



ข้อมูลทั่วไป
QR Code ตรีมิตรประดิษฐาราม
รหัสวัด
02710906010
ชื่อวัด
ตรีมิตรประดิษฐาราม
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
วันที่ 21 เดือน ตุลาคม ปี 2553
วันรับวิสุงคามสีมา
-
ที่อยู่
วัดตรีมิตรประดิษฐาราม (ดอนเตาอิฐ)
เลขที่
1
หมู่ที่
23
ซอย
-
ถนน
กาญจนบุรี-อู่ทอง (ก.ม.34)
แขวง / ตำบล
รางหวาย
เขต / อำเภอ
พนมทวน
จังหวัด
กาญจนบุรี
ไปรษณีย์
71170
เนื้อที่
14 ไร่ 1 งาน 95 ตารางวา
Facebook
คลิกดู
มือถือ
0899181462
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1058
ปรับปรุงล่าสุด : 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 07:11:37
ข้อมูลเมื่อ : 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 16:15:02
ประวัติความเป็นมา
ประวัติตรีมิตรประดิษฐาราม (ดอนเตาอิฐ)
สถานที่ตั้ง วัดตรีมิตรประดิษฐาราม เดิมตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ ๖ (ปัจจุบัน เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๒๓) ตำบลรางหวาย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ( ถนน กาญจนบุรี-อู่ทอง ระหว่างกิโลเมตร ที่ ๓๓-๓๔ )
เริ่มก่อสร้าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยมีนายยั้ง นางตุ๊ นามสกุล สมพงษ์ ซึ่งเป็นชาวบ้านห้วยสะพาน เป็นผู้ซื้อที่ดินถวายเพื่อสร้างวัด จำนวน ๕ ไร่ นอกจากนั้นยังมีนายท้าว ไชยสงคราม นายซิด ติดหงิม นายแจ่ม นางละเอียด ทิพวรรณ นายมนต์ นางเสมอ เบ็ญพาด นายกู้ นางหยด เซี่ยงฉิน นายขุน นางมณี สาระสาลิน และนายดี่ ตาลสิ้น ซึ่งมีที่ดินอยู่รอบๆบริเวณนั้นได้ บริจาคที่ดินเพิ่มเพื่อการสร้างวัด จนมีเนื้อที่รวมแล้ว ๑๔ ไร่ ๓ งาน ๕๙ ตารางวา และในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้ระดมทุนซื้อที่ดินเพิ่มอีกจำนวน ๕ ไร่เศษ เป็นจำนวนเงิน ๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท
การตั้งชื่อวัด เดิมชื่อวัดดอนเตาเตาอิฐ เรียกชื่อตามที่ตั้งของหมู่บ้าน ต่อมาพระเดชพระคุณพระธรรมคุณภรณ์ (ไพบูลย์ กตปุญโญ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี มาตรวจเยี่ยมวัด ท่านมีความเห็นว่าวัดนี้เจริญขึ้นตามลำดับเพราะอาศัยบุคคล ๓ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มไทดำ หรือลาวโซ่ง ปัจจุบันคือหมู่ ๖ และหมู่ ๒๒,ซึ่งอาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบอาชีพทำนา ๒. กลุ่มเจ๊กผสมไทยที่มาประกอบอาชีพปลูกยาสูบ ณ บ้านไร่ยาปัจจุบัน ซึ่งอาศัยอยู่ทางทิศเหนือของวัด และ ๓.กลุ่มลาวคั่ง ซึ่งมีอาชีพทำไร่-ทำนา เป็นส่วนมาก ปัจจุบันคือหมู่บ้านกระเจาและบ้านบ่อยา ซึ่งอาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด อาศัยเหตุนั้นท่านจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า วัดตรีมิตรประดิษฐาราม หมายความว่า อารามที่ตั้งขึ้นพร้อมด้วยคนสามเหล่า
เจ้าอาวาสตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างวัด จากการจดบันทึกของครูสง่า ท้าวสัน อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนเตาอิฐ ดังนี้
พระอาจารย์เสาร์ เทวโร พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๐๙ พระทองห่อ สุจิณฺโณ พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๙
พระบุญปลูก ดอกนาค พ.ศ.๒๕๒๐-๒๕๒๑ พระสง่า แซ่คู พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๓
พระผัน (ไม่ทราบฉายา) พ.ศ.๒๕๒๔ พระวินิจ สีเต่า พ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๒๖
พระครูโสภณกาญจนาภรณ์ (ทองหล่อ เทวงฺกโร) พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๔๒
พระครูดิลกสุตคุณ (มหาทองดี วราสโย) พ.ศ. ๒๕๔๓ (๓๐ มีนาคม) ถึงปัจจุบัน
ด้านศาสนาวัตถุ สามารถรองรับกิจกรรมทางพระศาสนาได้ในระดับหนึ่ง มีอุโบสถ,ศาลาการเปรียญ,ห้องวิปัสสนา,กุฏิสงฆ์,เมรุ,ฯลฯ.
สิ่งเคารพภายในวัด
๑. พระพุทธชัยวัฒน์พระศาสดาพระประธานในอุโบสถ
๒.หลวงพ่อโต มีเรื่องเล่ามาว่าช่วงระยะแรกๆของการสร้างวัด มีการอัญเชิญหลวงพ่อโตมาจากจังหวัดสุพรรณบุรีมาพร้อมกับ อีเป้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปหญิงนั่งเปลือยกาย และในปีต่อๆมาเกิดฝนแล้งติดต่อกัน เป็นเวลา ๓ ปี ตามความเชื่อว่าอีเป้อเป็นเหตุ จึงต้องนำอีเป้อไปทิ้งทะเล เหลืองเพียงหลวงพ่อโตไว้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : เอกสารสิทธิ์ที่ดิน (1.01 mb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : ประกาสตั้งวัด (561.49 kb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : ผังการเดินทาง (433.49 kb)
รายการพระ
พระครูดิลกสุตคุณ ทองดี วราสโย
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 08-10-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 08-10-2564