



ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดสามง่าม (อรัญญิการาม)
รหัสวัด
2730401002
ชื่อวัด
วัดสามง่าม (อรัญญิการาม)
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2447
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 06 เดือน สิงหาคม ปี 2451
ที่อยู่
วัดสามง่าม (อรัญญิการาม)
เลขที่
81
หมู่ที่
5
ซอย
-
ถนน
3233
แขวง / ตำบล
สามง่าม
เขต / อำเภอ
ดอนตูม
จังหวัด
นครปฐม
ไปรษณีย์
73150
เนื้อที่
39 ไร่ - งาน 73 ตารางวา
Line
0986415599
มือถือ
0986415599
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 8850
ปรับปรุงล่าสุด : 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565 22:02:53
ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 20:56:18
ประวัติความเป็นมา
วัดสามง่าม
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
วัดอรัญญิการาม หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดสามง่าม เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๘๑ บ้านสามง่าม หมู่ที่ ๕ ตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พื้นที่ที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๓๙ ไร่ ๗๓ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๔๓๔ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ยาวประมาณ ๕๐ เมตร จรด ริมคลอง
ทิศใต้ ยาวประมาณ ๕๐ เมตร จรด ถนนคงทอง
ทิศตะวันออก ยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร จรด กำแพงวัด
ทิศตะวันตก ยาวประมาณ ๑๐๐ เมตร จรด กำแพงวัด
ที่ธรณีสงฆ์ของวัดสามง่าม
แปลงที่ ๑ มีเนื้อที่จำนวน ๒๕ ไร่ ๑ งาน ๖๖ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๔๓๒ อยู่ที่ ตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐม ตามหนังสือแสดงสิทธิ์คือ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๓๒
แปลงที่ ๒ มีเนื้อที่จำนวน ๑๓ ไร่ ๒ งาน ๗๓ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่๔๓๓ อยู่ที่ ตำบลสามง่าม อำเภอดอนตูม
จังหวัดนครปฐม ตามหนังสือแสดงสิทธิ์คือ น.ส. ๓ ก. เลขที่ ๔๓๓
หลักฐานการตั้งวัด
๑. ได้รับอนุญาตให้สร้างวัดประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๗
๒. ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ เนื้อที่กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร และ
ได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด
ลักษณะพื้นที่ของวัด ด้านหน้าวัดติดถนน ด้านหลังวัดติดคลองพื้นที่เหยียดยาวขนานไปตามถนนและลำคลอง มีจำนวน
๓๙ ไร่เศษ มีกำแพงคอนกรีตล้อม ๓ ด้าน ตะวันออกเฉียงใต้และด้านตะวันตกติดถนน ส่วนทิศเหนือติดลำคลองมีน้ำหลากในฤดูฝน ในบริเวณวัด แบ่งพื้นที่เป็น ๓ ตอน ตอนตะวันออกเป็นเขตพุทธาวาส ตอนกลางเป็นเขตสังฆาวาส ตอนตะวันตกเป็นเขตสุสาน บริเวณอารามเป็นที่ร่มเย็นแบบอรัญญิก หรืออุทยานศาสนามีต้นไม้ใหญ่ นานาพันธุ์ร่มรื่นดี
ประวัติความเป็นมาของวัดสามง่าม
เดิมวัดสามง่าม นั้นตั้งอยู่บ้านดอนตูม หมู่ที่ ๘ ตำบลสามง่าม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ มีเนื้อที่ทั้งหมด หมด ๓๓ ไร่ มีพระอธิการแดงเป็นเจ้าอาวาส และได้พิจารณาเห็นว่า ในหมู่บ้านดอนตูม นั้นมีประชาชนอยู่จำนวนน้อยอีกทั้งประชาชนได้อพยพครอบครัวไปอยู่ในถิ่นอื่นเป็นจำนวนมาก จะทำให้วัดไม่เจริญขึ้นพระอธิการแดง จึงได้พิจารณาย้ายวัดมาตั้งขึ้นที่บ้านสามง่าม หมู่ที่ ๕ ตำบลสามง่าม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ มาจนทุกวันนี้ ต่อมา เจ้าอธิการเต๋ คงทอง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ครั้งมาใน พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสามง่าม แต่เดิมมาวัดนี้ยังไม่เจริญทั้งในด้านวัตถุ และด้านการเรียนพระปริยัติธรรม ตลอดทั้งการศึกษาของประชาชน และการอนามัย การคมนาคม ไปมาติดต่อกันด้วยความลำบากยิ่ง เมื่อเจ้าอธิการเต๋ คงทอง ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลแล้วท่านได้พิจารณาในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ท่าน
จึงได้พยายามทำนุบำรุงวัดและทำการจัดการก่อสร้างถาวรวัตถุให้เจริญถาวรพร้อมทั้งบำรุงในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมและการศึกษาของเยาวชนพร้อมทั้งในด้านการอนามัย การคมนาคม ดังได้กล่าวต่อไปนี้ การสร้างถาวรวัตถุภายในวัดนั้นท่านได้พยายามก่อสร้างบำรุงสิ่งต่างๆ เช่น สร้างกุฏิถาวรขึ้นภายในวัด รวม ๑๑ หลัง หอสวดมนต์ ๑ หลัง โรงเรียนพระปริยัติธรรม ๑ หลัง ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง เมรุเผาศพตามสุขลักษณะ ๑ หลัง และได้สร้างกำแพงวัดโดยรอบ สร้างอุโบสถขึ้นใหม่ ๑ หลังเป็นแบบจตุรมุข พร้อมศาลาจตุรมุข ทั้ง ๔ ด้าน ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๐๖ ทำการผูกพัทธสีมาในเดือน มีนาคม ๒๕๐๙ จนกระทั่ง เจ้าอธิการเต๋ ถึง มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๔ รวมอายุได้ ๙๐ ปี พอดี ต่อมาพระอธิการแย้ม ฐานยุตฺโต ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๕ พระอธิการแย้ม ฐานยุตฺโต ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสและปกครองพระภิกษุสามเณรอย่างมีระเบียบทั้งยังได้พัฒนาวัดให้รุ่งเรืองขึ้น ๆ ไป เจริญรอยตามอย่างเจ้าอธิการเต๋ คงทอง ทุกประการ
ประวัติอุโบสถหลังเก่า
ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้า ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตอุโบสถ เลขที่ ๔๗/๓๒๗ วัดอรัญญิการาม ตำบลบางปลา ท้องที่อำเภอบางปลา แขวงเมืองนครไชยศรี โดยยาว ๑๒ วา ๒ ศอก กว้าง ๘ วา ๒ ศอก นายฉาย กำนัน กับนายแคล้ว ผู้ใหญ่บ้านได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณา ขอเป็นที่วิสุงคามสีมา พระเจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๙ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ พระพุทธศาสนกาล ๒๔๕๑ พรรษา เป็นวันที่ ๑๔ ๔๖๕ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปูชนียวัตถุ - โบราณวัตถุ
๑. พระประธานที่ตั้งสถิตอยู่ในอุโบสถของวัดนี้ เป็นพระประธานที่สำคัญองค์หนึ่ง คือเป็นพระที่สร้างขึ้นมา เมื่อ พ.ศ.
๒๕๒๓ ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๖๙ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่ประชาชนในเขต มีความศรัทธาเลื่อมใสและเป็นพระคู่กับวัดจนทุกวันนี้
๒. พระประธานที่ตั้งสถิตอยู่ในหอสวดมนต์ เป็นพระประธานที่สำคัญอีกองค์หนึ่งเหมือนกัน คือ เป็นพระที่สร้างขึ้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลที่ ๕ เป็นพระประธานขนาดใหญ่ คือ มีหน้าตักกว้าง ๔๕ นิ้ว สูง ๕๐ นิ้ว และทำด้วยทองสัมฤทธิ์เป็นพระที่อยู่คู่วัดนี้มาตลอด ตั้งแต่สร้างวัดนี้ขึ้นมา และเป็นที่ศรัทธานับถือของชาวบ้าน ในเขตนี้ตลอดมา
เสนาสนะและสิ่งปลูกสร้าง
๑. อุโบสถ
กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ลักษณะทั่วไปเป็นอุโบสถจตั ุรมุข อุโบสถมีเสาหาญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๔๑ เมตร สูง ๒๑ เมตร มีกำแพงแก้วชั้นใน กว้าง ๔๒ เมตร ยาว ๕๒ เมตร และมีกำแพง ชั้นนอกสุด โดยรอบมีความยาว ๑๓๖๐ เมตร ความสูง ๒ เมตร มีประตูเข้า ๔ ทิศ มีท่อระบายและฟุตบาทด้านนอก กำแพงโดยรอบ
๒. ศาลาการเปรียญ
กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๒.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ลักษณะทั่วไปเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง
๓. หอสวดมนต์
กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ลักษณะทั่วไปเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง
ชั้นล่างเป็นหอฉัน ชั้นบนเป็นหอสวดมนต์
๔. กุฏิ จำนวน ๒ หลัง คือ
หลังที่ ๑ กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ลักษณะทั่วไปเป็นกุฏิที่ก่อด้วย อิฐถือปูน
ชั้นบนเป็นไม้หลังคามุงกระเบื้อง มีหอ้ งทั้งหมด ๕ ห้อง ข้างล่างมีห้องน้ำในตัว
หลังที่ ๒ กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒ ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนกับ หลังที่ ๑
ปูชนียวัตถุของวัดคือ
๑. พระประธานที่อุโบสถ
๒. พระประธานสร้างเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์ ตรงกับรัชกาลที่ ๕
นามเจ้าอาวาส พระครูประยุตนวการ พ.ศ.๒๕๒๕ - ๒๕๖๐
พระศรีธีรวงศ์ เจ้าคณะอำเภอดอนตูม วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐ รักษาการเจ้าอาวาส รูปปัจจุบัน
มีหน่วยงานของทางราชการ ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณของวัด คือ
โรงเรียน ๒ แห่ง คือ
- โรงเรียนวัดสามง่าม (คงทองอนุสรณ์)
- โรงเรียนคงทองวิทยา
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู