เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code ทุ่งมะสัง

รหัสวัด
02710302001

ชื่อวัด
ทุ่งมะสัง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
-

วันรับวิสุงคามสีมา
-

ที่อยู่
-

เลขที่
-

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
หนองกุ่ม

เขต / อำเภอ
บ่อพลอย

จังหวัด
กาญจนบุรี

ไปรษณีย์
71160

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 1111

ปรับปรุงล่าสุด : 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 17:21:40

ข้อมูลเมื่อ : 30 กันยายน พ.ศ. 2564 18:29:56

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ที่มาของชื่อวัด
 วัดทุ่งมะสัง มีชื่อปรากฏตามทะเบียนวัด กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ว่า “วัดทุ่งมะสัง” ตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัดอยู่  คือ  “บ้านทุ่งมะสัง”  อยู่ในเขตตำบลหนองกุ่ม  อำเภอบ่อพลอย  จังหวัดกาญจนบุรี  เหตุที่หมู่บ้านนี้ชื่อว่า  “ทุ่งมะสัง”  เพราะก่อนนั้นราว ๓๐ ถอยกลับไป ท้องที่นี้เป็นป่าไม้ธรรมชาติบาง ๆ คือมีต้นไม้ไม่หนาทึบ  สลับกับที่ว่าง และทุ่งหญ้า ลักษณะนี้เรียกว่า “ทุ่ง”  ทุ่งนี้มีต้น “มะสัง” มาก  ต้นมะสังเป็นไม้มีหนามยาว ต้นสูง มีผลเหมือนกับผลมะขวิด  ต่างแต่มีรสเปรี้ยวคล้ายมะขาม ชาวบ้านจึงใช้ผลมะสังนี้ ตำกับพริกรับประทาน  เรียกว่า “น้ำพริกมะสัง” ทุ่งใกล้ ๆ หมู่บ้านนี้ หาต้นมะสังนี้ง่ายมากจึงชื่อหมู่บ้านว่า “ทุ่งมะสัง”

ที่ตั้งของวัด
 วัดทุ่งมะสัง ได้ตั้งขึ้นโดยชาวบ้านทุ่งมะสัง ริเริ่มสร้างกันทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ตั้งแต่ปี ๒๕๗๐ ตั้งอยู่ที่นั่นจนถึงปี ๒๔๘๐ เป็นเพียงสำนักสงฆ์ ไม่ได้ขออนุญาตตั้งวัด มีพระเวียนไปจำพรรษา แต่ก็ไม่ค่อยอยู่ประจำได้นาน  ส่วนมากจึงเวียนไปมา  เพราะหมู่บ้านยังเล็กมาก และกันดาร จนกระทั่ง ปีพ.ศ. ๒๔๘๑ ได้ย้ายจากทิศตะวันตกของหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านคิดว่า ที่ตั้งเดิมนั้นไม่เหมาะสม เพราะอยู่ท้ายหรือหลังหมู่บ้าน วัดต้องหันหน้าไปทางหมู่บ้านหรือจะพูดว่า หมู่บ้านขวางหน้าวัด  เป็นความเชื่อของชาวบ้านว่า อาจจะมีผลกระทบทางไม่เป็นมงคลต่อหมู่บ้านก็ได้ จะหันด้านหน้าวัดไปทางทิศตะวันตกก็ไม่เหมาะสมอีก จึงมองหาทำเลที่ตั้งใหม่ นายขาว คล้ายมี และนายพริ้ง  คล้ายมี เสนอที่ให้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน  ชาวบ้านเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นสถานที่ที่เหมาะสม จึงได้ย้ายมาตั้ง ณ สถานที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อที่ราว ๒๐ ไร่   

การพัฒนาที่ดินของวัด
  ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ วัดอยู่ทิศเหนือถัดจากโรงเรียนซึ่งมีเพียงอาคารหลังเดียวที่ตั้งอยู่คนละฝากทางเดิน มีเนื้อที่ ๕ ไร่  กาลต่อมาชาวบ้านได้ร่วมกันซื้อที่ทางทิศตะวันออกของวัดคนละฝากทางสาธารณะกับวัดซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าสถานที่เดิม ย้ายโรงเรียนออกไปตั้ง ณ ที่ใหม่นั้น พื้นที่เดิมจึงยกให้กับวัด  ปี พ.ศ.๒๕๑๙ พระครูบริรักษ์รัตนากร ได้ซื้อเนื้ออีกที่ติดกับโรงเรียนเก่าทางทิศตะวันตก และทิศใต้ของวัด ซึ่งมีเนื้อที่ไม่มาก เพียงประมาณ ๒ ไร่ ๗๕ ตารางวา จากนายประสิทธิ์ คล้ายมี เพื่อทำให้เขตวัดติดกับทางสาธารณะตลอดแนวทิศใต้ ทางทิศเหนือนายศักดิ์ รักษากุล ได้ถวายที่ทุ่งนา ๗ ไร่ให้กับวัด 
 พ.ศ.๒๕๔๓ พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์(ศุภชัย) มาเป็นเจ้าอาวาส ได้ซื้อที่เพิ่มตามลำดับดังนี้ ๒๕๔๔ ได้ซื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ฝั่งตะวันออกฝั่งถนนตรงข้ามวัดเหนือโรงเรียน วางแผนว่าจะสร้างไปรษณีย์ให้กับชุมชน ปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ซื้อที่ ๓ งาน เขตติดต่อกับวัดด้านตะวันตก ทำเป็นเขตพำนักของแม่ชี  ปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ซื้อที่ทุ่งนาทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดจากชาวบ้านเพื่อไว้ทำเมรุ และแบ่งใช้ชุมชน จำนวน ๙ ไร่ ๓ งาน ปีพ.ศ.๒๕๕๑ ซื่อพื้นที่ติดกันนี้อีก ๖ ไร่ และ ปีพ.ศ.๒๕๕๓ ซื้อที่ติดกันนี้อีก ๒ ไร่   รวมเนื้อที่ด้านทิดตะวันตกเฉียงเหนือของวัด มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ๑๗ ไร่ ๓ งาน  แบ่งยกให้ชุมชน เพื่อขุดสระชุมชน ใช้พื้นที่ ตัวสระ ๑๐ ไร่ ขอบสระทั้ง ๔ ด้านรวม ๔ ไร่ (ยาว ๑๖๐ ม. กว้าง ๑๒ ม. รวม ๑๔ ไร่) เพื่อประโยชน์แก่ชาวบ้าน
 ด้านเสนาสนะ อดีตเจ้าอาวาสสร้างกันมาเรื่อย จนถึงปีพ.ศ.๒๕๔๓ มี ศาลาการเปรียญ เก่า – ใหม่ 
๒ หลัง  อุโบสถจำลอง หอระฆัง ห้องน้ำ ๒ ชุด ชุดพระเณร และชุดประชาชน หอฉัน กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิสงฆ์ ๒ หลัง 
 หลังจาก ปีพ.ศ.๒๕๔๓ มี  อุโบสถผูกพัทธสีมาเรียบร้อย  ,  กุฏิสงฆ์ ๖ ห้อง ๒ ชั้น ทำใหม่ ๒ หลัง  ,กุฏิเดี่ยว ๘ หลัง , ศาลาเก็บของ , อาคารล้างงาน  , พิพิธภัณฑ์  , สำนักงานเจ้าคณะอำเภอบ่อพลอย , ห้องสมุดประชนชน , ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ประกอบด้วยอาคาร ๒ หลัง , อุทยานการศึกษา ประกอบด้วยอาคาร ๔ หลัง , ห้องน้ำห้องส้วมปรับปรุงของเก่าและทำเพิ่มอีกรวมทั้งสิ้นปัจจุบันนี้มี ๘ แห่ง แบ่งเป็นส่วนบริการประชาชน และส่วนพระภิกษุสามเณร , ศาลาหน้าเมรุ ๘ หลัง , ศาลาอันตั้งอยู่หน้าศาลาการเปรียญอีก ๑ หลัง , ร้านบาตร , อาสนะสงฆ์ในศาลา พร้อมฐานชุกกะชี  , ศาลาเล็กภาวนา , กุฏิจิ๋วให้สามเณร ๒๐ หลังเสร็จแล้ว ๑๐ หลัง , ปรับปรุงหอระฆัง , ปรับปรุงห้องคลังพัสดุ , ปรับพื้นที่เทคอนกรีตภายในวัด , ทำถนนคอนกรีตภายในวัด , ทำฝ่าศาลาการเปรียญ , ทำฝ่าหอฉัน , จัดภูมิทัศน์ภายในวัดให้มีสวนไม้รอบอุโบสถ สวนหน้าอุโบสถ สวนรอบศาลาการเปรียญ  และสวนป่า , กำลังก่อสร้างอาคารวิปัสสนากรรมฐาน (หมายเหตุพิเศษ - พระเดชพระคุณอดีตเจ้าคณะจังหวัด – พระธรรมคุณาภรณ์ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้) สร้างอุโบสถให้ และยังจัดพิธีหล่อพระประธานในอุโบสถให้ด้วย)
แผนงานต่อไป  - สร้างอาคารที่พักให้กับผู้ปฎิบัติธรรม – ทำโรงครัวให้ผู้ปฏิบัติธรรม - สร้างอาคาร ๒ ชั้นให้โรงเรียน – สร้างฌาปนสถานใหม่ – สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลข้างฌาปนสถานชุดใหม่ - สร้างอาคารโรงพยาบาลให้โรงพยาบาลบ่อพลอย - สร้างไปรษณีย์ ให้ทางการ ฯลฯ 

เจ้าอาวาสจากอดีตถึงปัจจุบัน
 วัดทุ่งมะสัง แม้ว่าจะตั้งมานาน แต่รายนามเจ้าอาวาสที่ชาวบ้านผู้เฒ่าจำได้บอกกล่าวได้
นั้นก็มีอยู่ ๘ รูปเท่านั้น คือ
๑. ท่านอาจารย์อิ่น (ไม่ทราบนามสกุล และฉายา) 
๒. ท่านอาจารย์ลำไย อยู่สักระยะย้ายกลับไปอยู่บ้านดอนรัก เมืองกาญจน์
๓. อาจารย์หลบ อยู่สักระยะย้ายกลับบ้านเดิมที่บ้านหนองขาว
๔. อาจารย์ชั้น จิตฺตธมฺโม ลาสิกขาบท อยู่ที่บ้านทุ่งมะสัง
๕. อาจารย์เอื้อม (ไม่ทราบฉายา) ลาสิกขาบทอยู่ที่บ้านทุ่งมะสัง
๖. เจ้าอธิการดอกรัก  (๒๔๙๖ – ๒๕๑๑) ท่านมรณภาพที่วัดทุ่งมะสัง
๗. พระครูบริรักษ์รัตนากร(สุจินต์ สิรินฺธโร) (๒๕๑๑ – ๒๕๔๒)
๘. พระราชธรรมโสภณ (ณรงค์ ปริสุทฺโธ) รองเจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรี (๒๕๔๒ – ๒๕๔๓ มิถุนายน)
๙. พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์ (ศุภชัย ปญฺญาวชิโร เหมือนอินทร์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓ และเจ้าคณะอำเภอบ่อพลอย 

ผู้รวบรวมข้อมูล : พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์

รายการพระ

พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์ (ศุภชัย เหมือนอินทร์) ปญฺญาวชิโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 11-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระครูสิริกาญจนาภิรักษ์ ปญฺญาวชิโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด