เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1454 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1623 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8281 รูป
สามเณร
290 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8789 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7137 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
10 รูป
ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดมะเกลือ
รหัสวัด
2730702001
ชื่อวัด
วัดมะเกลือ
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2410
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 02 เดือน กันยายน ปี 2497
ที่อยู่
วัดมะเกลือ
เลขที่
40
หมู่ที่
4
ซอย
-
ถนน
ศาลายา-บางภาษี
แขวง / ตำบล
คลองโยง
เขต / อำเภอ
พุทธมณฑล
จังหวัด
นครปฐม
ไปรษณีย์
73170
เนื้อที่
32 ไร่ - งาน 20 ตารางวา
คุณสมบัติวัด
เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
จำนวนเข้าดู : 2557
ปรับปรุงล่าสุด : 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 22:51:22
ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00
ประวัติความเป็นมา
วัดมะเกลือ เดิมตั้งอยู่ในเขตบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ต่อมาทางราชการได้ทําการขุดคลองส่งน้ำผ่านวัด ด้านทิศตะวันออกชื่อคลองทวีวัฒนา ทางราชการจึงได้แบ่งเขตการปกครองใหม่ให้วัด ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองฝั่งด้านทิศตะวันตก อยู่ในเขตการปกครอง ของตําบลคลองโยง อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
เหตุที่ชื่อวัดมะเกลือ สันนิษฐานว่า พื้นที่ ๆ สร้างวัดน่าจะมีต้นไม้มะเกลือขึ้นอยู่ก่อนจึงได้ชื่ออย่างนั้น ต่อมามีผู้ศรัทธามากขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม แต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมเรียกกัน คงเรียกชื่อว่า “วัดมะเกลือ” มาจนบัดนี้
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ลาบลุ่ม เดินเป็นป่าละเมาะ มีป่าอ้อ ป่าพง ป่าแขม ป่าแฝก เป็นต้น ไม้ยืนต้นมีน้อย จะมีเพียงต้นกระทุ่ม มะขามเทศ และอื่นๆ บ้างเท่านั้น พื้นที่จึงเหมาะแก่การทําเกษตรกรรม จึงมีผู้อพยพมาจับจองหักล้างถางพง ประกอบกสิกรรมทํานากัน ประชาชนส่วนมากมาจากท้องที่อําเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ชาวบ้านใหม่ ประวัติจากคําบอกเล่า
จากคําบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่พอจะเชื่อถือได้ว่า เมื่อมีชาวบ้านมาอยู่กันมากเข้า ต่อมาจึงได้ร่วมใจกันจัดการสร้างวัดขึ้น เพื่อสะดวกแก่การบําเพ็ญกุศล อันเป็นวิสัยของชาวพุทธแต่ไหนแต่ไรมาถ้าไม่มีวัดจะทําบุญแล้ว รู้สึกว่าจะไม่สบายใจ ครั้นจะกลับไปทําบุญที่วัดเดิม ต้องเดินผ่านทุ่งไปไกลการเดินทางลําบาก ต้องออกจากบ้านแต่ดึก
ในชั้นแรกก็ปฏิบัติกันอย่างนั้น ครั้นต่อมาจึงคิดสร้างวัดขึ้น โดยใช้พัสดุเท่าที่จะหาได้ในที่นั้นมาสร้าง เช่น เสาไม้ไผ่ ไม้มะขามเทศ หลังคามุงด้วยแฝก พื้นใช้ฝากไม้ไผ่ เป็นต้น พอเป็นที่พักอาศัยอยู่จําพรรษาของพระภิกษุสามเณรได้ โดยสร้างวัดขึ้นในพื้นที่ของคุณนายแช่ม ขุนรักษา สันนิษฐานว่าคงยกถวายให้สร้างวัด ๖ ไร่เศษ แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานเพียงอนุมานว่า คงสร้างขึ้นเมื่อปีเถาะ หรือปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ ราว พ.ศ. ๒๔๑๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช) รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แน่
กาลต่อมา เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ได้ไปนิมนต์พระอาจารย์ทัด มาปกครองเป็นรูปแรก พร้อมด้วยพระอีก ๒ รูป คือ พระภิกษุเอี่ยมและพระภิกษุแดงเป็นพระลูกวัด ชาวบ้านพากันเรียกว่า วัดมะเกลือ เห็นจะเป็นเพราะมีต้นมะเกลือขึ้นอยู่ก่อน เลยถือเอาไม้มะเกลือเป็นเครื่องหมาย จึงตั้งชื่ออย่างนั้นส่วนคนบ้านไกลมักเรียกกันว่า วัดดอนมะเกลือ ก็มี เพราะพื้นที่สร้างวัดเป็นที่ดอน เมื่อวัดเจริญขึ้นเป็นหลักฐานแล้ว นายหรอบ นางช้อย จันทร์แสง บ้านเหนือวัดมีจิตศัทธาเลื่อมใส ได้ถวายที่ดินด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ออกไปอีกตามความจําเป็น วัดจึงมีเนื้อที่กว้างขวางพอ สะดวกแก่การบําเพ็ญศาสนกิจ ต่อมาพระอาจารย์ทัด ได้ปกครองวัด อยู่ ๑๖ หรือ ๑๗ ปี ต่อมาลุถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ พระอาจาย์แพ เป็นเจ้าอาวาสปกครอง ระยะนี้มีพระภิกษุอยู่จําพรรษามากขึ้นแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านได้ก่อสร้างอะไรไว้บ้าง สันนิษฐานว่าที่คงทําการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะพอให้พระภิกษุสามเณรอาศัยอยู่จําพรรษาได้เท่านั้น เพราะบ้านเมืองยังไม่เจริญ ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ประมาณ ๒๐ ปีกว่า จึงมรณภาพ ต่อมา พระครูบวรธรรมานุสิฐ เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดสืบมา จนถึงปัจจุบัน
ลําดับรายนามเจ้าอาวาสวัดมะเกลือ
เมื่อแรกที่ก่อตั้งวัดนี้คงมีฐานะเป็นเพียงสํานักสงฆ์เท่านั้น เริ่มแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อมีชาวบ้านมาอยู่ร่วมในถิ่นเดียวกันมากขึ้น จึงได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่บําเพ็ญบุญกุศล อันเป็นวิสัยของชาวพุทธแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้วก็ได้ไปอาราธนาพระภิกษุมาอยู่จําพรรษา ในระยะแรกคงไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงไม่สามารถทราบได้โดยตลอดว่ามีพระภิกษุรูปใดบ้างที่เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และรูปต่อมา และไม่ปรากฏหลักฐาน ว่าได้รับการยกฐานะเป็นวัดโดยถูกต้องตั้งแต่เมื่อใด จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จึงได้มีการรวบรวมหลักฐาน จากคนเฒ่าคนแก่ในท้องถิ่นนี้ที่พอเชื่อถือได้บอกเล่าต่อกันมาไว้และยืนยันเป็นหลักฐานได้ตั้งแต่ปีที่เริ่มตั้งวัดขึ้น คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีพระภิกษุที่ดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดมะเกลือ ซึ่งพอจะสืบค้นหาและลําดับได้ดังนี้
๑. พระอาจารย์ทัด ประมาณในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ ๒๔๑๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓
๒. พระอาจารย์แพ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๓ ไม่สามารถสืบค้นประวัติได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสอยู่กี่ปี
๓. พระอธิการเต็ม ยังไม่อาจสืบประวัติได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสเมื่อใด ถึงเมื่อใด
๔. พระอธิการอู๋ จันทร์แสง พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง ๒๔๖๖
๕. พระอธิการพลอย จันทร์แสง พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง ๒๔๗๔
๖. พระอธิการสม จนฺทสิริ แจ้งเหตุผล พ.ศ. ๒๔๗๔ ถึง ๒๔๘๔
๗. พระอธิการแป๊ะ ใหม่เนียม พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๙๑
๘. พระอาจารย์อ่อน วิชิโต พ.ศ. ๒๔๙๑ ถึง ๒๔๙๔
๙. พระครูศิริชัยวัฒน์ ฉายา จนฺทสิริ พ.ศ.๒๔๙๕ - ไม่ระบุ
๑๐. พระครูบวรธรรมานุสิฐ ฉายา ปวโร ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ - ปัจจุบัน
เหตุที่ชื่อวัดมะเกลือ สันนิษฐานว่า พื้นที่ ๆ สร้างวัดน่าจะมีต้นไม้มะเกลือขึ้นอยู่ก่อนจึงได้ชื่ออย่างนั้น ต่อมามีผู้ศรัทธามากขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม แต่คนส่วนใหญ่ไม่นิยมเรียกกัน คงเรียกชื่อว่า “วัดมะเกลือ” มาจนบัดนี้
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป เป็นที่ลาบลุ่ม เดินเป็นป่าละเมาะ มีป่าอ้อ ป่าพง ป่าแขม ป่าแฝก เป็นต้น ไม้ยืนต้นมีน้อย จะมีเพียงต้นกระทุ่ม มะขามเทศ และอื่นๆ บ้างเท่านั้น พื้นที่จึงเหมาะแก่การทําเกษตรกรรม จึงมีผู้อพยพมาจับจองหักล้างถางพง ประกอบกสิกรรมทํานากัน ประชาชนส่วนมากมาจากท้องที่อําเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ชาวบ้านใหม่ ประวัติจากคําบอกเล่า
จากคําบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่พอจะเชื่อถือได้ว่า เมื่อมีชาวบ้านมาอยู่กันมากเข้า ต่อมาจึงได้ร่วมใจกันจัดการสร้างวัดขึ้น เพื่อสะดวกแก่การบําเพ็ญกุศล อันเป็นวิสัยของชาวพุทธแต่ไหนแต่ไรมาถ้าไม่มีวัดจะทําบุญแล้ว รู้สึกว่าจะไม่สบายใจ ครั้นจะกลับไปทําบุญที่วัดเดิม ต้องเดินผ่านทุ่งไปไกลการเดินทางลําบาก ต้องออกจากบ้านแต่ดึก
ในชั้นแรกก็ปฏิบัติกันอย่างนั้น ครั้นต่อมาจึงคิดสร้างวัดขึ้น โดยใช้พัสดุเท่าที่จะหาได้ในที่นั้นมาสร้าง เช่น เสาไม้ไผ่ ไม้มะขามเทศ หลังคามุงด้วยแฝก พื้นใช้ฝากไม้ไผ่ เป็นต้น พอเป็นที่พักอาศัยอยู่จําพรรษาของพระภิกษุสามเณรได้ โดยสร้างวัดขึ้นในพื้นที่ของคุณนายแช่ม ขุนรักษา สันนิษฐานว่าคงยกถวายให้สร้างวัด ๖ ไร่เศษ แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานเพียงอนุมานว่า คงสร้างขึ้นเมื่อปีเถาะ หรือปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ ราว พ.ศ. ๒๔๑๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช) รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์แน่
กาลต่อมา เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ได้ไปนิมนต์พระอาจารย์ทัด มาปกครองเป็นรูปแรก พร้อมด้วยพระอีก ๒ รูป คือ พระภิกษุเอี่ยมและพระภิกษุแดงเป็นพระลูกวัด ชาวบ้านพากันเรียกว่า วัดมะเกลือ เห็นจะเป็นเพราะมีต้นมะเกลือขึ้นอยู่ก่อน เลยถือเอาไม้มะเกลือเป็นเครื่องหมาย จึงตั้งชื่ออย่างนั้นส่วนคนบ้านไกลมักเรียกกันว่า วัดดอนมะเกลือ ก็มี เพราะพื้นที่สร้างวัดเป็นที่ดอน เมื่อวัดเจริญขึ้นเป็นหลักฐานแล้ว นายหรอบ นางช้อย จันทร์แสง บ้านเหนือวัดมีจิตศัทธาเลื่อมใส ได้ถวายที่ดินด้านทิศใต้และทิศตะวันตก ออกไปอีกตามความจําเป็น วัดจึงมีเนื้อที่กว้างขวางพอ สะดวกแก่การบําเพ็ญศาสนกิจ ต่อมาพระอาจารย์ทัด ได้ปกครองวัด อยู่ ๑๖ หรือ ๑๗ ปี ต่อมาลุถึงปีขาล พ.ศ. ๒๔๓๓ พระอาจาย์แพ เป็นเจ้าอาวาสปกครอง ระยะนี้มีพระภิกษุอยู่จําพรรษามากขึ้นแล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านได้ก่อสร้างอะไรไว้บ้าง สันนิษฐานว่าที่คงทําการบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะพอให้พระภิกษุสามเณรอาศัยอยู่จําพรรษาได้เท่านั้น เพราะบ้านเมืองยังไม่เจริญ ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ประมาณ ๒๐ ปีกว่า จึงมรณภาพ ต่อมา พระครูบวรธรรมานุสิฐ เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดสืบมา จนถึงปัจจุบัน
ลําดับรายนามเจ้าอาวาสวัดมะเกลือ
เมื่อแรกที่ก่อตั้งวัดนี้คงมีฐานะเป็นเพียงสํานักสงฆ์เท่านั้น เริ่มแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๑ เมื่อมีชาวบ้านมาอยู่ร่วมในถิ่นเดียวกันมากขึ้น จึงได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่บําเพ็ญบุญกุศล อันเป็นวิสัยของชาวพุทธแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้วก็ได้ไปอาราธนาพระภิกษุมาอยู่จําพรรษา ในระยะแรกคงไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน จึงไม่สามารถทราบได้โดยตลอดว่ามีพระภิกษุรูปใดบ้างที่เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และรูปต่อมา และไม่ปรากฏหลักฐาน ว่าได้รับการยกฐานะเป็นวัดโดยถูกต้องตั้งแต่เมื่อใด จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จึงได้มีการรวบรวมหลักฐาน จากคนเฒ่าคนแก่ในท้องถิ่นนี้ที่พอเชื่อถือได้บอกเล่าต่อกันมาไว้และยืนยันเป็นหลักฐานได้ตั้งแต่ปีที่เริ่มตั้งวัดขึ้น คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ พ.ศ. ๒๔๑๑ จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีพระภิกษุที่ดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดมะเกลือ ซึ่งพอจะสืบค้นหาและลําดับได้ดังนี้
๑. พระอาจารย์ทัด ประมาณในปี พ.ศ. ๒๔๑๐ หรือ ๒๔๑๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๓
๒. พระอาจารย์แพ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๓ ไม่สามารถสืบค้นประวัติได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสอยู่กี่ปี
๓. พระอธิการเต็ม ยังไม่อาจสืบประวัติได้ว่าเป็นเจ้าอาวาสเมื่อใด ถึงเมื่อใด
๔. พระอธิการอู๋ จันทร์แสง พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง ๒๔๖๖
๕. พระอธิการพลอย จันทร์แสง พ.ศ. ๒๔๖๖ ถึง ๒๔๗๔
๖. พระอธิการสม จนฺทสิริ แจ้งเหตุผล พ.ศ. ๒๔๗๔ ถึง ๒๔๘๔
๗. พระอธิการแป๊ะ ใหม่เนียม พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๙๑
๘. พระอาจารย์อ่อน วิชิโต พ.ศ. ๒๔๙๑ ถึง ๒๔๙๔
๙. พระครูศิริชัยวัฒน์ ฉายา จนฺทสิริ พ.ศ.๒๔๙๕ - ไม่ระบุ
๑๐. พระครูบวรธรรมานุสิฐ ฉายา ปวโร ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๘ - ปัจจุบัน
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูบวรธรรมานุสิฐ (สอน) ปวโร
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์
เทศกาลงานบุญประเพณี
ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม
สื่อมีเดีย
ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม
ทรัพย์สินของวัด
ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด
โครงการและกิจกรรมเด่น
ทำบุญยกอุโบสถ ณ วัดมะเกลือ
ข้อมูลเมื่อ : 27-10-2564
ทำบุญกับวัด
ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด