เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

วันมาฆบูชา

รายละเอียด

วันมาฆบูชา

Makha Bucha Day

วันธรรมสวนะ

วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕

ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีฉลู🐂

ความเป็นมาของการเวียนเทียน

วันมาฆบูชาโดยสังเขป

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา

คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้น

พร้อมกัน ๔ ประการ คือ พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป

ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย,

พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"

หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง,

พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓

ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์​ ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน ๓ ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง

ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา

เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส

จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ

ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น

การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา

คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ

และมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีป

เป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น

ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัด

พิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุด

ราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา

การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์

ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของ

พระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง

การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม

และการทำจิตของตนให้ผ่องใส

เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทย

ได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ"

เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบัน

หญิงสาวมักเสียตัวในวันวาเลนไทน์

หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้

วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน

ผู้แต่ง
เรียบเรียง: พระวิชัย วิชโย ป.ธ.๗

โดย : วัดสวนหงส์

ที่อยู่ : ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 76

ปรับปรุงล่าสุด : 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 14:45:15

ข้อมูลเมื่อ : 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 14:45:15

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

"อยู่สบาย ตายก็เป็นสุข"

โดย วัดประตูสาร

ข้อมูลเมื่อ : 06-04-2567

เปิดดู : 26

ปล่อยวาง

โดย วัดสะแกราย

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 38

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

โดย วัดท่าทอง

ข้อมูลเมื่อ : 08-03-2567

เปิดดู : 43

ความสุขในโลก

โดย วัดสุวรรณตะไล

ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2567

เปิดดู : 30

วันมาฆบูชา

โดย วัดอินทาราม

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2567

เปิดดู : 33