เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดบางหลวง

รหัสวัด
2730503002

ชื่อวัด
วัดบางหลวง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 10 เดือน มีนาคม ปี 500

ที่อยู่
วัดบางหลวง

เลขที่
43

หมู่ที่
6

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
บางหลวง

เขต / อำเภอ
บางเลน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73190

เนื้อที่
61 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา

มือถือ
0812796104

คุณสมบัติวัด

เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 2386

ปรับปรุงล่าสุด : 28 กันยายน พ.ศ. 2566 11:22:49

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 14:25:37

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดบางหลวง

            วัด บางหลวง  ชื่อที่ชาวบ้านเรียก     วัดบางหลวง  ตั้งอยู่บ้านเลขที่  ๔๓   บ้าน  บางหลวง      หมู่ที่  ๖   ตำบล

 บางหลวง        อำเภอ  บางเลน        จังหวัด  นครปฐม

สังกัดคณะสงฆ์   มหานิกาย

 
การตั้งวัด
            ได้ตั้งวัดเมื่อ  ปี พ.ศ.  ๒๔๕๙
            ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๑๐  เดือนมีนาคม   พุทธศักราช  ๒๕๑๕
            เขตวิสุงคามสีมากว้าง   ๔๐   เมตร   ยาว   ๘๐   เมตร
            ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด  มีเนื้อที่  ๖๑  ไร่  ๑  งาน  ๘๔  ตารางวา   โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นโฉนดเลขที่  ๘๒๖๗
            กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ วัด
อาณาเขต
            ทิศเหนือ                ยาว    ๖     เส้น   -     วา    -      ศอก    จดถนนหลวงสายกระตีบ-บางหลวง
            ทิศใต้                   ยาว   ๑๑     เส้น   ๕    วา    -      ศอก    จดคลองบางหลวง
            ทิศตะวันออก           ยาว    ๖     เส้น    -    วา    -      ศอก    จดตลาดบางหลวง
            ทิศตะวันตก            ยาว    ๙     เส้น    -    วา    -      ศอก    จดที่ดินนายเมี้ยน นิลสาลิกา
ที่ธรณีสงฆ์
             ที่ธรณีสงฆ์  มี  ๔  แปลง   รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น  ๑๕๑  ไร่   ๕   งาน   ๓๖   ตารางวา   คือ
             ๑)   ตั้งอยู่ที่  ตำบลบางหลวง   อำเภอบางเลน   จังหวัดนครปฐม  มีเนื้อที่  ๓๔  ไร่  ๒  งาน  -  ตารางวา   มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ  โฉนดที่ดิน  เลขที่  ๘๒๓๘
             ๒)   ตั้งอยู่ที่           ตำบลบางหลวง   อำเภอบางเลน   จังหวัดนครปฐม  มีเนื้อที่  ๑๐  ไร่  -  งาน  -  ตารางวา   มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ  โฉนดที่ดิน  เลขที่  ๑๔๔๙๘
             ๓)   ตั้งอยู่ที่           ตำบลบางตาเถร   อำเภอสองพี่น้อง   จังหวัดสุพรรณบุรี  มีเนื้อที่  ๒๙  ไร่  ๓  งาน  ๓๖  ตารางวา   มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน คือ  โฉนดที่ดิน  เลขที่  ๓๙๘๘
            
 
ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ
           ลักษณะพื้นที่วัด เป็นที่ราบลุ่มมีแมกไม้นานาพันธ์ปลูกไว้ทั่วบริเวณวัด  ล้อมรอบไปด้วยหมู่บ้านต่างๆ ถึง ๙ หมู่บ้าน  ทิศตะวันออกเป็นเขตเทศบาลตำบลบางหลวง และหมู่บ้านหมู่ที่ ๑,๒,๓  ทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน หมู่ที่ ๕, ๖, ๗, ๘, ๑๐  ทิศเหนือติดถนนหลวงและเป็นที่ตั้งของชาวบ้านหมู่ที่ ๖   ทางทิศใต้มีคลองน้ำไหลผ่าน และมีทุ่งนาติดอยู่ของวัด ห่างจากวัด ๕๐ เมตรมีหมู่บ้านอีกหมู่คือหมู่ ๔  สถานีตำรวจภูธรห่างจากวัดไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑ กม.  การคมนาคมสะดวกสบาย มีถนนเข้าออกได้ทั้งสี่ทิศ  มีทางเรือวิ่งเลียบผ่านชายวัดทางทิศใต้ออกแม่น้ำท่าจีน
 
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ
          อุโบสถ  กว้าง  ๙  เมตร   ยาว  ๒๔  เมตร   เริ่มสร้างเมื่อปี  พ.ศ. ๒๕๑๔   เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบทรงไทย มีช่อฟ้าใบระกา  ตามแบบศิลปากร แบบ ก.  สร้างเสร็จปี พ.ศ. ๒๕๒๗  ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติ และพระเจ้าสิบชาติ
          ศาลาการเปรียญ  กว้าง  ๑๘  เมตร   ยาว  ๓๕  เมตร  เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑  เป็นอาคารไม้สองชั้น  แบบทรงไทย  มีช่อฟ้า สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง   สร้างเสร็จปี  พ.ศ. ๒๕๐๔
          หอสวดมนต์  กว้าง  ๑๕  เมตร   ยาว  ๓๑  เมตร  เริ่มสร้างปี พ.ศ.๒๕๒๓  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก  แบบทรงไทย สองชั้น  มีช่อฟ้าใบระกา  ชั้นบนเป็นหอสวดมนต์  ชั้นล่างเป็นหอฉัน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง  สร้างเสร็จปี  พ.ศ.๒๕๒๖
          วิหาร  กว้าง  ๘  เมตร   ยาว  ๑๕  เมตร  เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดหินแกรนิตทั้งหลัง  แบบทรงไทย มีช่อฟ้าใบระกา  สร้างเสร็จปี  พ.ศ. ๒๕๔๔
          กุฏิสงฆ์   จำนวน  ๙  หลัง   เป็นอาคารไม้  ๕  หลัง   ครึ่งตึกครึ่งไม้  ๔  หลัง 
          ศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาปิดทองรอยพระพุทธบาท)   กว้าง  ๑๒  เมตร   ยาว  ๒๕  เมตร  เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว  แบบทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ 
          ศาลาบำเพ็ญกุศล  จำนวน  ๒  หลัง  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง  ๒  หลัง
 
นอกจากนี้มีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ คือ
          ศาลาท่าน้ำ   ๑  หลัง  กว้าง  ๑๒  เมตร   ยาว   ๑๔   เมตร  เป็นอาคารอาคารคอนกรีตชั้นเดียว  แบบทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๕๔
          โรงเรียนพระปริยัติธรรม  กว้าง  ๗  เมตร  ยาว  ๑๐  เมตร  เป็นอาคารไม้สองชั้น  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔         
          โรงครัว  กว้าง ๑๐ เมตร  ยาว ๑๕ เมตร  เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้น  สร้างปี พ.ศ. ๒๕๒๕
          กุฏิชี  กว้าง  ๑๒  เมตร   ยาว   ๑๔  เมตร  เป็นอาคารไม้สองชั้น  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
          เมรุ  กว้าง  ๗  เมตร  ยาว  ๑๒  เมตร  สร้างด้วยคอนกรีตทั้งหลัง  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗
            ศาลาพักศพ  กว้าง  ๖  เมตร  ยาว  ๙  เมตร  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  สร้างเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๒๔
            หอระฆัง   สร้างด้วยคอนกรีตทั้งหลัง  สร้างเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๓๔
            โรงเก็บครุภัณฑ์  กว้าง ๘ เมตร   ยาว  ๑๑ เมตร  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว   สร้างปี พ.ศ.๒๕๔๓
            ห้องสมุด  กว้าง  ๕  เมตร   ยาว  ๙  เมตร  เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว  สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๔
            เชิงตะกอน  ชาวจีนได้ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗
 

ปูชนียวัตถุ

๑) พระประธานประจำพระอุโบสถ  ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง  ๘๐  นิ้ว  เป็นพระประธานประจำพระอุโบสถหลังแรก หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เมื่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่เสร็จก็ได้นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถ  เป็นที่สักการะบูชา และเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดตลอดมาจนถึงปัจจุบัน  จะเปิดให้ประชาชนปิดทองในงานประจำปี
๒) รอยพระพุทธบาท  กว้าง  ๓๓  นิ้ว   ยาว  ๘๙  นิ้ว  เป็นปูชนียวัตถุที่เก่าแก่มาก ไม่ทราบว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ไหน มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด (เริ่มสร้างวัด ประมาณปี พ.ศ.๒๔๒๐)  ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ  ศาลาอเนกประสงค์ ประชาชนจะปิดทองตั้งแต่เริ่มสร้างในวันขึ้น ๗-๘-๙ ค่ำ เดือน ๔  ของทุกปี จนถึงปัจจุบัน
๓) พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร  สูง  ๑.๙๐  เมตร  ประดิษฐานอยู่  ณ  พระอุโบสถ  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓  สร้างพร้อมพระประธานประจำอุโบสถ หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้าง
๔) พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์  สูง  ๑.๗๐  เมตร ประดิษฐาน ณ  ศาลาอเนกประสงค์  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕  หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้าง
๕) พระศรีอริยเมตไตย์  หน้าตักกว้าง  ๓๙  นิ้ว  ประดิษฐาน ณ  ศาลาอเนกประสงค์  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ หลวงปู่ทา วัดพะเนียงแตกเป็นผู้สร้าง
๖) รูปหล่อหลวงปู่ทา (พระครูอุตตรการบดี) วัดพะเนียงแตก และหลวงปู่วัน สุวัณโณ) หน้าตักกว้าง  ๒๙  นิ้ว ประดิษฐาน ณ  วิหารวัดพบางหลวง  เป็นรูปเคารพที่ประชาชนร่วมกันหล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ 
๗) พระพุทธรูปปางถวายเนตร  สูง  ๒.๑๐  เมตร  ประดิษฐาน ณ  พระอุโบสถ  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
๘) รูปหล่อหลวงพ่อผ่อง (พระครูประภัศร์ธรรมคุณ)  หน้าตักกว้าง ๒๙  นิ้ว  ประดิษฐาน  ณ  พระวิหาร  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ 
๙) พระพุทธรูปปางสมาธิ (หลวงพ่อเมตตา)  หน้าตักกว้าง  ๘๐  นิ้ว  ประดิษฐาน ณ  มณฑปหลวงพ่อเมตตา  สร้างปี พ.ศ. ๒๕๔๓
 

โบราณวัตถุ

)  ซุ้มพระ ๒ หลัง   รูปทรงคล้ายมณฑป ปูนปั้นลวดลายสวยงามมาก สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป อยู่หลังพระอุโบสถหลังเก่า   (พระอุโบสถหลังเก่ารื้อทิ้งแล้ว)  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗
๒) ธรรมาสน์ ๒ หลัง  หลังแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑  หลังที่สองสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ กรมศิลปากรจดขึ้นทะเบียนไว้แล้ว  ประดิษฐานอยู่บนศาลาการเปรียญ
๓) เจดีย์รูปทรงเรือ ๒ หลัง  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙  กรมศิลปากรจดขึ้นทะเบียนไว้แล้ว  อยู่ข้างพระอุโบสถหลังเก่า
 

การศึกษา

ได้มีการเปิดการสอน คือ

)  โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม                เปิดสอนเมื่อ  พ.ศ.๒๔๗๔
)   สอนวิชาพระพุทธศาสนาแก่นักเรียน  ๓  โรงเรียน  คือ  โรงเรียนบางหลวงวิทยา  โรงเรียนเจี้ยนหัว  และโรงเรียนวัดบางหลวง  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.๒๕๔๓  จนถึงปัจจุบัน
 
นอกจากนี้ยังมี
) โรงเรียนประถมศึกษาวัดบางหลวง  ตั้งอยู่ในที่ดินวัด  เนื้อที่  ๕  ไร่  ๑  งาน   -  ตารางวา
๒) สำนักงานสหกรณ์การเกษตรปฏิรูปที่ดินอำเภอบางเลน
 
มีภิกษุจำพรรษา  ประมาณปีละ  ๔๐  รูป     สามเณร   ๓   รูป
ลำดับเจ้าอาวาส
                   รายนามเจ้าอาวาสตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน                          จำนวน    ๑๔   รูป
รูปที่ ชื่อ  -  ฉายา ปี  พ.ศ หมายเหตุ
หลวงพ่อทิม ประมาณปี ๒๔๒๐ ไม่ทราบประวัติแน่ชัด
หลวงพ่อพุก ไม่ทราบปีแน่ชัด ไม่ทราบประวัติแน่ชัด
หลวงพ่อชิด ไม่ทราบปีแน่ชัด ไม่ทราบประวัติแน่ชัด
หลวงพ่อรอด ไม่ทราบปีแน่ชัด ไม่ทราบประวัติแน่ชัด
พระอาจารย์แช่ม  สุขสมกิจ ๒๔๕๐  -  ๒๔๖๐ ลาสิกขา
หลวงพ่อวัน  สุวณฺโณ ๒๔๖๐  -  ๒๔๙๔ ย้ายมาจากวัดห้วยพลู นครชัยศรี
พระครูประภัศร์ธรรมคุณ  น.ธ.ตรี ๒๔๙๕  -  ๒๕๒๕ ลาออก
พระครูใบฎีกาสง่า  ธมฺมโชโต  น.ธ.เอก ๒๕๒๖  -  ๒๕๓๑ มรณภาพ
พระอธิการจำรัส ธมฺมสุทฺโธ น.ธ.เอก ๒๕๓๑ - ๒๕๓๗ มรณภาพ
๑๐ พระครูปลัดมนตรี (แป้น)  สุธีโร น.ธ.เอก ๒๕๓๘ มรณภาพ
๑๑ พระชาติ  ชาตเมโธ  น.ธ.เอก ๒๕๓๘  -  ๒๕๔๑ รักษาการแทนเจ้าอาวาส (ลาสิกขา)
๑๒ พระสวัสดิ์  ธมฺมสุนฺทโร  น.ธ.เอก   ๒๕๔๑  -  ๒๕๔๒ รักษาการแทนเจ้าอาวาส (ลาสิกขา)
๑๓ พระมหาปรีชา  ภูริปญฺโญ ป.ธ.๗  น.ธ.เอก ๒๕๔๒  -  ๒๕๖๑ ย้ายมาจากวัดพระงาม  นครปฐม
ลาออกจากเจ้าอาวาส
๑๔ พระครูสังฆรักษ์เกรียงศักดิ์  ถาวโร ๒๕๖๒ - ปัจจุบัน แต่งตั้งเมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๒
                                                     

ประวัติวัดบางหลวง

                 วัดบางหลวงเริ่มสร้างประมาณปี  พ.ศ. ๒๔๒๐  โดยประชาชนชาวบางหลวงกับ พระครูส่วน  วัดบางหว้า เป็นผู้ริเริ่มสร้าง เพราะเห็นว่าบางหลวงเป็นหมู่บ้านใหญ่ ยังไม่มีวัด แต่พระครูส่วนไม่ได้อยู่จำพรรษา ที่วัดบางหลวงนี้   ให้หลวงพ่อทิมเป็นเจ้าอาวาสปกครองซึ่งไม่ทราบประวัติท่านแน่ชัด  ต่อมาหลวงพ่อทิมได้มรณภาพลง ก็มีหลวงพ่อพุก หลวงพ่อชิด หลวงพ่อรอด   ปกครองติดต่อกันมาตามลำดับ             
                 เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๕๐  พระอาจารย์แช่ม สุขสมกิจซึ่งเป็นชาวบางหลวงได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่านได้ปลุกสร้างเสนาสนะมีกุฏีมุงด้วย  แฝก  คา  และจาก   เป็นที่อยู่อาศัยให้แก่พระภิกษุ   สามเณร        ซึ่งในครั้งนั้นมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาไม่ต่ำกว่า  ๓๐  รูป   ในสมัยนั้นเอง พระครูอุตตรการบดี (หลวงพ่อทา) วัดพะเนียงแตก ได้มาเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างพระอุโบสถและผูกพัทธสีมาจนเสร็จเรียบร้อย   ในระหว่างนั้นหลวงพ่อทาได้สร้างวัตถุมงคลขึ้น ๑ รุ่น  สันนิษฐานว่า ทำขึ้นเพื่อแจกบรรดาญาติโยมผู้มาร่วมทำบุญในการสร้างพระอุโบสถและฝังลูกนิมิต   เป็นเหรียญหล่อหัวนมกลมขนาดกว้าง  ๑.๘ ซ.ม.   สูง ๒.๗ ซ.ม.    เป็นเนื้อโลหะสัมฤทธิ์ทองแดงและทองคำ  ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธรูปสมัยอยุธยาสวยงามมาก   ด้านหลังมีอักขระขอมคำว่าอุมะ   สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ใด จำนวนเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด   แต่ตามคำบอกเล่าท่านได้กล่าวว่าได้ทำพิธีเททองหล่อเหรียญที่วัดบางหลวง   จึงนับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงพ่อทาและเป็นรุ่นแรกของวัดบางหลวง   ประชาชนนิยมบูชาวัตถุมงคลรุ่นนี้มากและเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ (ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก)  หลวงพ่อทาไปๆมาๆ  ระหว่างวัดบางหลวงกับวัดพะเนียงแตกจนท่านมรณภาพ
                 จนต่อมาราว พ.ศ.  ๒๔๖๐    พระอาจารย์แช่มได้ลาสิกขา ต่อมาทายกทายิกาวัดบางหลวง    ซึ่งมีขุนอภิบาลปัจฉิมเขตกับนายอากรเปี้ยน ศรีภิญโญ และนางสมบุญเป็นหัวหน้าได้เดินทางไปอาราธนาหลวงพ่อวัน   สุวณฺโณ  วัดละมุด   อำเภอนครชัยศรี   จังหวัดนครปฐม มาเป็นเจ้าอาวาส    หลวงพ่อวันได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ทั้งยังได้สร้างกุฎีที่ทำด้วยไม้สักทรงสมัยโบราณ รวม  ๑๑  หลัง และศาลาการเปรียญอีก ๑  หลัง   ในช่วงที่หลวงพ่อวันเป็นเจ้าอาวาสท่านได้จาริกไปลพบุรีและนำวัตถุมงคลจากกรุลพบุรีมามาก แล้วท่านก็ได้บรรจุ ไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรหน้าพระอุโบสถ เป็นพระเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว มีพระอุปคุต พระลีลา สองหน้าหน้าเดียว ด้านหลังมียันต์ อุ  พระอุปคุตมีหน้าเดียวและสองหน้า  พระหูยานปัจจุบันเปิดกรุแล้ว (เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ )   หายากพอสมควร     
                 ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๖๕  ท่านได้จัดให้มีโรงเรียนประชาบาลขึ้น  โดยอาศัยศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน  พ.ศ. ๒๔๗๔  ได้จัดให้มีสำนักศึกษาพระปริยัติธรรมโดยมีนายเฮง นางฮวย  จุฑามณี  ร่วมสร้างอาคารเรียนทำด้วยไม้ผสมคอนกรีต(ปัจจุบันยังคงอยู่)  กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาประมาณ ๕๐-๖๐ รูป   การปกครองในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  จนปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสระสี่มุม และวันต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ จนท่านอายุได้ ๙๖ ปี ก็มรณภาพด้วยโรคชราในวันอาทิตย์ที่  ๑๑  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๙๔  นับว่าท่านเป็น เจ้า คณะตำบลและเป็นอุปัชฌาย์รูปแรกของวัดบางหลวง
                 ปี พ.ศ. ๒๔๙๕  พระอาจารย์ผ่อง    อาภสฺสโร  ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่วัน และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวงก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบมา  ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส  ท่านได้ก่อสร้างกุฏีเพิ่มขึ้นอีก และยังปรับปรุงซ่อมแซมกุฏิเก่าให้มีสภาพคงเดิม ทั้งได้จัดสร้างโรงเรียนประชาบาล  ศาลาการเปรียญหลังใหม่ เมรุ สุสาน และพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก และได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕    ต่อมาท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสระสี่มุมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๕    ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นพระครูประทวนกรรมการ ที่พระครูผ่อง  อาภสฺสโร   ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นเจ้าคณะตำบลบางหลวง    ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูประภัศร์ธรรมคุณ   ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์    หลวงพ่อผ่องท่านเป็นพระตัวอย่างในด้านความมักน้อยสันโดษชอบอยู่ในที่สงัด ไม่ยึดติดในยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ถือตัว ตั้งตนอยู่ในคุณธรรมอันดีงาม  จนเป็นที่เคารพนับถือของเหล่าบรรพชิตและคฤหัสถ์    จนปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลบางหลวง ขออาศัยอยู่เป็นลูกวัดอย่างเดียว  ท่านได้มรณภาพลงในวันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๔๒ รวมอายุได้  ๙๐ ปี  ๙๑  วัน
                 พระครูใบฎีกาสง่า ธมฺมโชโต  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนพระครูประภัสร์ธรรมคุณ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงปีพศ.๒๕๓๑ ท่านก็มรณภาพ 
                 พระอาจารย์จำรัส ธมฺมสุทฺโธ ซึ่งย้ายมาจากวัดราษฎร์สามัคคี ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมาจนถึงปีพ.ศ.๒๕๓๗ ท่านก็มรณภาพลงด้วยโรคชรา  
                 หลังจากนั้นพระครูปลัดมนตรี  สุธีโร ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวง  ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แต่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นานท่านก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว 
                 พระสุชาติ  ชาตเมโธ ก็ได้รักษาการเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนถึงปีพ.ศ.๒๕๔๑ ก็ลาสิกขาไปประกอบอาชีพการงานด้านการค้าขาย 
                 พระสวัสดิ์  ธมฺมสุนฺทโร  ซึ่งเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมวัดบางหลวง  ก็ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสสืบต่อมา จนถึงปีพ.ศ.๒๕๔๒ ท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส และไม่นานนักท่านก็ได้ลาสิกขาบท
                 วันที่  ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๔๒  ทายกทายิกาวัดบางหลวง นำโดย พ.ต.อ.สมชาย  โพธิ์เย็น นายบุญมี  หมอนทอง  และกำนันอุดม  จารุพุทธิศิริพจน์ กำนันตำบลบางหลวงเป็นหัวหน้า ได้พากันไปอาราธนาพระมหาปรีชา  ภูริปญฺโญ ป.ธ.๗ วัดพระงาม  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม  มารักษาการเจ้าอาวาส  และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางหลวงเมื่อวันที่  ๑  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๔๓   พระมหาปรีชา  ภูริปญฺโญ  ท่านได้พัฒนาวัดสืบต่อจากเจ้าอาวาสรูปก่อนๆ จนถึงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน  ๒๕๖๒  ได้ลาออกจาการเป็นเจ้าอาวาส
                 ต่อมาวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒  รักษาการแทนเจ้าคณะตำบล  ได้แต่งตั้งพระเกรียงศักดิ์  ถาวโร  เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาส  และแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในวันที่ ๑ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๖๒ ทำหน้าที่เจ้าอาวาสต่อจากพระมหาปรีชา  ภูริปัญโญ  และสืบต่อการศึกษาที่ท่านทำไว้  บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ จนถึงปัจจุบัน
 
                            
ประวัติฉบับนี้จัดทำเมื่อวันที่  ๑  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๖๓ 
แก้ไขเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
                                                                        พระครูสังฆรักษ์เกรียงศักดิ์  ถาวโร
                                                                          เจ้าอาวาสวัดบางหลวง
 

 

 

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : ประวัติวัตบางหลวงสมบูรณ์ (90 kb)

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูสังฆรักษ์เกรียงศักดิ์ ถาวโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 08-08-2566

พระสุดสาคร สนฺตมโน

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระวิรัตน์ ถาวรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระครูปลัดสมัย ตถาวาที

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสัมพันธ์ จิตฺตสํวโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระพยุง สุขิโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระสุรินทร์ ปภาโส

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระประยูร มหาวายาโม

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระประเสริฐ อตฺตทีโป

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระศรีทัศน์ อาภาธโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสมคิด ถาวรสทฺโธ

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระเอกรินทร์ ฐานจารี

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระจตุพร อติภทฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระธรรม ปิยภาณี

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสุริยน โสภณสีโล

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมนัส ฐิตปีติ

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระไพโรจน์ ถิรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 04-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระวงศกร นนฺทพโล

ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระอาทิตย์ อภิปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

เจดีย์รูปทรงเรื...

ข้อมูลเมื่อ : 20-11-2564

เปิดดู 194 ครั้ง

รูปหล่อหลวงปู่ท...

ข้อมูลเมื่อ : 20-11-2564

เปิดดู 425 ครั้ง

พระพุทธรูปปางป่...

ข้อมูลเมื่อ : 20-11-2564

เปิดดู 1388 ครั้ง

พระพุทธรูปปางอุ...

ข้อมูลเมื่อ : 20-11-2564

เปิดดู 1960 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด