เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดใหม่ปิ่นเกลียว

รหัสวัด
2730111001

ชื่อวัด
วัดใหม่ปิ่นเกลียว

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500

ที่อยู่
วัดใหม่ปิ่นเกลียว

เลขที่
68

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
มาลัยแมน

แขวง / ตำบล
นครปฐม

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
32 ไร่ 3 งาน 11 ตารางวา

Line
gatagussalo9120

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0895506568

โทรศัพท์
034258711

อีเมล์
pinkieng2_012@hotmail.co.th

จำนวนเข้าดู : 2907

ปรับปรุงล่าสุด : 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 22:19:14

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 19:58:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดใหม่ปิ่นเกลียว
ตำบลนครปฐม  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม
 
        วัดใหม่ปิ่นเกลียว  ตั้งอยู่เลขที่ ๖๘ หมู่  ๓  ตำบลนครปฐม  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม   โดยมีเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี ( ขำ บุนนาค )  เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ  พ.ศ. ๒๓๙๖    สมัยที่ท่านเป็นนายช่างใหญ่ควบคุมดำเนินการก่อสร้างองค์พระปฐมเจดีย์องค์ใหญ่ ท่านเจ้าพระยาฯ   ได้สร้างวัดขึ้นในเนื้อที่ดินของท่านแล้วมอบให้เป็นสมบัติของคุณหญิงหนู   ซึ่งเป็นภริยาของท่านดูแล  คุณหญิงหนูดูแลเรื่อยมาจนสิ้นบุญ  เมื่อคุณหญิงหนูสิ้นบุญแล้ว  ก็มีหม่อมเจ้าหญิงจงกลณีเป็นผู้ดูแลวัดนี้เรื่อยมาจนท่าน  สิ้นบุญ เมื่อหม่อมเจ้าหญิงจงกลณีสิ้นบุญแล้วก็ขาดการติดต่อกันจากนั้นเป็นต้นมา  และวัดนี้ก็ตกอยู่ในการ ดูแลของชาวบ้านในละแวกนี้ตลอดมาจึงปัจจุบันนี้

รายนามเจ้าอาวาส

๑.  หลวงปู่นาค  ไม่ปรากฏ วัน เดือน ปี พ.ศ.  ที่เป็นเจ้าอาวาส  “ตามคำบอก  เล่าของชาวบ้าน”
๒.  หลวงปู่หุ่น  ไม่ปรากฏ วัน เดือน ปี พ.ศ.  ที่เป็นเจ้าอาวาส  “ตามคำบอก  เล่าของชาวบ้าน”
๓.  หลวงปู่เขียว  ไม่ปรากฏ วัน เดือน ปี พ.ศ.  ที่เป็นเจ้าอาวาส  “ตามคำบอก  เล่าของชาวบ้าน”
๔.  หลวงปู่แคล้ว ไม่ปรากฏ วัน เดือน ปี พ.ศ.  ที่เป็นเจ้าอาวาส  “ตามคำบอก  เล่าของชาวบ้าน”
๕.  หลวงปู่ไพร ไม่ปรากฏ วัน  เดือน  ปี พ.ศ.  ที่เป็นเจ้าอาวาส  “ตามคำบอก  เล่าของชาวบ้าน”
๖.  หลวงปู่แม้น ได้รับแต่งตั้งเมื่อประมาณ  พ.ศ. ๒๔๙๒  เมื่อได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้แล้วก็ได้รับรวบรวมจัดทำโฉนดที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ
      การปกครองโดยถูกต้องตามกฏหมาย  และได้จัดสร้างเสนาสนะภายในวัด
๗.  หลวงปู่พูน เกสโร  ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  
      เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๘ - พ.ศ.๒๕๐๙
๘.  พระครูปราการลักษาภิบาล (สมพงษ์ ธีรธมฺโม) ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส 
     เมื่อวันที่  ๒  เมษายน พ.ศ.๒๕๑๐ - ถึงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖
๙. พระปลัดพลาธิป กตกุสโล  ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส
     เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๖ - ถึงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖
๑๐.พระปลัดพลาธิป กตกุสโล  ได้รับการแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
     เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ปัจจุบัน

ที่ดินเป็นธรณีสงฆ์
       ทั้งหมด  ๙๔  ไร่  แบ่งเป็นที่ตั้งวัด  ๓๒  ไร่  ๓  งาน  ๑๑  ตารางวา   ได้อนุญาตให้ทางราชการใช้ส่วนหนึ่งเป็นสถานศึกษา คือ กรมการฝึกหัดครู (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)  จำนวน ๔๘ ไร่ ๒ งาน  ตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์  และให้กรมสามัญศึกษาสร้างโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา  ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยม  จำนวน ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๘๙  ตารางวา ตั้งอยู่ในที่วัด
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
       พื้นที่ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่  ๙๔  ไร่   ตามหนังสือโฉนดที่ดินเลขที่  ๑๔๕  มีอาณาเขตดังนี้  คือ
            ทิศเหนือ         จรดที่มีการครอบครอง  ( คลองเจดีย์บูชา )
            ทิศใต้             จรดที่มีการครอบครองเลขที่  ๘
            ทิศตะวันออก    จรดที่มีการครอบครองเลขที่  ๔๔
            ทิศตะวันตก      จรดถนนนครปฐม – สุพรรณบุรี ( มาลัยแมน )
เส้นทางไปวัดใหม่ปิ่นเกลียว
       จากตัวจังหวัดนครปฐมไปทางทิศตะวันตก  ไปตามถนนมาลัยแมนข้ามทางรถไฟ  วัดอยู่หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
อาคารเสนาสนะต่างๆ มี
       อุโบสถ ( หลังเก่า ) กว้าง ๑๓.๖๐ เมตร ยาว ๒๑.๖๐ เมตร  สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.  ๒๔๐๐
       อุโบสถ ( หลังใหม่ )   กว้าง  ๑๖.๓๐  เมตร   ยาว  ๓๓  เมตร   สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๔
       ศาลาการเปรียญ   กว้าง  ๒๐  เมตร   ยาว  ๒๒  เมตร   สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๑๒   และต่อเติมขึ้นมาใหม่  รวมทั้งหลังเก่าและหลังใหม่  กว้าง  ๓๗  เมตร 
ยาว  ๓๘  เมตร
       ฌาปนสถาน ( เมรุ   และศาลาบำเพ็ญกุศลประจำเมรุ   และสุสาน )   กว้าง  ๑๕.๖๐  เมตร       ยาว  ๓๓.๒๐  เมตร
ปูชนียวัตถุของวัด
       ๑. พระประธานประจำอุโบสถหลังใหม่  เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่  ปางมารวิชัยเป็นพระ
 พุทธชินราชจำลอง  สร้างด้วยโลหะหล่อ  มีขนาดสูง  ๘  ศอก  หน้าตักกว้าง  ๕  ศอก ๙ นิ้ว สร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๓๕
      ๒. พระพุทธนิมิตมงคล ปางสุโขทัย จำนวน ๑ องค์  สร้างด้วยปูนปั้นขนาดหน้าตัก ๔๙ นิ้ว
      ๓. รูปหล่อเหมือนหลวงปู่พูน  เกสโร  อดีตเจ้าอาวาส  สร้างด้วยปูนปั้น หน้าตักกว้าง ๒๕ นิ้ว  สร้างไว้   เมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๑
              มีพระภิกษุ – สามเณรจำพรรษา    ประมาณปีละ  ๔๐-๕๕  รูป
      
 
********************************
 
 ประวัติ
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
( ขำ  บุญนาค )

ผู้สร้างวัดใหม่ปิ่นเกลียว  จังหวัดนครปฐม
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

นามบรรดาศักดิ์เต็ม

       “เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  มหาโกษาธิบดี   นานาไพรัชไมตรีบริรักษ์   ยุติธรรมพิทักษ์ราชศักดานุการราชสมบัติ  สารพิพัฒน์ประทุมรัตนมุรธาธร   พิพิธกุศลจริยาภิยาศรัย   อภัยพิริยปรากรมพาหุ”     และได้รับพระราชทานน้ำสังข์   สุพรรณบัฎ  มาลาเสาสเทิน  เสื้อจีบ  แหวนนพเก้า  สังข์เลี่ยมทอง  ก้องยาแดงตลับประดับเพชร 
        เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มีนามว่า ขำ เป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ   บุนนาค)   และหม่อมรอด   และเป็นน้องต่างมารดากับ  สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์   (ช่วง  บุนนาค)   เกิดเมื่อวันศุกร์  ขึ้น  ๗  ค่ำ  เดือน  ๑๑  ปีระกา  จ.ศ.  ๑๑๗๕   เวลาเช้า  ตรงกับวันที่  ๑  เดือนตุลาคม  พ.ศ.  ๒๓๕๖   ในสมัยรัชกาลที่  ๒   แห่งกรุงรัตนโกสินทร์   ท่านมีน้องชายร่วมมารดาเดียวกันอยู่คนหนึ่ง  ชื่อ  พุก   บุนนาค

ตำแหน่งหน้าที่ราชการ

       ได้เริ่มเข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่  ๓    และเจริญรุ่งเรืองในตำแหน่งหน้าที่โดยลำดับดังนี้ คือ.-
  • นายพลพัน   มหาดเล็กหุ้มแพร
  • จมื่นราชามาตย์พลขันธ์   ตำแหน่งปลัดกรมพระตำรวจ
  • ในสมัยรัชกาลที่  ๔ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปช่วยราชการในตำแหน่งเจ้าพระยาผู้ช่วยในกรมท่า    เมื่อ พ.ศ.  ๒๓๙๔  (คือกระทรวงการต่างประเทศในปัจจุบัน)
  • เจ้าพระยารวิวงศมหาโกศาธิบดี  ตำแหน่งเจ้าพระยาจตุสดมภ์ในกรมท่า  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๙๖ 
  • เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ มหาโกษาธิบดี  (เปลี่ยนราชทินนามใหม่)  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๐๘ 
  • ในสมัยรัชกาลที่  ๕   ได้รับโปรดเกล้า ฯ   ให้สถาปนาเป็นผู้มีอำนาจสำเร็จราชกิจในการต่างประเทศและเป็นที่ปรึกษาคิดอ่านราชการแผ่นดิน ได้รับพระราชทานศักดินาและเครื่องยศอย่างสมเด็จเจ้าพระยา

งานช่วยราชการที่สำคัญยิ่ง

       ในสมัยรัชกาลที่  ๓   สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  ( ช่วง   บุนนาค )  กับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์   ( ขำ   บุนนาค )    ได้ปรึกษาร่วมกัน  และมีความเห็นก่อนที่บิดาของท่าน  คือ  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  ( ดิศ   บุนนาค )   ว่า  “ถ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  สวรรคต  ราชสมบัติจะต้องได้แก่  สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏสมมุติเทววงศ์ ฯ   บ้านเมืองจึงจะเป็นปกติสุข  สืบต่อไป”  ดังนั้น  อาศัยเหตุดังกล่าวมา  เมื่อถึงคราวที่  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๓   ทรงพระประชวร  จวนจะเสด็จสวรรคตนั้น   ณ   วันอังคารที่  ๒๕   มีนาคม  พ.ศ.  ๒๓๙๔  ท่านยังเป็นที่จมื่นราชามาตย์พลขันธ์  ได้รับบัญชามอบหมายจากอัครเสนาบดีผู้ใหญ่  มีเจ้าฟ้ามงกุฏสมมุติเทววงศ์พงศอดิศรกษัตริย์  ที่วัดบวรนิเวศวิหาร  กราบทูลเชิญให้ทรงรับรองการขึ้นครองสิริราชสมบัติเป็นปฐมเหตุ
       เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตแล้ว รุ่งขึ้นวันที่  ๓  เมษายน  พ.ศ. ๒๓๙๔  บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์   และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่  ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน  อันมีเจ้าพระยาพระคลัง  ( ดิศ   บุนนาค )  ว่าที่สมุหกลาโหมและพระยาราชสุภาวดี  ว่าที่สมุหนายก  จึงได้ประชุมพร้อมกันแล้วมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้ไปกราบทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏสมมุติเทววงศ์ ฯ พงศอดิศรกษัตริย์  ขัตติยราชกุมาร   ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่   ณ  วัดบรนิเวศวิหาร  กลับมาครองสิริราชสมบัติ  สืบราชวงศ์จักรีต่อไปเป็นลำดับที่  ๔  สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ ฯ  จึงได้ทรงลาผนวช  แล้วเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ   เมื่อวันที่  ๔  เมษายน  พ.ศ.  ๒๓๙๔   ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔

ในสมัยรัชกาลที่  ๔

       เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ได้ทำการใหญ่ ๆ   ที่เป็นคุณแก่แผ่นดินไว้มากมายหลายอย่าง  ซึ่งจะนำกล่าวไว้เพียงเฉพาะกรณียกิจบางประการ   ซึ่งท่านได้กระทำไว้ในจังหวัดนครปฐม  ดังนี้คือ.-
.   บูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์
       พ.ศ.  ๒๓๙๘   เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์  ( ดิศ   บุนนาค )   ผู้เป็นแม่กองงานปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ได้ถึงแก่พิราลัยแล้ว   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔   ได้โปรดเกล้า ฯ   ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ( ซึ่งขณะนั้น  ยังเป็นเจ้าพระยารวิวงศ์ )  เป็นแม่กองงานปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์สืบต่อไป   เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ได้ดำเนินการปฏิสังขรณ์หุ้มพระเจดีย์องค์เดิมที่เป็นรูปบาตรคว่ำยอดปรางค์    เปลี่ยนรูปเป็นพระเจดีย์ใหญ่   มีพุทธบัลลังก์ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนระฆัง  มียอดนภศูลพระมหามงกุฏสวมไว้บนยอดพระปฐมเจดีย์   ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีส้มงดงามมากแวววาว  มีขนาดสูง  ๓  เส้น  ๑  คืบ  ๖  นิ้ว   หรือ  ๖๐  วา  ๑  คืบ  ๖  นิ้ว   ( ๑๒๐.๔๕  เมตร )    ฐานโดยรอบ   
ยาว  ๕  เส้น  ๑๗  วา  ๓  ศอก ( ๒๓๕.๕๐  เมตร )   ในทิศทั้ง  ๔  ขององค์พระปฐมเจดีย์มีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ  และมีพระระเบียงวิหารคต  เชื่อมต่อกันทั้ง  ๔  วิหาร  รอบพระมหาเจดีย์  ภายในวิหารคต  ได้จดจารึกคาถาธรรม  เป็นอักษรขอม  โดยใช้ปูนปั้น มีด้านละ ๓๐  ห้อง  รวม  ๑๒๐  ห้อง 
รอบนอก มีหอระฆังรายรอบ  ด้านละ  ๖  หอ  รวม ๒๔  หอ
       ที่ชั้นล่างลงไป  ได้ก่อกำแพงถมดินทำเป็นกะเปาะขึ้นมาทั้ง  ๔  ทิศ
       บนกะเปาะด้านทิศตะวันออก  สร้างศาลาโรงธรรม  และโรงพระอุโบสถ  ตรงที่ตั้งอุโบสถเก่าประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาขาว  ปางปฐมเทศนา   ซึ่งได้มาจากวัดทุ่งพระเมรุ ( วัดร้าง )
       บนกะเปาะด้านทิศใต้   ได้สร้างจำลองรูปพระปฐมเจดีย์องค์เดิม  และสร้างจำลองพระเจดีย์เมืองนครปฐมศรีธรรมราช ( เข้าใจว่าจะเป็นรูปแบบในการคิดทำโครงสร้างองค์พระปฐมเจดีย์ )
       บนกะเปาะด้านทิศตะวันตก   ได้ปลูกต้นไม้สำคัญที่ปรากฏในพุทธประวัติ   เช่น   ต้นศรีมหาโพธิ์   ไม้ไทร  ไม้เกตุ  ไม้หว้า
       บนกะเปาะด้านทิศเหนือ   ได้สร้างโรงคลังสำหรับเก็บสิ่งของ   และโรงประโคม
       ระหว่างกะเปาะทำเป็นภูเขาทั้ง  ๔  ทิศ   หน้าภูเขาออกมามีรั้วเหล็กล้อมชั้นหนึ่ง   แต่การก่อสร้างและการตกแต่ง  ยังไม่ทันแล้วเสร็จ  หน้ารั้วเหล็กออกมา  ทำเป็นฐานชุกชีปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั้ง ๔ ทิศหน้าชานพระศรีมหาโพธิ์ออกมา  ชักกำแพงปีกกา  มีหลังคาพอคนอาศัยได้  บรรจบออกมาทั้ง ๔  ทิศ  ที่มุมปีกกามีหอกลอง หอระฆัง สลับกันทั้ง ๔ มุมที่บริเวณลานด้านเหนือ  ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นไว้ จำนวน ๒๔ หลัง
.   ก่อสร้างพระราชวังปฐมนคร
       และในการที่ได้ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์   เพื่อสนองตามกระแสพระบรมราชโองการเป็นวัตถุประสงค์อันสำคัญยิ่งนี้  เจ้าพระยาทิพากรวงศ์   ยังได้รับสนองพระบรมราชโองการให้เป็นแม่กองงาน  และมีกรมขุนราชสีหวิกรม  ( พระองค์เจ้าชุมสาย ฯ )  เป็นนายช่าง  ดำเนินการก่อสร้างพระราชวังขึ้นทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระปฐมเจดีย์  แห่งหนึ่ง  พระราชทานนามว่า  “พระราชวังปฐมนคร”  สำหรับเป็นที่ประทับเวลาเสด็จฯ   ออกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์  เหมือนอย่างพระราชวัง  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา  ทรงสร้างไว้ที่พระพุทธบาทฉะนั้น
       พระราชวังปฐมนครนี้ เป็นตึก ๒ ชั้นเป็นที่ประทับหลังใหญ่องค์หนึ่ง หลังเล็กสององค์มีท้องพระโรง  และพลับพลา  กับโรงละคร  ทั้งตำหนักเรือนจันทน์ฝ่ายใน  ก่อกำแพงมีเพิงรอบเขตพระราชวัง  ข้างภายนอกพระราชวัง  มีโรงม้า โรงช้าง และมีตึกที่ประทับสำหรับเจ้านาย   และที่พักสำหรับข้าราชการผู้ใหญ่อยู่รายรอบตามฝั่งคลองเจดีย์บูชาอีกหลายหลัง เมื่อการก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อยแล้ว  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ก็ได้เสด็จมาประทับพักแรม  ทุกครั้งที่เสด็จออกมานมัสการพระปฐมเจดีย์  จนกระทั่งถึงสมัยรัชการที่ ๕ ก่อนที่จะสร้างทางรถไฟมาถึงตำบลพระปฐมเจดีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ก็ยังได้เสด็จฯ   ออกมาประทับพักแรมอีกหลายครั้ง
.   ขุดคลองเจดีย์  บูชา
       เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ได้รับสนองพระราชโองการ  ให้ทำการขุดคลองสายที่  ๑  ประมาณในปี  พ.ศ.  ๒๓๙๘  ตั้งแต่ตำบลท่านา  อำเภอนครชัยศรี   เข้ามาถึงบริเวณพระราชวังปฐมนคร ( สำนักเทศบาลเมืองนครปฐม )   และเลยไปจนถึงวัดพระงาม   โดยขุดตามแนวบริเวณที่ได้กำหนดและถางพื้นที่ไว้ก่อนแล้ว   เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๓๙๖   มีความยาว   ๔๔๘  เส้น   กว้าง  ๕ - ๘  วา  สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน  ๘๐๔  ชั่ง  ๑๐  ตำลึง  ๓  บาท  ๒  สลึง   พระราชทานนามว่า  “คลองเจดีย์บูชา”
.   ขุดคลองมหาสวัสดิ์
       เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ได้รับสนองพระราชโองการ   ให้ทำการขุดคลองสายที่  ๒  เชื่อมต่อกับคลองเจดีย์บูชา   เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๐๐ - ๒๔๐๓     โดยเริ่มขุดตั้งแต่วัดชัยพฤกษมาลา  ไปจนถึงแม่น้ำเมืองนครชัยศรี  (ท่าจีน )   มีความยาว  ๖๘๔  เส้น  กว้าง  ๗  วา  ลึก  ๖  ศอก  สิ้นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน         ๑,๑๐๑  ชั่ง  ๑๐  ตำลึง  ขุดทะลุถึงกัน  เมื่อวันที่  ๑๓  เมษายน  พ.ศ. ๒๔๐๓  พระราชทานนามว่า  “คลองมหาสวัสดิ์”
       ๕.   สร้างวัดใหม่ปิ่นเกลียว ( วัดใหม่มุสิการาม )
       วัดใหม่ปิ่นเกลียวตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน  กิโลเมตรที่  ๔  ตรงข้ามกับ  สถาบันราชภัฏนครปฐมเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ( ขำ   บุนนาค )   ในขณะที่ยังเป็นแม่กองงานใหญ่ปฏิสังขรณ์องค์ประปฐมเจดีย์ได้มีกุศลศรัทธาในพระพุทธศาสนา  สร้างขึ้นไว้ให้เป็นอนุสรณ์  สำหรับท่านผู้หญิงหนู  ผู้เป็นภรรยาประมาณในปี  พ.ศ.  ๒๔๐๐  และตั้งชื่อวัดไว้ว่า  “วัดใหม่มุสิการาม”  แปลว่า   วัดของท่านผู้หญิงหนู    เพราะคำว่า มุสิการาม  แยกศัพท์เป็น  มุสิก  แปลว่า  หนู  คำหนึ่ง  และอาราม  แปลว่า  วัด คำหนึ่ง  แต่ชาวบ้านทั่วไป  ที่รู้จักชื่อหมู่บ้าน  ปิ่นเกลียว  มีมากกว่า    จึงเรียกชื่อวัดตามหมู่บ้านนั้นว่า  วัดใหม่ปิ่นเกลียว
       และก่อนหน้านี้  ท่านก็ได้สร้างวัดไว้แห่งหนึ่ง  ในกรุงเทพฯ  ฝั่งธนบุรีให้เป็นอนุสรณ์  สำหรับเจ้าจอมแย้ม  ผู้เป็นภรรยาคนที่หนึ่ง  มีชื่อว่า  “วัดดอกไม้”   ซึ่งต่อมาได้ถวายเป็นพระอารามหลวง  และเปลี่ยนชื่อเป็น  “วัดบุบผาราม”
       สำหรับวัดใหม่ปิ่นเกลียวนี้   มีถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นไว้ในสมัยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ที่ยังปรากฏอยู่จนถึงสมัยปัจจุบันนี้ คือ  เจดีย์  อุโบสถ  และวิหาร  เท่านั้น  อุโบสถ  และวิหาร  ที่เป็นของเดิมมีขนาด  ๑๓.๖๐  ´  ๒๑.๖๐  เมตร   ( กว้าง ´  ยาว )  เท่ากันทั้งสองหลัง    มีรูปทรงคล้ายกันกับอาคารศาลาโรงธรรมที่องค์พระปฐมเจดีย์   ซึ่งสร้างขึ้นไว้ในสมัยเดียวกันดังปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์   ระยะทางเสด็จประพาสไทรโยค  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๕   ปีฉลู  จุลศักราช  ๑๒๓๙  ( พ.ศ.  ๒๔๒๐ )  ใจความตอนหนึ่งว่า  “เมื่อจากพระปฐมเจดีย์สัก  ๑๐๐  เส้นเศษถึงวัดใหม่ท่านผู้หญิงหนู    อยู่ข้างทางขวามือ   มีโบสถ์สองหลัง   ที่เฉลียงเห็นก่อเป็นโครงสูง  ๆ   ดูเหมือนวัดฝรั่ง 
ตามทางตั้งแต่พระปฐมเจดีย์  ไปทางสัก  ๑๗๐  เส้น  ๑๘๐  เส้น   มีชาวจีนทำไร่ไปตลอดทั้งสองข้างทาง มีไร่ยาบ้าง  ไร่แลงลักบ้าง  ข้าวโพดบ้าง  บางแห่งเป็นไน้หน่า    แต่  กล้วยมีมาก  ดูเป็นดงไปทั้งนั้น  แล้วยังพบอิฐเก่า ๆ ทิ้งข้างทางบ่อย ๆ”
       เฉพาะอาคารอุโบสถเดิม   ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๐๘   ส่วนอาคารวิหารเดิม  ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๔   ทางวัดได้ดำเนินการรื้อถอนออก   แล้วก่อสร้างอาคารอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนที่   ลักษณะแบบศิลปะทรงไทยประยุคปัจจุบัน  มีขนาดกว้าง  ๑๖.๓๐ ´ ๓๓.๐๐  เมตร  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๒๖   เดือน  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๕๓๘    และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในวันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๔๐

ชีวิตสมรส    

       เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ได้สมรสกับเจ้าจอมแย้ม ผู้ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระราชทานให้เป็นภรรยาแต่ไม่มีบุตร เจ้าจอมแย้ม  เป็นธิดาของพระหฤไทย ( บุญคง ) กับท่านจุ้ย
       ได้สมรสเป็นครั้งที่สองกับ  ท่านผู้หญิงหนู   แต่ก็ไม่มีบุตรเช่นเดียวกัน    ท่านผู้หญิงหนูเป็นธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี  ( พัฒน์ )  จางวางเมืองนครศรีธรรมราช
       เจ้าพระยาทิพากรวงศ์   ผู้สำเร็จราชการต่างประเทศ   ได้ป่วยเป็นโรคนิ่วพิการ  และได้ถึงแก่พิราลัย  เมื่อวันที่  ๑๒  มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๔๑๓   เวลาบ่ายโมง  ๑
       พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่  ๕   ได้เสด็จพระราชดำเนิน  พระราชทานน้ำศพ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์  เมื่อวันที่  ๑๒   มิถุนายน  พ.ศ.  ๒๔๑๓   เวลาบ่าย   ๔  โมงเศษ   และเสด็จพระราชทานเพลิงศพ   เมื่อวันที่  ๗  กันยายน  พ.ศ.  ๒๔๑๓
 
 
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
 
 

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระปลัดพลาธิป กตกุสโล

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-07-2566

พระชัยวัฒน์ อนาวิโล

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระครูใบฏีกาตระกูล ขนฺติธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-04-2567

พระสุบิน สุปิโน

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระมรินทร์ อิสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระครูใบฎีกาวรินทร วีรชโย

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 08-03-2567

พระมนตรี วิโรจนวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระนิโรธ อตฺถกโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 08-02-2565

พระมหามนศักดิ์ มนธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 08-08-2566

พระมหาปรีชา กิจฺจธโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระสุทัศน์ สุธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระชนชนะ ชินวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระเวชพิสิฐ วิสิฐฺโฐ

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระจิรพงศ์ อภิวโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระปฏิภาณ ธมฺมธโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระมหาอภิศักดิ์ ธมฺมสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระยุทธนา ยสชาโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระสมจิต สนฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระวรวิทย์ วรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระประยงค์ ธมฺมปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระมหาชูเกียรติ อาภากโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระมหากนก กนฺตวีโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระวิสูตร วิสุทฺโธ

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 25-07-2566

พระเอกชัย ธมฺมรโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 25-07-2566

พระสุวิทย์ สุวฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระสุทัศน์ สุทนฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 14-02-2567

พระนิติธร ฐานธโร

ข้อมูลเมื่อ : 05-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

เทศกาลงานบุญประเพณี

ทอดกฐินสามัคคี ...

วันที่จัดงาน : 30-10-2564

เปิดดู 436 ครั้ง

วันสารทไทย

วันที่จัดงาน : 06-10-2564

เปิดดู 198 ครั้ง

ทำบุญออกพรรษา

วันที่จัดงาน : 21-10-2564

เปิดดู 153 ครั้ง

ตักบาตรเทโวโรหณ...

วันที่จัดงาน : 22-10-2564

เปิดดู 366 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

พระประธานประจำอ...

ข้อมูลเมื่อ : 21-01-2565

เปิดดู 152 ครั้ง

อุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 21-01-2565

เปิดดู 1787 ครั้ง

วิหาร (อุโบสถ ห...

ข้อมูลเมื่อ : 14-10-2564

เปิดดู 178 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด