัดไร่ขิง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จ.นครปฐม ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา และการสร้างวัดเพื่อเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน กว่าจะเป็นวัดไร่ขิง ที่ได้รู้จักกันจนถึงปัจจุบัน

 ประวัติศาสตร์และความเป็นมา

วัดไร่ขิง สร้างขึ้นโดย  โดยพระธรรมราชานุวัตร (พุก) ขณะที่เป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูนวรวิหาร ไดัรับสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) พร้อมกับชาวบ้านได้ช่วยกันสร้างวัดไร่ขิง ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ และได้ตั้งชื่อตามตำบล และได้ตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า "วัดมงคลจินดาราม " โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ก็เรียกกันว่า"วัดไร่ขิง" จนถึงปัจจุบัน ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗ และ ปี พ.ศ. ๒๔๕๓ โดยประมาณ เป็นต้นมา

ความสำคัญ

ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ กระทรวงศึกษาธิการประกาศลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ แต่เดิมมีฐานะเป็นวัดราษฏร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย

สถานที่สำคัญในวัด

พระอุโบสถ เป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นศาลาทรงไทย ๔ มุข ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถมีศาลามีจตุรมุข มีมณฑปกลางสระน้ำ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง

 พระพุทธรูปที่สำคัญ

องค์หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ สันนิษฐานกันว่าเป็นศิลปะสมัยล้านนาและล้านช้าง ขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้วเศษ สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้วเศษ จากตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า มีพี่น้องชาวเมืองเหนือ ๕ คนหลังจากที่ได้บวชเป็นภิกษุแล้วศึกษาธรรมสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ชาตินี้เกิดมาขอสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์จนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน เมื่อพระอริยะบุคคลทั้ง ๕ ได้ดับขันธ์ไปแล้ว ก็ได้สถิตในพระพทธรูปทั้ง ๕ ลอยไปตามแม่น้ำทั้ง ๕ สาย

  • พระพุทธรูปองค์ที่ ๑ จากแม่น้ำบางปะกง ได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ ที่วัดโสธรวรวิหาร เมืองแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เรียกกันว่า "หลวงพ่อโสธร"
  • พระพุทธรูปองค์ที่ ๒ จากแม่น้ำนครชัยศรี (ท่าจีน) ได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ วัดไร่ขิง เมืองนครชัยศรี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง"
  • พระพุทธรูปองค์ที่ ๓ จากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ ที่วัดบางพลี เรียกกันว่า "หลวงพ่อวัดบางพลี" เรียกว่า "หลวงพ่อโตวัดบางพลี "
  • พระพุทธรูปองค์ที่ ๔ จากแม่น้ำแม่กลอง ได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ ที่วัดบ้านแหลม เมืองแม่กลอง เรียกว่า "หลวงพ่อวัดบ้านแหลม"
  • พระพุทธรูปองค์ที่ ๕ จากแม่น้ำเพชรบุรี ได้อัญเชิญและประดิษฐานไว้ ที่วัดเขาตะเคราเมืองเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"

โดย : วัดบางแม่หม้าย

ที่อยู่ : ต.บางใหญ่ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 231

ปรับปรุงล่าสุด : 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 07:42:47

ข้อมูลเมื่อ : 21 มกราคม พ.ศ. 2565 10:58:09

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

หลวงพ่อแดง วัดเกาะวังไทร

โดย : วัดเกาะวังไทร

ข้อมูลเมื่อ : 01-02-2567

เปิดดู : 116

หลวงพ่อโต วัดดอนไก่ดี

โดย : วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 25-12-2566

เปิดดู : 122

พระพิฆเนศ ปางเสวยสุข

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 129

พระพุทธโตรโลกนาถ(หลวงพ่อขาว)

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 130

หลวงพ่อโตทันใจ

โดย : วัดอัมพวนาราม

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู : 195

หลวงพ่อโต ป่าเลไลยก์

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 09-12-2566

เปิดดู : 128