เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8344 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8859 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7192 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดห้วยพระ

รหัสวัด
02730402001

ชื่อวัด
วัดห้วยพระ

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 04 เดือน ธันวาคม ปี 500

ที่อยู่
วัดห้วยพระ

เลขที่
111

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ห้วยพระ

เขต / อำเภอ
ดอนตูม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73150

เนื้อที่
28 ไร่ 1 งาน - ตารางวา

Line
0922870413

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0895153767 , 0821685442

โทรศัพท์
0895153767 , 0821685442

อีเมล์
soot_2523@hotmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นสำนักปฏิบัติธรรม

จำนวนเข้าดู : 803

ปรับปรุงล่าสุด : 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 18:56:20

ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดห้วยพระ
ที่ตั้งวัด
           วัดห้วยพระ  ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑  หมู่ที่  ๑   ต.ห้วยพระ  อ. ดอนตูม  จ. นครปฐม  พื้นที่วัดมีเนื้อที่  ๒๘ ไร่  ๑  งาน  ๘๙  ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้คือ
                        ทิศเหนือ            :  ติดทางสาธารณะประโยชน์
                        ทิศใต้               :  ติดทางสาธารณะประโยชน์
                        ทิศตะวันออก      :  ติดทางสาธารณะประโยชน์
                        ทิศตะวันตก        :  ติดร่องน้ำสาธารณะประโยชน์
ความเป็นมา
           วัดห้วยพระ  เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในราวปีพุทธศักราช  ๒๔๐๑  ที่ตั้งเดิมเป็นพื้นที่ป่ามีพืชพรรณไม้นานาชนิดอุดมสมบูรณ์  ประชาชนตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายตามลำห้วย ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขายของป่า ต่อมาประชาชนจากชุมชนอื่นเชื้อสายไทย ไทยลาวและไทยจีน ได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินทำให้มีจำนวนพลเมืองมากขึ้น หมู่บ้านแน่นหนา
           ประชาชนพิจารณาเห็นว่า บริเวณหมู่บ้านเขตที่อาศัยอยู่ยังไม่มีวัดที่เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจและใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จึงร่วมมือกันถางพื้นที่ป่าและปรับพื้นที่เพื่อทำการสร้างวัด โดยเห็นว่าพื้นที่มีลำห้วยใหญ่ผ่านทางด้านทิศตะวันตกมีน้ำบริบูรณ์ดีและมีพื้นที่ประมาณ  ๓๐  ไร่เศษ เหมาะสมในการปลูกสร้างจึงดำเนินการสร้างวัดและขนานนามว่า  “วัดห้วยพระ”  ในระยะนี้ประชาชนประกอบอาชีพได้ผลดีทำให้หมู่บ้านห้วยพระเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๔๙  ทางราชการได้ตั้งอำเภอกำแพงแสนขึ้น แต่ในขณะนั้นยังไม่มีงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอกำแพงแสน จึงพิจารณาเห็นว่าวัดห้วยพระนี้เป็นวัดใหญ่และตั้งอยู่ในย่านของชุมชนที่มีความเจริญ ทางราชการจึงได้มาขออาศัยใช้ศาลาดินเป็นที่ว่าการของอำเภอกำแพงแสน ขณะนี้ศาลาดินหลังดังกล่าวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของศาลาการเปรียญ
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๕๓  ทางราชการจึงได้งบประมาณมาทำการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอกำแพงแสนตั้งอยู่ที่หมู่บ้านสามแก้ว ตำบลห้วยพระ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๘๔ ประชาชนเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงร่วมมือกับทางราชการจัดตั้งโรงเรียนวัดห้วยพระขึ้นเป็นโรงเรียนประชาบาลประเภทนายอำเภอจัดตั้งจัดการศึกษาตั้งแต่
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ดำเนินการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาศึกษาธิการ โดยอาศัยศาลาของวัดห้วยพระเป็นสถานที่เล่าเรียนและเป็นโรงเรียนประจำตำบล
           ครั้นต่อมา การทำมาหากินของประชาชนเกิดแร้นแค้นมาก เนื่องจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล แห้งแล้งติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปี เป็นผลให้ประชาชนประกอบอาชีพทางการเกษตรไม่ได้ผล พากันอดอยากถึงกับต้องเที่ยวเก็บขุยไผ่มาหุงใช้แทนข้าวจากสภาพพื้นที่แห้งแล้งประกอบอาชีพไม่ได้ผล ประชาชนบางส่วนจึงเริ่มอพยพไปทำมาหากินในท้องถิ่นอื่น จึงทำให้ประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่ในท้องถิ่นน้อยลง นับตั้งแต่นั้นมาหมู่บ้านห้วยพระความเจริญเริ่มตกต่ำลง
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๙๐ ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอกำแพงแสนที่หมู่บ้านสามแก้วไปตั้งอยู่ที่อำเภอกำแพงแสนในปัจจุบันนี้ ต่อมาประมาณ  ๔-๕ ปี ทางราชการเริ่มทำการก่อสร้างระบบชลประทานส่งน้ำมาช่วยในการเกษตรกรรม ประชาชนจึงได้ทำนาทำไร่ได้ผลดีเพิ่มขึ้น และประชาชนที่ไปประกอบอาชีพในท้องถิ่นอื่นอพยพกลับมาอยู่หมู่บ้านห้วยพระมากขึ้นตามลำดับ
           การปกครองดูแลทำนุบำรุงวัดห้วยพระ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช  ๒๔๐๒ เป็นต้นมามีเจ้าอาวาสวัดห้วยพระจนถึงปัจจุบันมีรายนามดังนี้ คือ
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๐๒ ไม่ปรากฏนามเจ้าอาวาส
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๕๐ พระอธิการบุญมา ได้สร้างอุโบสถและสำเร็จในปีพุทธศักราช  ๒๔๖๖
           ในปีพุทธศักราช  ๒๔๗๐ – ๒๕๒๒  ทางวัดห้วยพระ มีเจ้าอาวาสปฏิบัติงานเผยแผ่พระศาสนาคือพระอธิการสังวาลย์  พระอธิการไข่ และพระอธิการเติม หลังจากนั้นเป็นระยะเวลาหลายปีวัดห้วยพระขาดผู้ปกครองดูแล มีเพียงแต่เจ้าอธิการวงษ์ เจ้าคณะตำบลห้วยพระเป็นอุปการะโดยมีพระทองดี พระประยงค์ พระบุญธรรม   พระตุทำหน้าที่แทนเจ้าอาวาส
           ในปีพุทธศักราช  ๒๕๒๒ ทางคณะสงฆ์ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่นเห็นสมควรได้แต่งตั้งเจ้าอาวาสขึ้นแทนองค์เก่า จึงอาราธนาพระภิกษุแถว  ถิรขิตโต ขึ้นเป็นเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยพระตั้งแต่วันที่  ๑  กุมภาพันธ์  พุทธศักราช  ๒๕๒๒  เจ้าอาวาสจึงได้เชิญชวนประชาชนในท้องถิ่นนี้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์ พัฒนาและสร้างต่อเติมเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้น นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ธรรมเพื่อให้ประชาชนได้นำไปประพฤติปฏิบัติ ซึ่งนำความผาสุขมาสู่ชุมชนวัดห้วยพระ
 
 
 
           ในปีพุทธศักราช  ๒๕๓๙ ทางคณะสงฆ์ร่วมกับประชาชนในท้องถิ่น เห็นสมควรอาธนา     พระอธิการคำรณ  คุณงฺกโร  มาเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยพระ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและได้บูรณะปฎิสังขรณ์ถาวรวัตถุต่าง ๆ ของวัดห้วยพระ จนมีความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๔๓ จึงได้รับอาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนขนาก
           ปัจจุบันพระครูพิทักษ์ธรรมกิตติ์ เป็นเจ้าอาวาส สืบแทนพระอธิการคำรณ  คุณงฺกโร ตั้งแต่วันที่  ๑  พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๕๔๓ ได้ดำเนินการพัฒนาวัดห้วยพระมาจนถึงทุกวันนี้
การก่อสร้างอุโบสถ
พระครูพิทักษ์ธรรมกิตติ์ ได้เริ่มวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอุโบสถเมื่อ  ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๗  ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา  และ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  กำหนดเขต  กว้าง  ๕๐  เมตร ยาว  ๖๐  เมตรเมื่อวันที่   ๒๔  ธันวาคม  ๒๕๕๘ และ แล้วเสร็จ เมื่อ ปี พ.ศ.  ๒๕๖๐
ลำดับรายนามเจ้าอาวาสวัดห้วยพระ

  1. พระอธิการบุญมา                   ระหว่างพ.ศ.๒๔๐๑ – ๒๔๕๑
  2. พระอธิการสังวาล                   ระหว่างพ.ศ.๒๔๕๒ – ๒๔๗๐
  3. พระอธิการไข่                        ระหว่างพ.ศ.๒๔๗๑ – ๒๕๐๐
  4. พระอธิการเติม                      ระหว่างพ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๒๑
  5. พระครูสถิตศีลวัตร                  ระหว่างพ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๒๑
  6. พระอธิการคำรณ  คุณฺงกโร         ระหว่างพ.ศ.๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
ปัจจุบันคือ พระครูปฐมคุณากร เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนขนาก (ในปัจจุบัน)
  1. พระครูพิทักษ์ธรรมกิตติ์             ระหว่างพ.ศ.๒๕๔๓ – ปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (2.63 mb)

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูพิทักษ์ธรรมกิตติ์ เปมสีโล

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 02-09-2565

พระเหลี่ยน เตชธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 26-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระบุญมี สจฺจวโร

ข้อมูลเมื่อ : 26-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระภักดี สนฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระสุชาติ ธมฺมธโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระทนงค์ ฐานจาโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระอธิคม สนฺติกโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระวิสูตร จิตฺตมโน

ข้อมูลเมื่อ : 26-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 25-12-2566

พระกฤษฎาศักดิ์ ปภาธโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระเฉลิม อธิวโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

พระมนตรี จิตฺตกาโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด