เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1454 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1623 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8318 รูป
สามเณร
290 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8827 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7168 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
9 รูป
 

สาระธรรม

กฐินจัดเป็นสังฆทานพิเศษเพราะจำกัดด้วยเวลา

รายละเอียด

ช่วงนี้ต้องบอกว่าเป็นช่วงของบุญของกุศล โดยเฉพาะกฐินจัดเป็นสังฆทานและเป็นสังฆทานพิเศษเพราะจำกัดด้วยเวลา ทั้งปีมีสิทธิ์ทำได้แค่ ๒๙ วัน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงกลางเดือน ๑๒ ข้างแรมนั้นมีแค่ ๑๔ วัน ข้างขึ้น ๑๕ วัน รวมแล้วแค่ ๒๙ วันเท่านั้น ในเมื่อเป็นสังฆทานจำกัดเขต ถ้าหากว่าใครได้ทำอานิสงส์ก็จะมีมาก โดยเฉพาะถ้าตั้งใจเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปโดยยาก

ในส่วนของกฐินนั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภท ถ้าแบ่งอย่างเป็นทางการ ท่านว่ามีกฐินหลวงกับกฐินราษฎร์

สำหรับกฐินหลวงนั้นมีทั้งกฐินต้น คือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดด้วยพระองค์เอง มีกฐินพระราชทานที่พระองค์ท่านพระราชทานผ้าให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปทอดแทน

ในส่วนของกฐินราษฎร์นั้นมีจุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องเตรียมการให้เสร็จภายในวันเดียว โดยเก็บฝ้าย ดีดฝ้าย ปั่นด้าย ทอและย้อม ตัดเย็บเป็นจีวรหรือสบงผืนใดผืนหนึ่ง สมัยก่อนไม่ได้มีผ้าให้ซื้อง่ายดายเหมือนสมัยนี้ สมัยเราต้องบอกว่าบุญดี ตอนอาตมาเด็ก ๆ กว่าจะทอได้แต่ละคืบแต่ละศอก ต้องว่ากันเป็นวันเป็นเดือน ยิ่งถ้าเป็นจุลกฐินด้วยแล้ว ต้องระดมกันมาทั้งหมู่บ้านหรือว่าทั้งตำบล ช่วยกันทอคนละศอกคนละคืบ เสร็จแล้วก็นำมาตัดเย็บต่อ ๆ กันจนเป็นผ้าจีวร แล้วจึงถวายเป็นผ้ากฐินให้พระสงฆ์กรานและอนุโมทนาในวันนั้น

จุลกฐินปัจจุบันนี้หายากแล้ว ในประเทศไทยเหลืออยู่ไม่ถึง ๑๐ แห่งที่ยังทำอยู่ เพื่อนของอาตมาคือ พระครูภัทรกิจพิศาล วัดไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ยังทำอยู่เป็นประจำ เพราะว่าแถววัดไผ่หูช้างนั้นมีชาวไทยทรงดำ หรือเรียกว่าลาวโซ่ง อยู่มาก ท่านทั้งหลายเหล่านี้มีพรสวรรค์พิเศษในการทอผ้า ยังสืบทอดกันอยู่โดยไม่ได้ทอดทิ้ง เมื่อท่านทั้งหลายเหล่านี้สามารถที่จะทอผ้าได้เก่งก็สามารถที่จะจัดจุลกฐินได้ แต่ว่าจุลกฐินของวัดไผ่หูช้างนั้น ทอดด้วยผ้าสบง ๑ ผืน แต่เป็นสบงที่ถูกต้องตามพุทธานุญาต คือ ประกอบขึ้นมาจากผ้าหลายชิ้น ถ้าทอเป็นจีวรกลัวว่าจะเสร็จไม่ทัน กฐินหลวงบางแห่งก็ถวายเป็นผ้าขาว แล้วให้ไปย้อมเพื่อทำเป็นผ้ากฐินในวันนั้น

ส่วนกฐินราษฎร์อีกแบบหนึ่ง ก็คือ กฐินสามัคคี อย่างที่พวกเราทำกัน บางท่านก็เรียกเป็นมหากฐิน

มหากฐินเป็นกฐินที่มีผ้าไตรครบชุด ก็คือสบง จีวร สังฆาฏิ

กฐินสามัคคี ก็คือใครจะเป็นเจ้าภาพรวมกันกี่คนก็ได้ คำว่าเจ้าภาพกฐิน ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นประธานในการหากองกฐินนั้นมา เราอาจจะมีผ้าสบงผืนหนึ่ง จีวรผืนหนึ่ง สังฆาฏิผืนหนึ่ง หรืออาจจะเป็นผ้าครบไตรก็ได้ ตั้งใจว่าเราขอเป็นเจ้าภาพทำบุญกฐินกับวัดนั้น ลักษณะอย่างนี้ก็ถือว่าเราเป็นประธานกฐินเช่นกัน

ฉะนั้น...เราจะเห็นว่ากฐินมีหลายประเภทด้วยกัน แต่ว่าจะเป็นกฐินแบบไหนก็ตาม ส่วนสำคัญที่สุดก็คือผ้าไตรจีวร ไม่ว่าจะเป็นสบงผืนเดียว จีวรผืนเดียว หรือว่าสังฆาฏิผืนเดียวก็ตาม ในพระบาลีกล่าวว่า ผ้าที่กว้างคืบหนึ่ง ยาวคืบหนึ่ง ท่านเรียกว่าจีวรทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงทำให้ผ้าเกือบทุกประเภทในสมัยนี้ ถือว่าเป็นจีวรทั้งสิ้น

เรื่องของกฐินนั้น แต่ละวัดท่านกำหนดให้ถวายได้ครั้งเดียวเท่านั้น ดังนั้น...เมื่อปิดยอดบุญกฐินแล้ว จะไม่สามารถรับเพิ่มได้ เพราะว่าถ้ารับเพิ่ม เท่ากับเป็นการรับกฐินครั้งที่ ๒ ซึ่งจะเป็นการผิดพระวินัยทำให้กฐินเดาะ ก็คือไม่ได้อานิสงส์ของกฐินนั้น ๆ

กฐินเดาะเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน สาเหตุที่หนึ่ง คือไปขอกฐินจากเจ้าภาพด้วยตัวเอง เขาห้ามขอ ต้องให้เจ้าภาพปวารณาเอง ไม่เช่นนั้นทอดกฐินแล้วเจ้าภาพได้อานิสงส์กฐิน แต่ฝ่ายพระจะไม่ได้อานิสงส์กฐินนั้นเลย พูดง่าย ๆ ก็คือ ได้ของ ได้เงินไปเฉย ๆ อานิสงส์กฐินไม่มี มีเพียงเจ้าภาพคนทอดเท่านั้นที่ได้บุญไปฝ่ายเดียว

ประการที่สอง ผ้าครองกฐินนั้นขาด คำว่าขาดการครองก็คือว่า ไปพ้นจากวัดนั้นแล้ว ไม่กลับมา เขาบอกว่าไปแค่ไหนก็ตาม ถ้ายังตั้งใจว่าจะกลับมา ยังไม่ถือว่าเดาะ หรือว่าผู้ครองกฐินรักษาผ้าไม่ได้ก็ถือว่าขาดครอง กฐินเดาะเช่นกัน

ประการที่สาม คณะสงฆ์ตัดสินใจเดาะกฐินเสียด้วยตนเอง อย่างอาตมานี่ทำมาตลอด ไม่เคยใช้อานิสงส์กฐิน ประกาศเลยว่าห้ามใช้อานิสงส์กฐิน เพราะว่าจะสร้างความมักง่ายให้แก่เรา เนื่องจากอานิสงส์กฐินท่าน

บอกว่าเที่ยวไปโดยไม่ต้องบอกลาได้ สามารถฉันปรัมปรโภชนาได้ ผ้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นของเธอ ไม่ต้องวิกัปเป็นเจ้าของร่วมกันกับใคร เรื่องทั้งหลายเหล่านี้จะมีบอกเอาไว้ในกฐินขันธกะ

คราวนี้ของวัดท่าขนุนเรากลัวว่า พอได้อานิสงส์กฐินแล้วจะเพลินไปจนกระทั่งเลยกลางเดือนสี่ ไปไหนไม่ต้องเอาผ้าไปครบสำรับ พอถึงเวลาเผลอผ้าก็ขาดครอง ก็เลยประกาศเดาะตั้งแต่รับกฐินเสร็จทุกครั้ง ไม่เคยให้ใช้อานิสงส์กฐิน จะได้ไม่ขี้เกียจ

ถาม : ส่วนใหญ่วัดในประเทศจะ...
ตอบ : ส่วนใหญ่แล้วไปขอเขา เมื่อไปขอเขาก็เลยกลายเป็นว่ากฐินเดาะตั้งแต่ไม่ทันจะทอด

ถาม : ก็แสดงว่ากรณีแบบนี้...
ตอบ : คนทอดได้อานิสงส์เต็มที่ แต่ว่าพระที่รับกฐินไปไม่ได้อานิสงส์กฐิน
ในฝ่ายของพระ อานิสงส์กฐินเขาผ่อนผันสิกขาบทหลายอย่างที่ว่ามา เพื่อจะได้ไม่เครียดมากเพราะเครียดมาเป็นเวลาสามเดือนแล้ว ฉะนั้น..กรณีแบบนี้โทษเกิดกับฝ่ายพระ ไม่ได้เกิดกับฝ่ายโยม ก็คือ ถ้ากฐินเดาะตั้งแต่แรก พระจะต้องรักษาศีลสมบูรณ์บริบูรณ์เหมือนกับไม่ได้รับกฐินเลย
...................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน

www.watthakhanun.com

ผู้แต่ง
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.

โดย : วัดท่าขนุน

ที่อยู่ : ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

จำนวนเข้าดู : 70

ปรับปรุงล่าสุด : 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 09:25:39

ข้อมูลเมื่อ : 8 ตุลาคม พ.ศ. 2567 09:25:39

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

สังขารุเปกขาญาณ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 31-10-2567

เปิดดู : 27

ทำใจให้เหมือนบ่อน้ำลึก

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 25-10-2567

เปิดดู : 46

ช่วงนี้เป็นช่วงของกาลกฐิน

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 18-10-2567

เปิดดู : 51

การทำดี ฯ

โดย วัดสารภี

ข้อมูลเมื่อ : 27-09-2567

เปิดดู : 88