เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1454 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1623 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8323 รูป
สามเณร
291 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8833 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7171 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
9 รูป
ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดบางเเก้ว
รหัสวัด
๐๒๗๓๐๓๐๕๐๐๑
ชื่อวัด
วัดบางเเก้ว
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2340
วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2513
ที่อยู่
ตำบลบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดยนครปฐม
เลขที่
๓๒
หมู่ที่
๔
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
บางแก้ว
เขต / อำเภอ
นครชัยศรี
จังหวัด
นครปฐม
ไปรษณีย์
๗๓๑๒๐
เนื้อที่
๒๒ ไร่ ๒ งาน ๓๘ ตารางวา
Facebook
คลิกดู
มือถือ
๐๘๔-๓๙๘๒๓๒๑
โทรศัพท์
๐๓๔-๓๓๑๙๑๑
คุณสมบัติวัด
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
จำนวนเข้าดู : 945
ปรับปรุงล่าสุด : 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564 21:58:26
ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 20:11:10
ประวัติความเป็นมา
วัดบางแก้ว
วัดบางแก้วเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๒๐ ปัจจุบันพระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดบางแก้วอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดไทร โดยอยู่กันคนละฝั่งคลองบางแก้วมีสะพานเชื่อมถึงกัน วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2513
ด้านการศึกษา ทางวัดสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมโดยพระครูศีลกันตาภรณ์และศิษยานุศิษย์ ได้สร้างถวายเมื่อ พ.ศ. 2538 ใช้เป็นสถานที่ศึกษา การจัดการเรียนการสอน แต่ในปัจจุบันได้ย้ายไปสอนที่วัดไทร เพราะมีจำนวนผู้เรียนน้อยลง
อุโบสถ ยังไม่มีการจารึกว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่อุโบสถสร้างด้วยศิลปะรัตนโกสินทร์ หน้าบันมีการตกแต่งลงลวดลายอย่างเรียบง่าย หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันมีการประดับด้วยลายไทย
พื้นที่ที่ตั้งวัด ๒๒ ไร่ ๒ งาน ๓๘ ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ จรด โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครปฐม (ปรกแก้ววิทยา)
- ทิศใต้ จรด คลองบางแก้วและวัดไทร
- ทิศตะวันออก จรด หมู่บ้านบางแก้วโดยมีลำคลองเป็นเขต
- ทิศตะวันตก จรด หมู่บ้านวัดสิงห์
ความเป็นมาเดิม
วัดบางแก้ว เดิมชื่อว่า วัดมะขวิด เหตุที่มีชื่ออย่างนี้คงสร้างวัดในป่าไปมะขวิด หรือหมู่บ้านนี้เดิมคงชื่อว่า บ้านมะขวิด แต่ผลข้อหลังนี้น่าจะมีน้ำหนักกว่า เพราะนิสัยคนไทยเราแต่โบราณมักชอบเรียกชื่อตามนามของสถานที่เดิม ต่อมาในราว พ.ศ.ใดไม่ปรากฏ ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดบางแก้ว ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำโบราณ คือแม่น้ำบางแก้ว
ปัจจุบันแม่น้ำได้เปลี่ยนสภาพเป็นคลองเล็กๆ ไปแล้ว และเข้าใจว่าคงเปลี่ยนชื่อวัดในราว พ.ศ.๑๔๕๓ - ๒๔๖๘ ซึ่งอยูในยุคที่ได้เริ่มวิวัฒนาการทางด้านภาษาไทย สันนิษฐานว่าวัดนี้คงเป็นวัดในราว พ.ศ.๒๓๔๐ ขึ้นไป ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักฐานจากศิลาจาลึกที่พบในเจดีย์โดยพบอายุว่าวัดนี้คงสร้างมาแล้ว ๒๒๔ ปีกว่า (บันทึกปี พ.ศ.๒๕๖๔) คงเป็นวัดที่สำคัญ และเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว ทั้งนี้โดยอาศัยหลักฐานปูชนีวัถุโบราณที่ขูดำด้หรือพบ หรือมีอยู่ในนี้เช่น เจดีย์พระเครื่อง (สูญสลายไปกลายเป็นผงในเวลาต่อมาไม่นาน หลังจากชาวบ้านขุดขึ้นมา) พระนาคปรกศิลาแลง (เสียหายและสูญสลายหลังเกิดเหตุการไฟไหม้อุโบสถเมื่อปี พ.ศ.๒๕__ แต่ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยมีชิ้นส่วนที่เหลือคงอยู่)
ปัจจุบันแม่น้ำได้เปลี่ยนสภาพเป็นคลองเล็กๆ ไปแล้ว และเข้าใจว่าคงเปลี่ยนชื่อวัดในราว พ.ศ.๑๔๕๓ - ๒๔๖๘ ซึ่งอยูในยุคที่ได้เริ่มวิวัฒนาการทางด้านภาษาไทย สันนิษฐานว่าวัดนี้คงเป็นวัดในราว พ.ศ.๒๓๔๐ ขึ้นไป ทั้งนี้ โดยอาศัยหลักฐานจากศิลาจาลึกที่พบในเจดีย์โดยพบอายุว่าวัดนี้คงสร้างมาแล้ว ๒๒๔ ปีกว่า (บันทึกปี พ.ศ.๒๕๖๔) คงเป็นวัดที่สำคัญ และเจริญรุ่งเรืองมาแล้ว ทั้งนี้โดยอาศัยหลักฐานปูชนีวัถุโบราณที่ขูดำด้หรือพบ หรือมีอยู่ในนี้เช่น เจดีย์พระเครื่อง (สูญสลายไปกลายเป็นผงในเวลาต่อมาไม่นาน หลังจากชาวบ้านขุดขึ้นมา) พระนาคปรกศิลาแลง (เสียหายและสูญสลายหลังเกิดเหตุการไฟไหม้อุโบสถเมื่อปี พ.ศ.๒๕__ แต่ได้บูรณะขึ้นใหม่ โดยมีชิ้นส่วนที่เหลือคงอยู่)
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป
เป็นพื้นที่ราบลุ่ม บริเวณของวัดแต่เดิมเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ําฝนยังเป็นบริเวณกว้าง แต่ในปัจจุบันทางวัดได้ซื้อ ดินมาถมในบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มจนพ้นจากน้ําขังในบริเวณวัด
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา
การก่อสร้างอุโบสถหลังเดิมนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด เพราะคนรุ่นเก่าในสมัยนั้น ไม่ได้จดบันทึกเป็น หลักฐานไว้ แต่พอจะสันนิษฐานจากลักษณะรูปทรงอุโบสถ คงจะอยู่ในราวกรุงรัตนโกสินทร์ยุคแรกๆ อยู่ในราว พ.ศ. ๒๓๔๗ - ๒๔๑๑
ครั้นต่อมา พระใบฎีกา อุตฺตรภทฺโท เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว เห็นว่าอุโบสถหลังเก่านั้นได้ชํารุดทรุดโทรดมากแล้ว ตลอดจน คับแคบในการทําสังฆกรรมต่างๆ ด้วยเหตุนี้ พระใบฎีกาเก่า อุตฺตรภทฺโท จึงได้ริเริ่มดําเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นราว พ.ศ. ๒๕๑๓
ต่อมาเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันคือ พระครูศีลกันตาภรณ์ เห็นว่าอุโบสถได้ชํารุดเป็นบางส่วน จึงได้ทําการบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ ทั้งภายนอกและภายใน และดูสวยงามอยู่จนทุกวันนี้
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลําดับ
การพัฒนาวัดยุคปัจจุบันซึ่งมีท่านพระครูศีลกันตาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ซึ่งได้รับการแต่งตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้พัฒนาสิ่งปลูกสร้างถาวรวัตถุขึ้นอย่างมาก อาทิ สร้างกุฏิ “อินทโชติ” ลักษณะทรงไทยประยุกต์ และเสนาสนะอื่นๆ รวมทั้ง บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่ชํารุดทรุดโทรม จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้างถาวรวัตถุทั้งสิ้นเป็นเงิน ๑๕,๗๑๕,๐๐๐ บาท (สิบห้าล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และในขณะนี้ ได้ดําเนินการก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ขึ้นอีก ๑ หลัง ตลอดจน กําแพงวัดที่จะสร้างขึ้นในโอกาสต่อไป
ประวัติการก่อสร้างถาวรวัตถุ
อุโบสถ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงไทย โครงสร้างส่วนใหญ่ก่ออิฐถือปูน ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นเงิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ อุโบสถ หลังนี้ มีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
ศาลาการเปรียญ
มีลักษณะรูปทรงเป็นแบบทรงไทย โครงสร้างส่วนใหญ่เป็นไม้หลังคามุงกระเบื้องเคลือบดินเผาก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนบาทถ้วน) ศาลาการเปรียญหลังนี้มีขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๖.๕๐ เมตร
ประวัติปูชนียวัตถุของวัด
พระประธานประจําอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธลักษณะที่สําคัญคือ สร้างด้วยโลหะหล่อ มีขนาดสูง ๒.๔๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑.๘๐ เมตร ทางวัดดําเนินการก่อสร้างร่วมกับบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓
พระพุทธรูปปางนาคปรก
มีพระพุทธลักษณะที่สําคัญคือ สร้างด้วยการแกะสลักด้วยหินทราย มีขนาดสูง ๑๐๐ เซนติเมตร หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร สร้างขึ้นในสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘) เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ประจําวัดบางแก้ว ประชาชนในถิ่นนั้น เชื่อในพุทธคุณของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นอย่างยิ่ง
ลําดับรายนามเจ้าอาวาส
ความเป็นมาที่เริ่มมีเจ้าอาวาสปกครองวัดบางแก้ว ได้มีพระภิกษุที่ดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแล้ว ดังนี้
- หลวงพ่อกลั่น ค้นหาหลักฐานไม่พบ
- หลวงพ่อพัฒน์ ค้นหาหลักฐานไม่พบ
- หลวงพ่อจอน ค้นหาหลักฐานไม่พบ
- หลวงพ่อจันทร์ ค้นหาหลักฐานไม่พบ
- พระใบฎีกาเก่า อุตฺตรภทฺโท ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ จนลาสิกขาบท
- พระครูศีลกันตาภรณ์ ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๔๕
- พระครูพิจิตรสรคุณ ดํารงตําแหน่งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ - ปัจจุบัน
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังสุด
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ อุโบสถหลังปัจจุบัน มีขนาดกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ศาลาการเปรียญ มีขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๖.๕๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑ ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๒ งาน ๓๘ ตารางวา
นามไวยาวัจกร
นายทองอยู่ กลิ่นประชุม (ถึงแก่กรรม)
ร้อยชั้น ดวงแก้วงาน (พ.ศ.2549 - ปัจจุบัน)
ร้อยชั้น ดวงแก้วงาน (พ.ศ.2549 - ปัจจุบัน)
มีหน่วยงานของทางราชการที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด
- ที่พักสายตรวจตําบลบางแก้ว
- โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย นครปฐม (ปรกแก้ววิทยา)
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูพิจิตรสรคุณ (พรประสิทธิ์) ปภากโร
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 04-12-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 28-12-2564
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
วันอังคาร 14 ธ.ค. 64 ทำบุญครบรอบ คุณแม่สอิ้ง (มารดาของเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว)
ข้อมูลเมื่อ : 12-12-2564
เปิดดู 94 ครั้ง
เทศกาลงานบุญประเพณี
ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม
สื่อมีเดีย
ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม
ทรัพย์สินของวัด
ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด
โครงการและกิจกรรมเด่น
ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น
ทำบุญกับวัด
ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด