



โครงการและกิจกรรมเด่น
โครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข (๕ส)

๕ ส. คือเครื่องมือสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประกอบด้วย สะสาง-สะดวก-สะอาด-สร้างมาตรฐานะ-สร้างวินัย
วัตถุประสงค์ของโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข คือเพื่อพัฒนารูปแบบและนำแนวคิดของ ๕ส ลงสู่บริบทของวัดและชุมชน เพื่อส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่ทางจิตใจและปัญญา และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในสังคมไทย ตื่นตัวเรื่องการช่วยเหลือสังคม การมีจิตอาสา ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อทำให้เกิดสังคมสุขภาวะและความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสำคัญ “วัดสวยด้วยความสุข” และ “การสร้างวัดในใจคน” ดังนั้น แนวปฏิบัติของโครงการ วัด ประชา รัฐ สร้างสุข จึงกำหนดแนวปฏิบัติแบบง่าย คือ ๕ เครื่องมือการทำงาน (๕ส) อันเป็นเครื่องมือการดำเนินงานเพื่อสร้างสัปปายะสู่วัด ได้แก่
สะสาง (Seiri หรือ Sort)
เริ่มต้นแยกสิ่งที่ต้องการจัดระเบียบให้ชัดเจนระหว่าง “สิ่งจำเป็น” และ “สิ่งไม่จำเป็น” หรือแยกสิ่งต่าง ๆ ให้อยู่เป็นหมวดหมู่ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานหรือไม่ นับเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจเป็นอย่างมาก เพราะเราต้องกล้าตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าอะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ หรือสปาร์คจอยจริง ๆ ฉะนั้นความรู้สึกเสียดายจึงเป็นอุปสรรคใหญ่ของขั้นตอนนี้
สะดวก (Seiton หรือ Set in Order)
คือการนำสิ่งที่สะสางมาจัดวางอย่างเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงกระบวนการใช้งานและความปลอดภัย พูดง่าย ๆ ก็คือการนำมาวางในพื้นที่ที่หยิบใช้งานง่าย อาจทำป้ายระบุว่าคืออะไร อยู่หมวดหมู่ไหน หรือเก็บไว้ตรงไหน
สะดวกจึงเป็นขั้นตอนที่ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องเล็ก ๆ น้อยๆ อีกต่อไป
สะอาด (Seiso หรือ Shine)
คือการทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถูตามที่เราเข้าใจนั่นแหละ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้น่ารื่นรมย์และน่าทำงาน สิ่งนี้มีผลอย่างมากต่อจิตใจพนักงานในรู้สึกดี ยิ่งไปกว่านั้นหากเป็นการทำความสะอาดเครื่องจักรโรงงาน ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานให้นานกว่าเดิม
สร้างมาตรฐาน (Seiketsu หรือ Standardize)
สุขลักษณะเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ ๓ ส. แรก เราจึงควรปรึกษาหารือว่าอะไรคือมาตรฐานสุขลักษณะที่พนักงานต้องการ เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ปฏิบัติรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยตามมาตรฐานนั้น ๆ และเมื่อองค์กรมีสุขลักษณะที่ดีเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของพนักงานก็จะดีตามไปด้วย
สร้างวินัย (Shitsuke หรือ Sustain)
มุ่งไปที่การสร้างระเบียบวินัย หรือสร้างให้เกิดนิสัยขึ้นมาจริง ๆ นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและยากที่สุด เพราะคำว่า “นิสัย” ไม่ได้ขึ้นเกิดแค่การทำเพียงครั้งเดียว แต่เกิดจากการหมั่นปฏิบัติซ้ำ ๆ เป็นประจำจนกลายเป็นเรื่องปกติ
สรุปการทำ ๕ ส. จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน พัฒนาคุณภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น
โดย : วัดวิมลโภคาราม
ที่อยู่ : ต.สามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
จำนวนเข้าดู : 150
ปรับปรุงล่าสุด : 13 มีนาคม พ.ศ. 2565 15:36:41
ข้อมูลเมื่อ : 13 มีนาคม พ.ศ. 2565 14:59:05
โครงการและกิจกรรมเด่น 10 อันดับ
โครงการบรรพชาสามเณร - ศีลจาริณี ภาคฤดูร้อน ประจำปี ๒๕๖๘
โดย วัดศีรษะเกษ
ข้อมูลเมื่อ : 11-04-2568
เปิดดู : 13
วันที่ ๑๓๑๖ มีนาคม ๒๕๖๘ ปฏิบัติธรรมประจำเดือน
โดย วัดถ้ำศรีสรรเพชญ
ข้อมูลเมื่อ : 17-03-2568
เปิดดู : 34
โครงการและกิจกรรมงานคณะสงฆ์ ๖ ด้าน ตำบลแจงงาม เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
ข้อมูลเมื่อ : 26-02-2568
เปิดดู : 49
โครงการและกิจกรรมงานคณะสงฆ์ ๖ ด้าน ตำบลทัพหลวง เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๘
โดย วัดหนองกระถิน
ข้อมูลเมื่อ : 26-02-2568
เปิดดู : 36