เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

ธรรมท่านสอนว่า “คนดี ทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก” “คนชั่ว ทำดีได้ยาก ทำชั่วได้ง่าย”

รายละเอียด
“คนดี ทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก”
“คนชั่ว ทำดีได้ยาก ทำชั่วได้ง่าย”
.
ชื่อว่าความดี หรือความชั่ว มันก็เป็นธรรมชาติของมันอยู่ตามธรรมดา ลำพังตัวมันเองก็ไม่ได้ให้คุณให้โทษแก่ผู้ใด แต่ถ้ามันได้เข้าไปสิงสถิตอยู่ในใจดวงใดแล้ว มันก็พร้อมที่จะแสดงคุณและโทษออกมาให้เห็นได้เมื่อนั้น
.
ถ้าใจมีความดีมาก ก็มีคุณมาก
ถ้าใจมีความชั่วมาก ก็มีโทษมาก
.
แต่ใจของสัตว์โลกทั้งมวลมักมีความชั่วสั่งสมอยู่เป็นอันมาก ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด และ ไม่มีใจดวงไหนจะสามารถหยั่งรู้ได้ว่า ความชั่วมันมาสั่งสมอยู่ในใจนี้ ตั้งแต่เมื่อใด? มิหนำซ้ำ ยังไม่อาจรู้ได้ด้วยว่า ที่หมักหมมอยู่ในใจนั้น มันคือความชั่ว นอกจากไม่รู้แล้ว ยังไปหลงสำคัญผิดคิดว่า ความชั่วนั้น เป็นความดีอีกต่างหาก
.
โลกนี้ทั้งโลกมันจึงเกิดโกลาหล อลหม่านขึ้นมา เพราะคนทำชั่วก็สำคัญผิดคิดว่าตัวเองทำดีแล้ว หรือบางทีก็รู้อยู่ว่า ตัวเองทำชั่ว แต่ก็ยังยินดีที่จะทำ ก็เพราะไม่รู้จักว่า คุณแห่งความดีเป็นอย่างไร? โทษแห่งความชั่วเป็นอย่างไร? ทำชั่วแล้ว จะต้องได้รับผลแห่งการทำชั่วอย่างไรบ้าง คนชั่วจึงพอใจที่จะทำชั่ว จนกลายเป็นความเคยชิน เลยกลายเป็นนิสัย ทำดีได้ยาก ทำชั่วได้ง่าย ก็เพราะความไม่รู้นั่นเอง
.
ส่วนคนทำดี ก็เพราะมีปัญญารู้แจ้งในคุณแห่งความดี เห็นโทษแห่งความชั่วแล้วว่า ถ้าทำดี จะได้รับผลแห่งการทำดีอย่างไร? และถ้าทำชั่ว จะได้รับโทษแห่งการทำชั่วอย่างไร? เพราะเหตุนั้น คนดีจึงพอใจที่จะทำดี และทำดีจนเป็นนิสัย จึงทำให้ทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก
.
ในเมื่อบุคคลยังไม่อาจแยกแยะได้ด้วยปัญญาว่า อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว จึงเป็นการยากอยู่เองที่จะทำดีได้อย่างมั่นคง และมักหลงทำความชั่วไปอย่างไม่รู้ตัว ซ้ำร้ายบางคนรู้ตัวอยู่ว่า ได้ทำชั่ว แต่ก็ยังพอใจที่จะกระทำ
.
แม้พระพุทธเจ้ามาประกาศธรรมสอนโลก ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางแห่งความดีจะเป็นเหตุให้ดับทุกข์ได้ จงพากันทำให้มาก เจริญให้มาก ก็ไม่มีใครสนใจอยากจะรักษาศีล อบรมสมาธิ เจริญปัญญา
.
และถึงแม้ธรรมจะชี้บอกว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นภัย เป็นทางแห่งความชั่ว จะนำทุกข์มาให้ จงพากันละเว้น อย่าหาญกล้าพากันทำ ก็ไม่ค่อยมีใครยอมเชื่อฟังนัก ยังคงพอใจที่จะโลภ พอใจที่จะโกรธ พอใจที่จะหลง กันอยู่นั่นเอง
.
ดังนั้น ถ้าอยากจะรู้ว่า ตัวเองเป็นคนดี หรือเป็นคนชั่ว ก็จงตรวจดูที่ใจว่า มันทำดีได้ง่ายไหม? หรือมันทำชั่วได้ง่ายกว่า
.
เรามีศีลประจำการอยู่ในใจหนักแน่นมั่นคงแค่ไหน? เรามีสมาธิพอทำใจให้สงบได้บ้างหรือไม่? เรามีปัญญาพอที่จะรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม รู้ดี รู้ชั่ว ละชั่ว ทำดี ได้มากน้อยแค่ไหน?
.
ถ้าพอจะมีความดีอยู่บ้าง ก็จงตรวจตราให้ลึกซึ้งแยบคายลงไปอีกว่า ป้อมปราการ คือ ศีลของเรามันแน่นหนามั่นคงดีหรือยัง? จะต้องเสริมความแข็งแกร่งตรงไหนบ้าง เพื่อให้มันแน่นหนามั่นคงยิ่งขึ้นไปอีก อย่าให้ความชั่วมันแทรกซึมเข้าไปได้ จนกระทั่งสามารถทำใจให้สงบ เกิดปัญญากำจัดความชั่วที่มีอยู่ในใจให้มันสิ้นซากไปจากใจได้ หรือทำให้มันลดน้อยถอยลงไปเรื่อย ๆ
.
ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ ใจเราก็ตกอยู่ในวงล้อมของกิเลส ยากที่จะตีฝ่าแหวกวงล้อมของกิเลสออกไปได้ ก็มีแต่ต้องถูกกิเลสย่ำยีจนเสียผู้เสียคนไปเท่านั้นเอง เพราะถ้าใจใดไม่มี ศีล สมาธิ ปัญญา เสียแล้ว ใจนั้นก็ไม่มีอาวุธที่จะใช้ป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการกดขี่บังคับของกิเลสได้ตลอดกาล
.
จงรู้ไว้ว่า กิเลสมันสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา พอเราทำท่าขยับจะรักษาศีลสักหน่อย มันก็เตะตัดขาเสียว่า ไม่สะดวกล่ะ มันต้องเข้าสังคม ต้องไปงานเลี้ยง พอจะทำสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์บ้างสักเล็กน้อย มันก็อ้างว่า งานยุ่งไม่ว่าง ไม่มีเวลาสักที เรื่องปัญญาก็เลยไม่ต้องพูดถึงล่ะ กิเลสมันเอาไปกินเป็นกับแกล้มหมดแล้ว
.
นี่แหละ! จึงสมกับธรรมท่านสอนว่า
“คนดี ทำดีได้ง่าย ทำชั่วได้ยาก”
“คนชั่ว ทำดีได้ยาก ทำชั่วได้ง่าย”
.
ดังนั้น อยากเป็นคนดี หรือเป็นคนชั่ว ก็เลือกเป็นกันเอง ไม่มีใครบังคับใครได้ ไม่มีใครช่วยใครได้ ทุกคนต้องเลือกทำกันเอง ต้องช่วยตัวเอง ดังนี้แล

ผู้แต่ง
พุทธภาษิ

โดย : วัดจำปา

ที่อยู่ : ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 783

ปรับปรุงล่าสุด : 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565 08:47:13

ข้อมูลเมื่อ : 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565 08:42:29

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

"อยู่สบาย ตายก็เป็นสุข"

โดย วัดประตูสาร

ข้อมูลเมื่อ : 06-04-2567

เปิดดู : 33

ปล่อยวาง

โดย วัดสะแกราย

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 39

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

โดย วัดท่าทอง

ข้อมูลเมื่อ : 08-03-2567

เปิดดู : 47

ความสุขในโลก

โดย วัดสุวรรณตะไล

ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2567

เปิดดู : 33

วันมาฆบูชา

โดย วัดอินทาราม

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2567

เปิดดู : 35