เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1451 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
71 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1619 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8467 รูป
สามเณร
321 รูป
แม่ชี
91 รูป
ศิษย์วัด
36 คน
บุคคลทั่วไปชาย
40 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
50 คน
ทั้งหมด
9005 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
41 รูป
สามเณร
28 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
73 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7295 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
7 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดเดชานุสรณ์

รหัสวัด
02730614002

ชื่อวัด
วัดเดชานุสรณ์

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2349

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2473

ที่อยู่
วัดเดชานุสรณ์

เลขที่
46

หมู่ที่
6

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ยายชา

เขต / อำเภอ
สามพราน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73110

เนื้อที่
25 ไร่ 1 งาน 87 ตารางวา

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเข้าดู : 925

ปรับปรุงล่าสุด : 9 เมษายน พ.ศ. 2566 23:42:31

ข้อมูลเมื่อ : 26 กันยายน พ.ศ. 2564 14:18:54

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดเดชานุสรณ์ เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖ หมู่ที่ ๖ ตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๘๗ ตารางวาเป็นที่ธรณีสงฆ์ ๑๘ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา พื้นที่เดิมอยู่ติดริมแม่น้ำนครชัยศรี ส่วนประวัติความเป็นมาของวัดในหนังสือ “ทำเนียบและพระสังฆาธิการจังหวัดนครปฐม” ได้กล่าวว่า “ได้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๔๙” ซึ้งตรงกับรัตนโกสินทร์ศก ร.ศ.๒๕ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ส่วนข้อมูลจากผู้รู้หรือปราชญ์ท้องถิ่นได้เล่าสืบต่อกันมาว่า สร้างขึ้นระยะเวลาใกล้เคียงกับวัดสรรเพชญ โดยผู้ที่อพยพหลบภัยสงครามจากกรุงศรีอยุธยา ได้มาตั้งหลักแหล่งอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาก่อนต่อมามีสามีภริยาคู่หนึ่งเป็นผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้สร้างวัดขึ้นโดยตาเพชรผู้เป็นสามีสร้างวัดตาเพชร ต่อมาเป็นชื่อวัดสามเพชร หรือวัดสัมเพชร และวัดสรรเพชญในปัจจุบัน ส่วนยาชาภริยาได้มาสร้างวัดยายชาซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนักและเปลี่ยนมาเป็นวัดเดชานุสรณ์จนทุกวันนี้
        ส่วนประวัติศาสตร์ของวัดเดชานุสรณ์ ซึ่งได้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้กล่าวไว้ว่า พื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นที่พักของพระสงฆ์มาก่อน เพราะมีพระมาธุดงค์และปักกลดอยู่เสมอ โยมผู้หญิงชื่อชา หรือชาวบ้านเรียกยายชา ได้มีจิตรศรัทธาสร้างกุฏิขึ้น ๔ หลัง กับศาลาการเปรียญอีก ๑ หลัง บนพื้นที่ประมาณ ๑๐ ไร่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๙ หลังจากนั้นก็ได้มีพระมาอยู่จำพรรษามากยิ่งขึ้น จึงมีผู้ศรัทธาสร้างศาลาถวายขึ้นอีก ๑ หลัง ก่ออิฐโบกปูนขาว หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผามีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิอยู่  ๑ องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๗๖ เมตร ต่อมามีเจ้าของโรงหีบอ้อยซึ่งเป็นเชื้อสายจีนชื่อ “เน่า” หรือหลงจู๊เน่า ได้มีจิตรศรัทธาสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ โดยมีอุโบสถชั่วคราว เครื่องบนเป็นไม้ไผ่หลังคามุมด้วยใบจากจนกระทั่งในสมัยที่พระครูสาครคุณาธาร (หมุด ติสฺสวํโส) ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดเดชานุสรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ท่านพร้อมกับชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างเสนาสนะและพัฒนาวัดเพิ่มเติมจนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์อดีตภัณธรักษ์ กรมศิลปากรได้พา ดร.บวช เชอรีเย่ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส มาดูพระพุทธรูปศิลาองค์ดังกล่าว ท่านได้บอกว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง นอกจากนี้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของวัดเดชานุสรณ์ ได้กล่าวไว้ว่า ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ สมเด็จพระวันรัต (เฮง) เขมจารี แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ กรุงเทพมหานคร ได้เปลี่ยนชื่อจากวัดยายชามาเป็นวัดเดชานุสรณ์ จนกระทั่งทุกวันนี้
        วัดเดชานุสรณ์ เป็นวัดที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สำหรับอดีตเจ้าอาวาสเท่าที่สามารถสืบค้นได้มี ๖ รูป ดังนี้
       ๑. พระอาจารย์คล้าย
       
๒. พระอาจารย์พรม
       
๓. พระอาจารย์พร้อม
       
๔. พระอาจารย์ผ่อน
       
๕. พระครูสาครคุณาธาร (หมุด ติสฺสวํโส) พ.ศ.๑๔๖๓ – ๒๕๒๑
        
๖. พระครูอดุลพัฒนาภรณ์ (ประเทือง จารุมโย) พ.ศ.๒๕๒๑ – ปัจจุบัน

นอกจากนี้วัดนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกอย่างหนนึ่งได้แก่ “เรือนราชฤดี” อาคารหลังนี้กล่าวกันว่า แต่เพิ่มเป็นเรือนของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ แต่ทราบว่ายังมีเรือนอีกหลังหนึ่งอยู่ที่โรงเรียนบ้านยาง “อินทรศักดิ์ศึกษาลัย” อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จึงมีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ “เรือนราชฤดี” แห่งนี้ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลทางการศึกษาในท้องถิ่น
          เรือนราชฤดีของวัดเดชานุสรณ์แห่งนี้ พระครูอดุลพัฒนาภรณ์  เจ้าอาวาสวัดเดชานุสรณ์ เจ้าคณะตำบลยายชา และบุคคลในท้องถิ่นอีกหลายท่านก็เล่าให้ฟังว่ารื้อมาจากฝั่งตรงข้ามวัดพระประโทนฯ บ้างก็ว่ารื้อมาจากโรงพยาบาลนครปฐมหลังเก่า ปัจจุบันเรือนราชฤดีของวัดเดชานุสรณ์เป็นอาคารสองชั้น หลังคาทรงเตี้ยแบนหรือที่เรียกกันว่า “ทรงปั้นหยา” ทางด้านข้างของอาคารย่อมุขตอนชั้นบนและทำเป็นหลังคาซ้อนลดหลั่นกันมา ๓ ชั้น ส่วนล่างสุดก่อด้วยอิฐ ด้านหน้าอาคารมีข้อความว่า”เรือนราชฤดี” ในอดีตพื้นที่บางส่วนได้ใช้เป็นห้องที่จำพรรษาของ พระครูสาครคุณาธาร(หมุด ติสฺสวํโส) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๕ และภายในห้องนี้ทางด้านทิศตะวันออกมีข้อความจารึกไว้บนแผ่นหินอ่อนติดอยู่ มีข้อความดังนี้ “ประวัติเรื่อนราชฤดี เรื่อนราชฤดีหลังนี้ เดิมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมราชินี พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ณ บริเวณ หน้าวัดพระประโทน ต่อมาได้ประทานเป็นเรือนพักคนไข้และได้รื้อย้ายไปสร้างในบริเวณโรงพยาบาลเมืองนครปฐม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ครั้งเมื่อทางราชการได้ย้ายโรงพยาบาลเมืองนครปฐมไปสร้างอาคารในบริเวณแห่งใหม่ จึงได้ถวายเรือนราชฤดีหลังนี้แก่วัดเดชานุสรณ์ ตำบาลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เพื่อใช้เป็นโรงเรียนปริยัติธรรม”
          การรื้อย้ายเรือนราชฤดีหลังนี้ จากบริเวณโรงพยาบาลเมืองนครปฐมเดิมมาก่อสร้าง ณ สถานที่แห่งนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๐๑ ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ โดยนายชำนาญ ยุวบูรณ์ และคุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ เป็นผู้อุปการะค่ารื้อย้ายและการก่อสร้าง”
          สภาพทั่วไปในปัจจุบัน วัดเดชานุสรณ์มีพื้นที่โดยทั่วไปค่อนข้างโล่งแจ้ง บริเวณด้านหน้าวัดอยู่ทางทิศตะวันออกหันหน้าวัดลงสู่แม่น้ำ ส่วนพื้นที่ด้านหลังของวัดมีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างอยู่หลายหลัง ได้แก่ อุโบสถ วิหาร และหมู่กุฏิสงฆ์จัดสร้างเป็นระเบียบ บริเวณวัดสะอาดเรียบร้อยอยู่เป็นนิจ และมีต้นไม้ให้ร่มเงาอยู่รายรอบวัดดูร่มรื่นร่มเย็น ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผลไม้ได้ดี ผลไม้ที่ขึ้นชื่อได้แก่ ฝรั่ง มะพร้าว  กล้วยไม้เป็นต้น

รายการพระ

พระครูอดุลพัฒนาภรณ์ (ประเทือง) จารุมโย

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 26-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 08-01-2565

พระพัสกร ชิตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 26-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 28-12-2564

พระสัชฌุกร ปญฺญาธโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 19-09-2565

พระกฤตภาส ธมฺมนาโถ

ข้อมูลเมื่อ : 26-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 28-12-2564

พระทัพพ์ธนพ สุธทฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 08-03-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ทอดกฐินสามัคคี วัดเดชานุสรณ์

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

เปิดดู 1132 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น