เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8352 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8867 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7197 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

พุทธวจน

รายละเอียด
๗. สฬายตนวิภังคสูตร ว่าด้วยการจำแนกอายตนะ ๖ ประการ
 “ ธรรมจากพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ พระสุตตันตปิฏก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ 1️⃣7️⃣ หน้า ๓๖๘ ข้อ ๓๐๔ 👌   ขอให้โยมอ่านเพื่อให้เกิดปัญญากันตนเอง”
  💥 พระสูตรนี้ยาวมาก แต่จะแบ่งให้อ่านประมาณ 3️⃣ วัน💥เกี่ยวกับตัวเราทั้งนั้น
            {๖๑๗}[๓๐๔]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้นแล    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เราจักแสดงสฬายตนวิภังค์แก่เธอ ทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟังสฬายตนวิภังค์นั้น    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”
            {๖๑๘}ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
            “เธอทั้งหลายพึงทราบอายตนะภายใน    ๖    อายตนะภายนอก    ๖    หมวดวิญญาณ    ๖    หมวดผัสสะ    ๖    มโนปวิจาร๑    ๑๘    สัตตบท๒    ๓๖    ในธรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลายอาศัยธรรมนี้แล้ว    จงละธรรมนี้เสีย    และพึงทราบสติปัฏฐาน    ๓    ที่ พระอริยะเสพซึ่งเมื่อเสพอยู่ชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนคณะ    พระอริยศาสดา นั้นอันเราเรียกว่าเป็นสารถีผู้สามารถฝึกบุรุษที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ ผู้ฝึกทั้งหลาย    นี้เป็นอุทเทสแห่งสฬายตนวิภังค์
            {๖๑๙}[๓๐๕]    เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า    ‘พึงทราบอายตนะภายใน    ๖’    เพราะอาศัยเหตุ อะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น    คือ
๑.    จักขวายตนะ       (อายตนะคือตา)
๒.    โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
๓.    ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
 ๑ มโนปวิจาร  แปลว่า  ความนึกหน่วงทางใจ  หมายถึงวิตกและวิจาร  (ม.อุ.อ.  ๓/๓๐๔/๑๘๙)
๒ สัตตบท  แปลว่า  ทางดำเนินไปของสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยวัฏฏะและวิวัฏฏะ  ในที่นี้แบ่งออกเป็น  ๒  คือ
   (๑) วัฏฏบท  ทางดำเนินไปสู่วัฏฏะ  ๑๘  ทาง  (๒)  วิวัฏฏบท  ทางดำเนินไปสู่วิวัฏฏะ  ๑๘  ทาง  รวม
   วัฏฏบทกับวิวัฏฏบทเข้าด้วยกัน  เรียกว่า  สัตตบท  ๓๖  ประการ  (ม.อุ.อ.  ๓/๓๐๔/๑๘๙)
    ๔.    ชิวหายตนะ          (อายตนะคือลิ้น)
                        ๕.    กายายตนะ          (อายตนะคือกาย)
                        ๖.    มนายตนะ            (อายตนะคือใจ)๑
            คำที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘พึงทราบอายตนะภายใน    ๖’    นั่น    เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้    (๑)
            {๖๒๐}เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า    ‘พึงทราบอายตนะภายนอก    ๖’    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น    คือ
                        ๑.    รูปายตนะ          (อายตนะคือรูป)
                        ๒.    สัททายตนะ      (อายตนะคือเสียง)
                        ๓.    คันธายตนะ      (อายตนะคือกลิ่น)
                        ๔.    รสายตนะ          (อายตนะคือรส)
                        ๕.    โผฏฐัพพายตนะ      (อายตนะคือสัมผัส)
                        ๖.    ธัมมายตนะ        (อายตนะคือธรรมารมณ์)
            คำที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘พึงทราบอายตนะภายนอก    ๖’    นั่น    เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้    (๒)
            {๖๒๑}เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า    ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ    ๖’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เรา จึงกล่าวไว้เช่นนั้น    คือ
                        ๑.    จักขุวิญญาณ          (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
                        ๒.    โสตวิญญาณ          (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
                        ๓.    ฆานวิญญาณ        (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
                        ๔.    ชิวหาวิญญาณ      (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
                        ๕.    กายวิญญาณ          (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
                        ๖.    มโนวิญญาณ          (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
            คำที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘พึงทราบหมวดวิญญาณ    ๖’    นั่น    เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้    (๓)    
๑ ดูเทียบ  ม.มู.(แปล)  ๑๒/๙๙/๙๔
  {๖๒๒}เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า    ‘พึงทราบหมวดผัสสะ    ๖’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เราจึง กล่าวไว้เช่นนั้น    คือ
๑.    จักขุสัมผัส       (สัมผัสทางตา)
๒.    โสตสัมผัส (สัมผัสทางหู)
๓.    ฆานสัมผัส (สัมผัสทางจมูก)
๔.    ชิวหาสัมผัส (สัมผัสทางลิ้น)
๕.    กายสัมผัส (สัมผัสทางกาย)
๖.    มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ)
            คำที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘พึงทราบหมวดผัสสะ    ๖’    นั่น    เพราะอาศัยเหตุนี้    เรา จึงกล่าวไว้    (๔)
            {๖๒๓}เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า    ‘พึงทราบมโนปวิจาร    ๑๘’    เพราะอาศัยเหตุอะไร    เรา จึงกล่าวไว้เช่นนั้น
            คือ    บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว    ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส    ย่อม นึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส    ย่อมนึกหน่วงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
            ฟังเสียงทางหูแล้ว    ...
            ดมกลิ่นทางจมูกแล้ว    ...
            ลิ้มรสทางลิ้นแล้ว    ...
            ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้ว    ...
            รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว    ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส    ย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุเบกขาไว้
            ความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส    ๖    ฝ่ายโทมนัส    ๖    ฝ่ายอุเบกขา    ๖    ย่อมมีด้วย ประการฉะนี้
            คำที่เรากล่าวไว้ว่า    ‘พึงทราบมโนปวิจาร    ๑๘’    นั่น    เพราะอาศัยเหตุนี้    เรา จึงกล่าวไว้    (๕)

ผู้แต่ง
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ไฟล์แนบเพิ่มเติม

ไฟล์แนบ 1
พุทธวจนะ (78.57 kb)

โดย : วัดป่าสะแก

ที่อยู่ : ต.ป่าสะแก อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 377

ปรับปรุงล่าสุด : 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 16:14:25

ข้อมูลเมื่อ : 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 16:14:25

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

"อยู่สบาย ตายก็เป็นสุข"

โดย วัดประตูสาร

ข้อมูลเมื่อ : 06-04-2567

เปิดดู : 24

ปล่อยวาง

โดย วัดสะแกราย

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 35

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

โดย วัดท่าทอง

ข้อมูลเมื่อ : 08-03-2567

เปิดดู : 42

ความสุขในโลก

โดย วัดสุวรรณตะไล

ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2567

เปิดดู : 28

วันมาฆบูชา

โดย วัดอินทาราม

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2567

เปิดดู : 32