เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดลำเหย

รหัสวัด
2730403001

ชื่อวัด
วัดลำเหย

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 22 เดือน พฤษภาคม ปี 2347

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 18 เดือน มิถุนายน ปี 2536

ที่อยู่
วัดลำเหย

เลขที่
74

หมู่ที่
4

ซอย
-

ถนน
หนองปลาไหล

แขวง / ตำบล
ลำเหย

เขต / อำเภอ
ดอนตูม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73150

เนื้อที่
15 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 1325

ปรับปรุงล่าสุด : 26 กันยายน พ.ศ. 2566 22:45:32

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 19:45:59

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดลำเหย
ที่ตั้งวัดปัจจุบัน
วัดลำเหยเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ หมู่ที่ ๔ ตำบลลำเหย อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
พื้นที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่ ๕๑ ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับที่เอกชน
ทิศใต้ ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทางสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับที่เอกชน
ที่ธรณีสงฆ์
มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๓ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๘๒๙
ความเป็นมาของวัดลำเหยแต่เดิม
ตามทะเบียนของวัดที่คัดลอกมาสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ว่า “วัดลำเหย” ได้เริ่มสร้างวัดวันที่ ๒๒ พฤษภาคม
พ.ศ. ๒๓๔๗ วัดลำเหยเดิมมีชื่อว่า วัดโพธิ์ชายนา สร้างอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านหนองบอน เดี๋ยวนี้ ตามคำบอก
เล่าของคนเฒ่าคนแก่บอกว่าเหตุ ที่วัดเดิมมีชื่อว่าวัดโพธิ์ชายนานั้น เพราะบริเวณรอบๆ ที่สร้างวัดมีแต่นาล้อมรอบและที่เป็นนานั้น มีแต่ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่ตามชายนามากจึงเป็นเหตุที่มาของการตั้งชื่อวัดว่า วัดโพธิ์ชายนา ประชาชนส่วนมากที่มาอาศัยที่ทำกินในแถบนี้ จะเป็นคนลาว รองลงมาจะเป็นคนไทยและจีน อาชีพส่วนใหญ่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน
กาลต่อมา ได้ย้ายวัดมาสร้างในสถานที่ใหม่ คือ เป็นที่ตั้งของวัดลำเหยในปัจจุบันได้ถามคนเฒ่าคนแก่ว่า เจ้าอาวาสรูปใดที่เป็นผู้ที่ดำริย้ายวัดจากที่เดิมมาสร้างในสถานที่ใหม่นี้ ปรากฏว่าไม่มีท่านผู้ใดทราบว่า เจ้าอาวาสรูปใด เป็นผู้ย้ายวัดเพราะเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ไม่ได้มีการบันทึกประวัติของวัด ไว้เลยแม้แต่ทางราชการ ทางวัด ก็ได้ไปติดตามเรื่องประวัติของวัดลำเหย ก็ไม่มีรายละเอียดให้ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ว่า วัดลำเหยหรือวัดโพธิ์ชายนานั้น สร้างมาเป็นเวลานานเกือบสองร้อยปี สาเหตุที่ย้ายวัดจากที่เดิมมาสร้างในที่ใหม่นี้ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่จะพอเชื่อถือได้บอกว่าวัดที่สร้างอยู่ที่เดิมนั้นเป็นทุ่งนาเป็นที่ราบต่ำ เมื่อถึงหน้าน้ำป่า หรือ น้ำปี ก็จะไหลหลากท่วมทุกปี จึงย้ายวัดมาสร้างในสถานที่ใหม่เพราะพื้นที่ที่จะสร้างวัดใหม่นี้เป็นที่ดอน เปลี่ยนชื่อวัดใหม่จาก “วัดโพธิ์ชายนา” มาเป็น “วัดลำเหย” เหตุที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดลำเหยนั้น ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ เล่าว่าในสมัยก่อนนั้นเมื่อถึงหน้าน้ำปีน้ำจะไหลหลากเจิ่งนองท่วมท้องนา ไหลไปตามลำคลองใหญ่ชื่อว่าคลองวังไทร แล้วไหลเข้าสู่คลองตำลึงไหลผ่านไปตามทุ่งนา ท้องนา และตามลำรางเรื่อยมาจน ถึงข้างโรงเรียนเพราะลำรางนี้ เป็นที่ต่ำมากน้ำก็จะขังอยู่ที่
ลำรางนี้น้ำจะไหลไปไหนไม่ได้อีกแล้ว น้ำที่ลำราง นี้ก็จะถูกธรรมชาติ จากแดดบ้างลม บ้างแผดเผา พัดพาให้น้ำในลำรางค่อยๆแห้งระเหยหมดไปในที่สุด ดังนี้ จึงเป็นเหตุที่มาของการเปลี่ยน ชื่อวัดใหม่จากวัด “โพธิ์ชายนา” มาเป็น “วัดลำเหย” โดยตัดเอาคำว่าลำ” มาจากคำว่า “ลำราง” คือตัดเอาคำหน้ามาคำหนึ่งและตัดเอาคำว่า “เหย” มาจากคำว่า “น้ำระเหย” มาจนถึงทุกวันนี้ การเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็นวัดลำเหยนั้นตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่บอกว่ามาเปลี่ยนชื่อวัดในสมัยเจ้าอธิการจอน นุ่มกัลยา ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลำเหยในสมัยนั้น
ยุคที่มีการก่อสร้างอุโบสถครั้งแรกและครั้งต่อมา
วัดลำเหยตามทะเบียนประวัติระบุว่าวัดลำเหยสร้างอุโบสถหลังแรกจนได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙
การสร้างอุโบสถหลังแรกไม่มีการบันทึกประวัติไว้เป็นหลักฐานว่า เจ้าอาวาสรูปใด เป็นผู้สร้างเพียง แต่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่พอจะเชื่อถือได้บอกว่าอุโบสถหลังแรกของวัดลำเหย นั้นได้สร้างมานานเกินหนึ่งร้อยปีและบอกว่าสร้างสมัยเจ้าอธิการจอน นุ่มกัลยา เป็นเจ้าอาวาส
ครั้งต่อมาได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นรูปทรงไทย ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกา ซุ้ม
ประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายไทยประดับกระจกสี เป็นอาคารชั้นเดียว พื้นใต้ถุนสูง โครงสร้างส่วนใหญ่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลำดับ
๑. พระอาจารย์พุด ทาบ้านฆ้อง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ได้เริ่มก่อสร้างวัดขึ้น มาเป็นครั้งแรก วัดสร้างอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านทุ่งหนองบอนเดี๋ยวนี้มี ชื่อว่า วัดโพธิ์ชายนา ตามคำบอกเล่าคนเฒ่าคนแก่บอกว่าในสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสได้สร้างกุฏิขึ้น ๒ หลัง เสาและเครื่องบนเป็นไม้พื้นก็เป็นไม้ สร้างในวันเดือนปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน พระครูนันทสิริคุณ เจ้าอาวาสวัดลำเหยในปัจจุบัน ได้ติดตามเรื่องของวัดลำเหยได้รับหลักฐานมาจาก นายภิญโญ คชศิลา ศึกษาธิการอำเภอดอนตูม ในอดีตได้ไปคัดลอกสำเนาทะเบียน ประวัติวัดลำเหยที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมนำมาให้ ในสำเนาทะเบียนบอกว่าวัดลำเหยสร้างครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๗ ต่อมาพระอาจารย์พุด ทาบ่านฆ้อง ได้ลาสิกขาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่
๒. พระอาจารย์คุด ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ บอกว่าสมัย พระอาจารย์คุด นั้นไม่ได้มีการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมได้แต่ปกครองดูแลตามหน้าที่ต่อมาก็ลาสิกขา
๓. พระอาจารย์อินทร์ นาคมี เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่บอกว่าพระอาจารย์อินทร์ นาคมี นั้นไม่ได้มีการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติมได้แต่ปกครองดูแลตามหน้าที่ ต่อมาก็ลาสิกขา
๔. เจ้าอธิการจอน นุ่มกัลยา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมาตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ บอกเจ้าอธิการจอน นุ่มกัลยา ได้พัฒนาวัดดังนี้
๔.๑ ได้สร้างกุฏิขึ้น ๒ หลัง เสาและครึ่งบนเป็นไม้ พื้นกระดานเป็นไม้ หลังคามุงกระเบื้อง และได้สร้างศาลาการเปรียญใช้ในการบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง ปลูกสร้างด้วยเสาและครึ่งบนทำด้วยไม้พื้นกระดาน หลังคามุงด้วยสังกะสี
๔.๒ ได้สร้างอุโบสถหลังแรกของวัดลำเหย ก่อด้วยอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่มีเสาฉาบปูน ขื่อไม้จริงมีเสาหาน ๓ ต้น แบบทรงไทย หน้าที่การปกครองดูแลดีมาตลอดมาจนถึงมรณภาพ
๕. เจ้าอธิการปาน เพชรรัตน์ ท่านได้พัฒนาวัดดังนี้
๕.๑ สร้างกุฏิสงฆ์จำนวน ๗ ห้อง ๑ หลัง เป็นทรงไทย เสาเเละครึ่งบนเป็นไม้จริง พื้นกระดาน หลังคามุงกระเบื้อง
๕.๒ สร้างอาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารเรียนชั่วคราวปลูกสร้างอยู่ในวัด จำนวน ๔ ห้อง เสาไม้จริงครึ่งบนทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยจาก ไม่มีผนัง ชั้นเดียวพื้นเป็นดิน
๕.๓ ได้สร้างหอระฆังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
เจ้าอธิการปาน เพชรรัตน์ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลำเหย และได้รับตำแหน่งเจ้าคณะหมวด สังกัดมณฑล นครชัยศรีในสมัยนั้นท่านได้ทำหน้าที่ปกครองดูแลวัดมาจนถึงมรณภาพ
๖. พระอธิการผิน สุคนฺโท ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมาได้พัฒนาวัด ดังนี้
๖.๑ ได้บูรณปฏิสังขรณ์กุฏิหลังเก่าที่ทรุดโทรมมาปรับปรุงใหม่หนึ่งหลัง
๖.๒ ได้สร้างกุฏิ ๓ ห้อง ๑ หลัง เป็นเสาปูนต่อด้วยเสาไม้จริงครึ่งบนไม้จริง พื้นกระดาน หลังคามุงกระเบื้อง
๖.๓ สร้างบ่อบาดาล ดำเนินการเจาะบ่อบาดาลที่ไว้ใช้ในวัดและในหมู่บ้านเป็นครั้งแรก บ่อขนาด กว้าง ๔ นิ้ว ลึก ๑๑๒ เมตร ตัวเรือนแทงก์เป็นไม้จริงเนื้อแข็งทั้งหลัง
๖.๔ สร้างป้ายชื่อวัดลำเหยชนิดถาวรเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังสร้างติดกับถนนคงทองสร้างมาได้ ๑๐ ปีเศษ ก็ถูกรถยนต์ชนพังลงมาทั้งหลัง
๖.๕ จัดซื้อที่ดิน ๑ แปลงไว้สำหรับขยายโรงเรียนออกจากวัดไปสร้างอาคารเรียนในที่ใหม่ เพราะต่อไปมีเด็กนักเรียนมากขึ้น ต่อมาอธิการผิน สุคนฺโท ได้ลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕
๗. พระครูนันทสิริคุณ ได้รับรักษาการเจ้าอาวาสวัดลำเหย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ จนถึง พ.ศ.๒๕๖๓ ได้พัฒนาวัด ดังต่อไปนี้
๗.๑ พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้สร้างศาลาการเปรียญวัดลำเหยลักษณะทรงไทยเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง
๗.๒ พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้สร้างศาลาประชาคม ๑ หลัง แบบทรงไทยเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ครึ่งบนไม้จริง หลังคามุงกระเบื้อง
๗.๓ ได้สร้างศาลาฌาปนสถานพร้อมเตาเผาเป็นแบบทรงไทย เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก
๗.๔ ได้สร้างกุฏิแบบทรงไทย ๑ หลัง ๙ ห้อง ห้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง
๗.๕ สร้างโต๊ะอาหารให้โรงเรียนวัดลำเหย จำนวน ๑๔ ชุด
๗.๖ ซื้อดินถมปรับพื้นที่บริเวณวัดจำนวน ๒๖๐ คัน และซื้อลูกรังถมถนนเข้าวัด ๑๐ คัน
๗.๗ ซื้อที่ดินขยายเขตวัดทางด้านทิศเหนือ จำนวน ๑ ไร่ ๑ งาน
๗.๘ สร้างกำแพงวัดลำเหยเทคอนกรีตเสริมเหล็กยาว ๑๙๖.๐๐ เมตร
๗.๙ สร้างห้องน้ำห้องสุขาแบบคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้อง จำนวน ๑๔ ห้อง
๗.๑๐ ซื้อที่ดินถมปรับพื้นที่บริเวณวัด จำนวน ๑๔ ห้อง
๗.๑๑ สร้างอุโบสถหลังใหม่เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นรูปทรงไทย ประกอบด้วย ช่อฟ้าใบระกา ซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นลายไทยประดับกระจกสี เป็นอาคารชั้นเดียว พื้นใต้ถุนสูง โครงสร้างส่วย ใหญ่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก
๗.๑๒ ได้สร้างซุ้มประตูติดกับถนนคงทองใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลัง
๗.๑๓ สร้างหอฉันและหอสวดมนต์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นแบบทรงไทย ๒ ชั้น สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหลังมุงด้วยกระเบื้องเคลือบ กว้าง ๑๖.๖๐ เมตร ยาว ๒๘.๐๐ เมตร
๗.๑๔ จัดสร้างโรงครัว เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้ซื้อดิน มาถมที่เพื่อปรับพื้นที่ให้สูงพ้นจากน้ำท่วมจำนวน ๒๒ คัน และซื้อทรายปรับพื้นที่หน้าดินอีก ๒๐ คัน เป็นเสาปูนพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเป็นเหล็ก
๗.๑๕ พ.ศ. ๒๕๔๓ - พ.ศ. ๒๕๔๔ ดำเนินการสร้างกุฏิทรงไทย ๒ ชั้น ครึ่งบนสร้างด้วยไม้สัก ชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๒ หลัง
๗.๑๖ ดำเนินการสร้างหอระฆัง ๒ ชั้น เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะ ทรงไทยจัตุรมุข มียอดมณฑป ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร
๗.๑๗ ดำเนินการสร้างวิหารบูรพาจารย์ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคา มุงกระเบื้องสุโขทัย พื้นปูด้วยหินแกรนิต ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๔ เมตร
๗.๑๘ พ.ศ. ๒๕๔๙ ดำเนิน การก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ หลังคาโครงเหล็ก มุงสังกะสีซิงค์ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๒๑ เมตร
๗.๑๙ พ.ศ. ๒๕๕๐ ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญกุศล ชั้นเดียวครึ่งบน สร้างด้วยไม้ ชั้นล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคามุงกระเบื้องกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ
พระพุทธชินวรพระประธานในอุโบสถ
วิหารบูรพาจารย์
รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสวัดลำเหย
หลวงพ่อจอน หลวงพ่อปาน หลวงพ่อเมฆ
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
อุโบสถหลังที่สอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒
วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘
ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗
กุฏิสงฆ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๒๕๔๘
หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖
ฌาปนสถาน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒
ได้รับพระราชวิสุงคามสีมา
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖
ผูกพัทธสีมา
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑
ลำดับรายนามเจ้าอาวาส
รูปที่ ๑ พระอาจารย์พุด
รูปที่ ๒ พระอาจารย์คุด
รูปที่ ๓ พระอาจารย์อินทร์
รูปที่ ๔ เจ้าอธิการจอน
รูปที่ ๕ เจ้าอธิการปาน
รูปที่ ๖ พระอธิการผิน สุคนฺโท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ ( ลาสิกขา )
รูปที่ ๗ พระครูนันทสิริคุณ (หลวงพ่อสุด นนฺทโก ) พ.ศ. ๒๕๑๖ รักษาการแทนเจ้าอาวาส พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดลำเหย  วันพุธที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒.๓๕ น. (มรณภาพ) 
รูปที่ ๘ พระปลัดพล ติกฺวีโร พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึงปัจจุบัน

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระปลัดพล ติกฺขวีโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 10-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 02-09-2565

พระเทพฤทธิ์ พุทฺธสโร

ข้อมูลเมื่อ : 23-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 10-02-2565

พระชาญ สนฺติปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 10-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 18-06-2566

พระวิริยะ วิริโย

ข้อมูลเมื่อ : 23-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 10-02-2565

พระวุฒิภัทร อาทโร

ข้อมูลเมื่อ : 23-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 10-02-2565

พระธัญธร สิริธโร

ข้อมูลเมื่อ : 23-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 02-06-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด