เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
292 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8856 รูป/คน
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7183 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
10 รูป
สื่อมีเดีย
พระพุทธศาสนากับการใช้ ชีวิตในสังคมออนไลน์
รายละเอียด
ความนำ
..............................................................................................................................................................................................................................ื่องค์จาก คำว่า “สังคมออนไลน์” ในภาษาบาลีที่เป็นศัพท์บัญญัติเฉพาะในพระไตรปิฎกมิได้ ถูกบัญญัติขึ้นโดยตรง อย่างไรก็ตาม คำในภาษาบาลีที่หมายถึง “สังคมออนไลน์” คือ “นิเวทนอญฺ มญฺ- สมฺพนฺธ” 2 ที่แปลว่า การบอกกล่าว การสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นศัพท์ที่ เอ.พี.พุทธทัตตะมหาเถระ (A.P. Buddhadatta Mahāthera) ได้ผูกศัพท์ขึ้นใหม่ในสมัยปัจจุบันจากคำว่า “Communication” ในภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงไม่ปรากฏคำว่า “สังคมออนไลน์” อยู่ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในลักษณะ ที่เป็นเรื่องราวหรือเป็นหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับสังคมออนไลน์ตามคำอธิบายเกี่ยวกับสังคมออนไลน์อย่างใน ปัจจุบัน แต่กระนั้นพฤติกรรมเกี่ยวกับสังคมออนไลน์ก็มีอยู่ เนื่องจากสังคมออนไลน์เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เป็นปกติในชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่เว้นแม้บรรพชิต หรือคฤหัสถ์ อีกทั้งแต่ละบุคคลก็มีการใช้สื่อสังคม ออนไลน์อยู่แทบตลอดเวลา โดยปรากฏในรูปของหลักธรรมและเนื้อหาเรื่องราวที่หลากหลาย หลักการและแนวทางปฏิบัติของการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์ตามหลักพระพุทธศาสนา หลักพุทธธรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติของการใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์มุ่งต้องการให้การแสดงออก ของสังคมออนไลน์มีคุณภาพที่จะดำรงอยู่ได้ต่อไปตามสภาพและสถานะแห่งความเป็นชีวิตมากขึ้น พร้อมทั้งมีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการใช้ชีวิต ในสังคมออนไลน์ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ดังกล่าว จึงขอนำเสนอหลักธรรม ๒ หมวด ดังนี้ หลักเบญจธรรมและแนวทางปฏิบัติตามหลักเบญจธรรม หลักเบญจธรรมนั้น เป็นหลักพุทธธรรมที่เหมาะกับสังคมออนไลน์และเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูงสุด เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขของสังคม เพราะปัญหาในแง่ของสังคม ที่มีความปริวิตกกังวลอยู่ทุกส่วนของโลกในปัจจุบันและอนาคตนั้น ถ้าเรามองเกาะกลุ่มของพฤติกรรม ที่เป็นพิษเป็นภัยอันตรายต่อสังคม จนบางช่วงขณะสร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้เกิดขึ้นแก่สังคมออนไลน์ ภายในสังคม ไม่มีอะไรอื่นไปจากสังคมออนไลน์ได้ล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ประการนั่นเอง ซึ่งถ้าหากผู้ใช้ชีวิต ในสังคมออนไลน์ มีหลักเบญจธรรมมากำกับปัญหาการล่วงละเมิดศีล ๕ ก็จะหมดไป หลักเบญจธรรม หมายถึง ธรรมชาติหรือกฎเกณฑ์ในการอบรมรักษากาย และวาจาของคนในสังคม ออนไลน์ให้เป็นปกติ เรียบร้อย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ดีงามอันเป็นข้ออบรมในการละเว้นจากความชั่ว ความไม่ดี ๕ อย่าง ได้แก่ (๑) เมตตา กรุณา หลักพุทธธรรมอบรมให้มีเมตตา กรุณา โดยงดเว้นจากการปลงหรือฆ่าชีวิต สัตว์ทุกชนิด ตลอดถึงการไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ตี กักขัง หน่วงเหนี่ยว ยิง เป็นต้น ด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำ (๒) สัมมาอาชีวะ หลักพุทธธรรมอบรมให้ประกอบอาชีพที่สุจิต โดยงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้อนุญาตให้ จะเป็นการลัก การโกง ฉกชิงวิ่งราว การหลอกลวงหรือการทำลายทรัพย์สิน ของคนอื่นให้เสียหาย (๓) กามสังวร หลักพุทธธรรมอบรมให้ประพฤติสำรวมในกาม โดยงดเว้นจากการประพฤติผิด ในคู่ครอง ในทางกามารมณ์ มีใคร่ในรูป ในกลิ่น ในเสียง ในรส การสัมผัส หรือแม้ในอารมณ์อันเป็นที่ใคร่ ที่พอใจ อันมีผู้อื่นหรือเจ้าของหวงแหน คุ้มครองอยู่ (๔) สัจจะ หลักพุทธธรรมอบรมให้มีสัจจะ โดยงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดไม่ตรงกับความจริง พูดผิดไปจากที่เป็นจริง อันเป็นเหตุให้ผู้ฟังเข้าใจผิดพลาด คลาดเคลื่อนจากความจริงโดยเจตนา (๕) สติ สัมปชัญญะ หลักพุทธธรรมอบรมให้มีสติ รู้เท่าทัน โดยงดเว้นจากการดื่มนำเมาหรือ เครื่องดอง สิ่งมึนเมาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสุรา เบียร์ หรือสารเสพติดอื่น เช่น ฝิ่น กัญชา กระท่อม แอมเฟตามีน มอร์ฟีน เฮโรอีน แอล.เอส.ดี. เอส.ที.พี. ทินเนอร์ กาวซีเมนต์ และอื่นๆ ซึ่งทำให้ผู้ดื่ม เสพ ดม เปลี่ยนนิสัยไร้สติ มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ จะเห็นได้ว่า หลักเบญจธรรมเป็นหลักพุทธธรรมที่เหมาะกับการประยุกต์ใช้ในโลกสังคมออนไลน์ เพราะจะทำสังคมออนไลน์เป็นปกติสุข งดเว้นจากเวร จากภัย จากอันตราย ดำรงตนอยู่ในศีลทั้ง ๕ ประการ อย่างสมบูรณ์ เพราะถ้าหากคนที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์งดเว้นจากการเบียดเบียนกันทางกาย ทรัพย์สิน คู่ครอง และจากการโกหกหลอกลวงสังคมออนไลน์คนอื่นก็จะเป็นการหยุดสร้างเวรภัยอันตรายต่อกัน หลักกัลยาณมิตรและแนวทางปฏิบัติตามหลักการคบหากัลยาณมิตร การทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ประสบผลสำเร็จจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนอบรมตนเองให้มีคุณสมบัติ ตามคุณธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการ เพื่อให้การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดกำลังใจในการสั่งสมความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปตามลำดับ กัลยาณมิตรถึงจะมีกำลังน้อยแต่ดำรงอยู่ใน มิตตธรรม ก็นับได้ว่าเป็นทั้งญาติเป็นทั้งพวกพ้อง และเป็นทั้งเพื่อน การดำรงชีวิตอยู่ในโลกสังคมออนไลน์ มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การเป็นมิตร สหายและพวกพ้องบริวารในโลกสังคมออนไลน์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยเหลือสนับสนุนให้การชีวิต ในโลกสังคมออนไลน์มีความราบรื่น และสามารถสร้างความดีได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงควรผูกมิตรไว้กับ ทุก ๆ คนในโลกสังคมออนไลน์ให้มีความรู้สึกว่าเมื่อหันไปรอบทิศก็มีแต่กัลยาณมิตรรอบตัว มิตรที่ดีจะเป็น
ส่วนหนึ่งของชีวิตที่เจริญก้าวหน้า ผู้ที่ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์จึงต้องรู้จักการทำตนให้เป็นกัลยาณมิตร และรู้จักคบหาสมาคมเพื่อประคับประคองกันในการทำความดีเพื่อให้มีชีวิตที่รุ่งโรจน์ถึงจุดหมาย ปลายทางได้อย่างปลอดภัย คุณธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการนี้ ได้แก่3 ๑. ปิโย แปลว่า น่ารัก หมายถึงเป็นที่สบายใจเมื่อเข้าใกล้เมื่อได้พบเจอครั้งใดก็มีความสุข มีแต่ความสดชื่น แจ่มใส ร่าเริงเบิกบานใจอยู่เป็นนิตย์ ยิ่งได้เข้าใกล้ได้สนทนาพูดคุยด้วยแล้ว ยิ่งสบายใจ ชวนให้ปรึกษาไต่ถาม การที่กัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้ จะต้องฝึกกิริยามารยาทให้เรียบร้อย นุ่มนวลสง่างาม ในทุกอิริยาบถ มีอัธยาศัยดีงาม มีหัวใจของความเอื้อเฟื้อ ชอบให้ความช่วยเหลือ ด้วยตระหนักในคุณค่า ของบุญ ๒. ครุแปลว่า น่าเคารพ หมายถึง เป็นผู้ที่อุดมไปด้วยคุณธรรมความดีจนเป็นที่ทราบโดยทั่วไป เมื่อหมู่ญาติได้พบเห็นก็อดไม่ได้ ที่จะแสดงความเคารพด้วยความชื่นชม นอกจากนี้แล้วกัลยาณมิตรยังเป็น ผู้วางตนได้อย่างเหมาะสมตลอดเส้นทางการทำหน้าที่กัลยาณมิตร จนทำให้หมู่ญาติทั้งหลายเกิดความมั่นใจ อบอุ่นใจ เชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่า กัลยาณมิตรจะเป็นที่พึ่งที่ปรึกษาได้อย่างแน่นอน ผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรได้ดีดังกล่าว จะต้องฝึกตนเองให้มีความพร้อมในการให้คำปรึกษา ตอบปัญหาได้อย่างไม่ติดขัด คำสอนไม่ผิดพลาด วางตนได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการให้เกียรติแก่ หมู่ญาติมีความหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ไม่มีอคติ ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะหลง หรือเพราะกลัว ทำอะไรคงเส้นคงวา โดยเฉพาะเรื่อง เวลาและคำพูดไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัวแม้ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานและการทำหน้าที่ กัลยาณมิตร หากกัลยาณมิตรมีทั้งความน่ารักและน่าเคารพก็จะเป็นที่น่าเข้าใกล้และเป็นที่เกรงใจของ กัลยาณมิตรและหมู่ญาติทั้งหลาย ๓. ภาวนีโย แปลว่า น่าเทิดทูน หมายถึง ความรู้สึกชื่นชมที่เกิดขึ้นภายใน และอดไม่ได้ที่จะเอา คุณธรรมความดีของกัลยาณมิตรมากล่าวเล่าขาน ให้หมู่ญาติทั้งหลายได้รับฟังอย่างไม่รู้เบื่ออยากจะชักชวน หมู่ญาติทั้งหลายให้ได้ไปพบเจอ ได้ไปฟังธรรมจากกัลยาณมิตร เพราะเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าหมู่ญาติจะมีปัญหา ยุ่งยาก หนักหนาเพียงใด กัลยาณมิตรย่อมแก้ไขให้ได้หมดทั้งสิ้นัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้จะต้องเพียบพร้อมไปด้วยภูมิปัญญาทางโลก และเต็มเปี่ยมไปด้วย ภูมิปัญญาทางธรรม เมื่อจะพูดก็พูดดีเมื่อลงมือทำก็ยิ่งทำได้ดีกว่าที่พูดเสียอีก คุณสมบัติข้อนี้ย่อมทำให้ กัลยาณมิตรเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธาคือทั้งน่ารัก น่าเคารพ และน่าเทิดทูน ย่อมจะมีอานิสงส์ต่อการ ทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเพียงได้ยินก็ทำให้เกิดความประทับใจ ๔. วัตตา แปลว่า ฉลาดพรำสอนให้ได้ผล หมายถึงมีความสามารถพูดโน้มน้าวให้หมู่ญาติหรือ คนรอบข้างทำตามในสิ่งที่ดีงาม ชี้แจงพรำ่สอนด้วยความกรุณาปรารถนาดีอย่างจริงใจและต่อเนื่อง จนทำให้หมู่ญาติระลึกนึกถึงในฐานะของผู้มีหัวใจของการเป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริง ที่คอยประคับประคอง หมู่ญาติและคนรอบข้างให้อยู่ในเส้นทางความดีแม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ง่ายต่อการชักจูงไปสู่หนทาง อันเป็นอกุศลกัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้จะต้องได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมจากการเลี้ยงดู โดยมีพ่อแม่หรือบุพการีหรือครูอาจารย์เป็นกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะอบรมถ่ายทอดจนกระทั่งติดเป็นอุปนิสัย คุณสมบัติข้อนี้ ถึงแม้กัลยาณมิตรจะชี้แนะพรำ่สอนอย่างต่อเนื่อง แต่หมู่ญาติก็สามารถรับรู้ถึง เจตนาอันบริสุทธิ์ที่อยู่เบื้องหลังการอบรม สั่งสอนได้ ไม่รู้สึกรำคาญหรือรังเกียจแต่ประการใด ๕. วจนักขโม แปลว่า อดทนต่อถ้อยคำของหมู่ญาติหรือคนรอบข้าง หมายถึงพร้อมที่จะรับฟัง คำปรึกษาซักถามอยู่เสมออดทนฟังได้แม้เรื่องการระบายความทุกข์ ความคับแค้นใจจากสภาพครอบครัว การทำงาน หรือการดำเนินชีวิต หรือคำก้าวร้าวหยาบคายของคนที่ไม่เข้าใจความปรารถนาดีโดยไม่ตอบโต้ กลับด้วยความฉุนเฉียวโกรธเคือง กัลยาณมิตรที่จะมีลักษณะอย่างนี้ได้จะต้องตระหนักถึงสถานะของ กัลยาณมิตรที่ตนเองดำรงอยู่ หากขาดความอดทนโดยแสดงอาการโกรธฉุนเฉียวออกไปเสียแล้ว ก็ย่อม ทำให้ตนเองต้องแหนงใจในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรที่ไม่สมบูรณ์บนเส้นทางของกัลยาณมิตร คุณสมบัติข้อนี้ ย่อมทำให้กัลยาณมิตรเป็นศูนย์รวม เป็นที่ยอมรับและคบหาของหมู่ญาติและ มหาชนเป็นอันมาก ทำให้หมู่ญาติยกย่องสมกับการทำหน้าที่กัลยาณมิตร ๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แปลว่า สามารถแถลงเรื่องที่ลึกลำ้ หมายถึงสามารถนำเรื่องที่ยาก มาอธิบายให้เห็นภาพพจน์เข้าใจได้ง่าย ทำให้หมู่ญาติทั้งหลายสิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในปัญหาเรื่อง โลกและชีวิต หรือหัวข้อธรรมะต่าง ๆ มีความเข้าใจจนสามารถนำไปแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ให้คลายทุกข์ ความกังวลไปสู่ความสุขได้โดยง่าย กัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้ แสดงว่าทุกลมหายใจจะต้องมีหมู่ญาติอยู่ในหัวใจคิดแต่จะ แสวงหาความรู้มาถ่ายทอดให้หมู่ญาติเข้าใจได้โดยง่าย นับว่ามีหัวใจของการเป็นกัลยาณมิตรอย่างแท้จริงคุณสมบัติข้อนี้ย่อมทำให้กัลยาณมิตรอยู่ในฐานะของผู้จุดประกายความสว่างทางปัญญาแก่ หมู่ญาติทั้งหลาย กัลยาณมิตรที่มีคุณสมบัติข้อนี้ อุปมาเหมือนผู้จุดคบเพลิงในที่มืด หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ให้สิ้นความเคลือบแคลงสงสัย พร้อมที่จะเดินไปสู่หนทางแห่ง ความสุขอย่างมั่นใจ ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชะเย แปลว่า ไม่ชักนำไปในทางเสื่อม หมายถึง ประพฤติตนอยู่ในทำนอง คลองธรรม ไม่ยอมทำเรื่องที่เป็นความเสื่อม ทั้งในเรื่องการงานครอบครัว และการทำหน้าที่กัลยาณมิตร จนหมู่ญาติทั้งหลายถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้กัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้ จะต้องมี ภูมิปัญญาที่จะแยกแยะออกได้ว่าสิ่งใดถูก-ผิด สิ่งใดชั่ว-ดี สิ่งใดควร-ไม่ควร และเต็มเปี่ยมไปด้วยหิริ โอตัปปะ คือความละอายบาป กลัวบาป ไม่ยอมกระทำความชั่วแม้มีโอกาสหรือในที่ลับตาคน ผู้ที่จะสามารถทรงคุณสมบัติเหล่านี้ในโลกสังคมออนไลน์ได้จำเป็นต้องมีคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ คือ มีปัญญา มีความกรุณา และมีความบริสุทธิ์รองรับอยู่ การจะได้ปัญญา กรุณา และบริสุทธิ์อย่าง ครบถ้วน นอกจากจะต้องศึกษาธรรมะให้แตกฉานแล้ว ยังจะต้องหมั่นทำทาน รักษาศีล และฝึกสมาธิ ภาวนาเป็นประจำ ไม่ยอมว่างเว้นแม้จะมีภารกิจหนักหนาเหนื่อยอ่อนเพียงใดก็ตาม ทำอย่างนี้ได้จึงจะ สมกับเป็นกัลยาณมิตรที่นำสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่เพื่อนในสังคมออนไลย์อย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่า หลักพุทธธรรมที่ใช้อบรมคนที่ใช้สื่อในสังคมออนไลน์ คือหลักเบญจธรรมและหลัก กัลยาณมิตรเป็นหลักพุทธธรรมที่ทำให้สังคมออนไลน์ที่ทำให้ผู้ใช้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ กล่าวคือเป็นหลัก พุทธธรรมที่ใช้อบรมกายตน อบรมมนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และวาจา เพราะการใช้สังคมออนไลน์ของ คนที่มีจิตใจไม่สมบูรณ์ วาจาก็จะต่ำทราม ใช้วาจาหยาบคายต่อกันแทนที่จะทักทายปราศรัยกันด้วยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน คิดอิจฉาริษยา หาทางเอาชนะกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การใช้สังคมออนไลน์ เช่นนี้เรียกว่า จิตใจไม่ได้อบรม ไม่ผ่องใส ขาดศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม แต่ถ้าคนในสังคมออนไลน์ ที่มีจิตใจดีงาม วาจาก็จะประเสริฐยิ่ง จิตใจที่บริสุทธิ์สะอาดผ่องใส วาจาดีมีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม น่ารัก น่าเคารพ น่านับถือบูชา สังคมออนไลน์ก็จะเป็นสังคมที่สงบและสร้างสรรค์ สรุป วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพุทธเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงจากการรับสาร คือ เกิดปัญญา อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งบทความนี้ได้กำหนดขอบเขตของประโยชน์ไว้ที่ ประโยชน์ในระดับโลกิยะที่เป็นประโยชน์ในโลกนี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) นั่นคือเป็นประโยชน์เพื่อตน ประโยชน์ เพื่อผู้อื่น ที่สนองตอบต่อบุคคลในระดับความเป็นอยู่ของบุคคลและสังคมในภพชาติปัจจุบัน ในส่วนที่เป็น ประโยชน์ของส่วนรวมหรือระดับสังคม ได้แก่การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขด้วยวิถีชีวิตทำดีงามทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ญาติมิตร บริวาร บุคคลอื่นและสังคม โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกันได้อย่างถูกต้องโดยสันติ ซึ่งข้อที่พึงใส่ใจปฏิบัติที่สำคัญ คือ ต้องอยู่บน พื้นฐานของความเข้าใจ และเคารพในความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้เสื่อสังคมออนไลน์ในฐานะที่มีความเป็น มนุษย์เช่นเดียวกัน ไม่ว่าผู้ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์จะมีเป็นจำนวนมากเท่าไร จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ก็ต้องคำนึงถึงทิฏฐิและวิถีหรือแบบแผนการดำเนินชีวิต เพราะผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลายเหล่านั้น ต่างก็มีความทุกข์ความสุข ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปตามธรรมดาภายใต้กฎธรรมชาติเช่นเดียวกัน ต้องประสบกับความเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นเดียวกัน การใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้วยการดูถูก เหยียดหยาม ต่อผู้ที่ทำการใช้สื่อออนไลน์ด้วยกันจึงจำเป็นที่คนในสังคมออนไลน์ควรละเว้น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่ประกอบด้วยหลักเบญจธรรมและหลักกัลยาณมิตรนับว่ามีความจำเป็นเพื่อให้สังคมสงบสุขและอุดม ปัญญา
..............................................................................................................................................................................................................................
เอกสารอ้างอิง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๗ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐. . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [ซีดี-รอม]. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘. A.P. Buddhadatta Mahāthera, English-Pali Dictionary, (Wiltshire : Antony Rowe, 1992).
ส่วนหนึ่งของชีวิตที่เจริญก้าวหน้า ผู้ที่ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์จึงต้องรู้จักการทำตนให้เป็นกัลยาณมิตร และรู้จักคบหาสมาคมเพื่อประคับประคองกันในการทำความดีเพื่อให้มีชีวิตที่รุ่งโรจน์ถึงจุดหมาย ปลายทางได้อย่างปลอดภัย คุณธรรมของกัลยาณมิตร ๗ ประการนี้ ได้แก่3 ๑. ปิโย แปลว่า น่ารัก หมายถึงเป็นที่สบายใจเมื่อเข้าใกล้เมื่อได้พบเจอครั้งใดก็มีความสุข มีแต่ความสดชื่น แจ่มใส ร่าเริงเบิกบานใจอยู่เป็นนิตย์ ยิ่งได้เข้าใกล้ได้สนทนาพูดคุยด้วยแล้ว ยิ่งสบายใจ ชวนให้ปรึกษาไต่ถาม การที่กัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้ จะต้องฝึกกิริยามารยาทให้เรียบร้อย นุ่มนวลสง่างาม ในทุกอิริยาบถ มีอัธยาศัยดีงาม มีหัวใจของความเอื้อเฟื้อ ชอบให้ความช่วยเหลือ ด้วยตระหนักในคุณค่า ของบุญ ๒. ครุแปลว่า น่าเคารพ หมายถึง เป็นผู้ที่อุดมไปด้วยคุณธรรมความดีจนเป็นที่ทราบโดยทั่วไป เมื่อหมู่ญาติได้พบเห็นก็อดไม่ได้ ที่จะแสดงความเคารพด้วยความชื่นชม นอกจากนี้แล้วกัลยาณมิตรยังเป็น ผู้วางตนได้อย่างเหมาะสมตลอดเส้นทางการทำหน้าที่กัลยาณมิตร จนทำให้หมู่ญาติทั้งหลายเกิดความมั่นใจ อบอุ่นใจ เชื่อมั่นอย่างสนิทใจว่า กัลยาณมิตรจะเป็นที่พึ่งที่ปรึกษาได้อย่างแน่นอน ผู้ที่จะเป็นกัลยาณมิตรได้ดีดังกล่าว จะต้องฝึกตนเองให้มีความพร้อมในการให้คำปรึกษา ตอบปัญหาได้อย่างไม่ติดขัด คำสอนไม่ผิดพลาด วางตนได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการให้เกียรติแก่ หมู่ญาติมีความหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ไม่มีอคติ ลำเอียงเพราะรัก เพราะเกลียด เพราะหลง หรือเพราะกลัว ทำอะไรคงเส้นคงวา โดยเฉพาะเรื่อง เวลาและคำพูดไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว ครอบครัวแม้ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานและการทำหน้าที่ กัลยาณมิตร หากกัลยาณมิตรมีทั้งความน่ารักและน่าเคารพก็จะเป็นที่น่าเข้าใกล้และเป็นที่เกรงใจของ กัลยาณมิตรและหมู่ญาติทั้งหลาย ๓. ภาวนีโย แปลว่า น่าเทิดทูน หมายถึง ความรู้สึกชื่นชมที่เกิดขึ้นภายใน และอดไม่ได้ที่จะเอา คุณธรรมความดีของกัลยาณมิตรมากล่าวเล่าขาน ให้หมู่ญาติทั้งหลายได้รับฟังอย่างไม่รู้เบื่ออยากจะชักชวน หมู่ญาติทั้งหลายให้ได้ไปพบเจอ ได้ไปฟังธรรมจากกัลยาณมิตร เพราะเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าหมู่ญาติจะมีปัญหา ยุ่งยาก หนักหนาเพียงใด กัลยาณมิตรย่อมแก้ไขให้ได้หมดทั้งสิ้นัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้จะต้องเพียบพร้อมไปด้วยภูมิปัญญาทางโลก และเต็มเปี่ยมไปด้วย ภูมิปัญญาทางธรรม เมื่อจะพูดก็พูดดีเมื่อลงมือทำก็ยิ่งทำได้ดีกว่าที่พูดเสียอีก คุณสมบัติข้อนี้ย่อมทำให้ กัลยาณมิตรเป็นศูนย์รวมแห่งความศรัทธาคือทั้งน่ารัก น่าเคารพ และน่าเทิดทูน ย่อมจะมีอานิสงส์ต่อการ ทำหน้าที่กัลยาณมิตรได้อย่างดีเยี่ยม เพราะเพียงได้ยินก็ทำให้เกิดความประทับใจ ๔. วัตตา แปลว่า ฉลาดพรำสอนให้ได้ผล หมายถึงมีความสามารถพูดโน้มน้าวให้หมู่ญาติหรือ คนรอบข้างทำตามในสิ่งที่ดีงาม ชี้แจงพรำ่สอนด้วยความกรุณาปรารถนาดีอย่างจริงใจและต่อเนื่อง จนทำให้หมู่ญาติระลึกนึกถึงในฐานะของผู้มีหัวใจของการเป็นกัลยาณมิตรที่แท้จริง ที่คอยประคับประคอง หมู่ญาติและคนรอบข้างให้อยู่ในเส้นทางความดีแม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ง่ายต่อการชักจูงไปสู่หนทาง อันเป็นอกุศลกัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้จะต้องได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมจากการเลี้ยงดู โดยมีพ่อแม่หรือบุพการีหรือครูอาจารย์เป็นกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะอบรมถ่ายทอดจนกระทั่งติดเป็นอุปนิสัย คุณสมบัติข้อนี้ ถึงแม้กัลยาณมิตรจะชี้แนะพรำ่สอนอย่างต่อเนื่อง แต่หมู่ญาติก็สามารถรับรู้ถึง เจตนาอันบริสุทธิ์ที่อยู่เบื้องหลังการอบรม สั่งสอนได้ ไม่รู้สึกรำคาญหรือรังเกียจแต่ประการใด ๕. วจนักขโม แปลว่า อดทนต่อถ้อยคำของหมู่ญาติหรือคนรอบข้าง หมายถึงพร้อมที่จะรับฟัง คำปรึกษาซักถามอยู่เสมออดทนฟังได้แม้เรื่องการระบายความทุกข์ ความคับแค้นใจจากสภาพครอบครัว การทำงาน หรือการดำเนินชีวิต หรือคำก้าวร้าวหยาบคายของคนที่ไม่เข้าใจความปรารถนาดีโดยไม่ตอบโต้ กลับด้วยความฉุนเฉียวโกรธเคือง กัลยาณมิตรที่จะมีลักษณะอย่างนี้ได้จะต้องตระหนักถึงสถานะของ กัลยาณมิตรที่ตนเองดำรงอยู่ หากขาดความอดทนโดยแสดงอาการโกรธฉุนเฉียวออกไปเสียแล้ว ก็ย่อม ทำให้ตนเองต้องแหนงใจในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรที่ไม่สมบูรณ์บนเส้นทางของกัลยาณมิตร คุณสมบัติข้อนี้ ย่อมทำให้กัลยาณมิตรเป็นศูนย์รวม เป็นที่ยอมรับและคบหาของหมู่ญาติและ มหาชนเป็นอันมาก ทำให้หมู่ญาติยกย่องสมกับการทำหน้าที่กัลยาณมิตร ๖. คัมภีรัญจะ กะถัง กัตตา แปลว่า สามารถแถลงเรื่องที่ลึกลำ้ หมายถึงสามารถนำเรื่องที่ยาก มาอธิบายให้เห็นภาพพจน์เข้าใจได้ง่าย ทำให้หมู่ญาติทั้งหลายสิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในปัญหาเรื่อง โลกและชีวิต หรือหัวข้อธรรมะต่าง ๆ มีความเข้าใจจนสามารถนำไปแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ให้คลายทุกข์ ความกังวลไปสู่ความสุขได้โดยง่าย กัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้ แสดงว่าทุกลมหายใจจะต้องมีหมู่ญาติอยู่ในหัวใจคิดแต่จะ แสวงหาความรู้มาถ่ายทอดให้หมู่ญาติเข้าใจได้โดยง่าย นับว่ามีหัวใจของการเป็นกัลยาณมิตรอย่างแท้จริงคุณสมบัติข้อนี้ย่อมทำให้กัลยาณมิตรอยู่ในฐานะของผู้จุดประกายความสว่างทางปัญญาแก่ หมู่ญาติทั้งหลาย กัลยาณมิตรที่มีคุณสมบัติข้อนี้ อุปมาเหมือนผู้จุดคบเพลิงในที่มืด หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ให้สิ้นความเคลือบแคลงสงสัย พร้อมที่จะเดินไปสู่หนทางแห่ง ความสุขอย่างมั่นใจ ๗. โน จัฏฐาเน นิโยชะเย แปลว่า ไม่ชักนำไปในทางเสื่อม หมายถึง ประพฤติตนอยู่ในทำนอง คลองธรรม ไม่ยอมทำเรื่องที่เป็นความเสื่อม ทั้งในเรื่องการงานครอบครัว และการทำหน้าที่กัลยาณมิตร จนหมู่ญาติทั้งหลายถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้กัลยาณมิตรจะมีลักษณะอย่างนี้ได้ จะต้องมี ภูมิปัญญาที่จะแยกแยะออกได้ว่าสิ่งใดถูก-ผิด สิ่งใดชั่ว-ดี สิ่งใดควร-ไม่ควร และเต็มเปี่ยมไปด้วยหิริ โอตัปปะ คือความละอายบาป กลัวบาป ไม่ยอมกระทำความชั่วแม้มีโอกาสหรือในที่ลับตาคน ผู้ที่จะสามารถทรงคุณสมบัติเหล่านี้ในโลกสังคมออนไลน์ได้จำเป็นต้องมีคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ คือ มีปัญญา มีความกรุณา และมีความบริสุทธิ์รองรับอยู่ การจะได้ปัญญา กรุณา และบริสุทธิ์อย่าง ครบถ้วน นอกจากจะต้องศึกษาธรรมะให้แตกฉานแล้ว ยังจะต้องหมั่นทำทาน รักษาศีล และฝึกสมาธิ ภาวนาเป็นประจำ ไม่ยอมว่างเว้นแม้จะมีภารกิจหนักหนาเหนื่อยอ่อนเพียงใดก็ตาม ทำอย่างนี้ได้จึงจะ สมกับเป็นกัลยาณมิตรที่นำสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่เพื่อนในสังคมออนไลย์อย่างแท้จริง จึงกล่าวได้ว่า หลักพุทธธรรมที่ใช้อบรมคนที่ใช้สื่อในสังคมออนไลน์ คือหลักเบญจธรรมและหลัก กัลยาณมิตรเป็นหลักพุทธธรรมที่ทำให้สังคมออนไลน์ที่ทำให้ผู้ใช้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ กล่าวคือเป็นหลัก พุทธธรรมที่ใช้อบรมกายตน อบรมมนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย และวาจา เพราะการใช้สังคมออนไลน์ของ คนที่มีจิตใจไม่สมบูรณ์ วาจาก็จะต่ำทราม ใช้วาจาหยาบคายต่อกันแทนที่จะทักทายปราศรัยกันด้วยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน คิดอิจฉาริษยา หาทางเอาชนะกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การใช้สังคมออนไลน์ เช่นนี้เรียกว่า จิตใจไม่ได้อบรม ไม่ผ่องใส ขาดศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม แต่ถ้าคนในสังคมออนไลน์ ที่มีจิตใจดีงาม วาจาก็จะประเสริฐยิ่ง จิตใจที่บริสุทธิ์สะอาดผ่องใส วาจาดีมีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม น่ารัก น่าเคารพ น่านับถือบูชา สังคมออนไลน์ก็จะเป็นสังคมที่สงบและสร้างสรรค์ สรุป วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เชิงพุทธเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงจากการรับสาร คือ เกิดปัญญา อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งบทความนี้ได้กำหนดขอบเขตของประโยชน์ไว้ที่ ประโยชน์ในระดับโลกิยะที่เป็นประโยชน์ในโลกนี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) นั่นคือเป็นประโยชน์เพื่อตน ประโยชน์ เพื่อผู้อื่น ที่สนองตอบต่อบุคคลในระดับความเป็นอยู่ของบุคคลและสังคมในภพชาติปัจจุบัน ในส่วนที่เป็น ประโยชน์ของส่วนรวมหรือระดับสังคม ได้แก่การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขด้วยวิถีชีวิตทำดีงามทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ญาติมิตร บริวาร บุคคลอื่นและสังคม โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกันได้อย่างถูกต้องโดยสันติ ซึ่งข้อที่พึงใส่ใจปฏิบัติที่สำคัญ คือ ต้องอยู่บน พื้นฐานของความเข้าใจ และเคารพในความเป็นมนุษย์ของผู้ใช้เสื่อสังคมออนไลน์ในฐานะที่มีความเป็น มนุษย์เช่นเดียวกัน ไม่ว่าผู้ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์จะมีเป็นจำนวนมากเท่าไร จะมีความแตกต่างกันอย่างไร ก็ต้องคำนึงถึงทิฏฐิและวิถีหรือแบบแผนการดำเนินชีวิต เพราะผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลายเหล่านั้น ต่างก็มีความทุกข์ความสุข ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปตามธรรมดาภายใต้กฎธรรมชาติเช่นเดียวกัน ต้องประสบกับความเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นเดียวกัน การใช้สื่อสังคมออนไลน์ด้วยการดูถูก เหยียดหยาม ต่อผู้ที่ทำการใช้สื่อออนไลน์ด้วยกันจึงจำเป็นที่คนในสังคมออนไลน์ควรละเว้น การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่ประกอบด้วยหลักเบญจธรรมและหลักกัลยาณมิตรนับว่ามีความจำเป็นเพื่อให้สังคมสงบสุขและอุดม ปัญญา
..............................................................................................................................................................................................................................
เอกสารอ้างอิง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๗ กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๑. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐. . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. [ซีดี-รอม]. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘. A.P. Buddhadatta Mahāthera, English-Pali Dictionary, (Wiltshire : Antony Rowe, 1992).
โดย : วัดโคกเขมา
ที่อยู่ : ต.แหลมบัว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
จำนวนเข้าดู : 184
ปรับปรุงล่าสุด : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 11:34:31
ข้อมูลเมื่อ : 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 11:28:07
สื่อมีเดีย 10 อันดับ
ตลอดช่วงเข้าพรรษา และตลอดปีนี้ ทางวัดราษฎร์บำรุง(หงอนไก่) ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน ตั้งจิตน้อมใจเป็นกุศล สร้างบุญ ไหว้พระสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของวัดราษฎร์บำรุง(หงอนไก่) เพื่อน้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กระทำในสิ่งที่ดีงาม ที่ควรปลูกฝังให้กาย วาจา ใจ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อันจะทำให้มีสติ เกิดสมาธิ จิตใจสงบเป็นสุข อันเป็นการสร้างบุญอันยิ่งใหญ่ จะมีชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ให้รากฐานชีวิตฐานะของท่านทั้งหลาย มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกัน อันตรายทั้งหลาย บรรเทาทุกข์โศกโรคภัย ให้หายไป ตลอดกาล
โดย วัดราษฎร์บำรุง
ข้อมูลเมื่อ : 31-07-2567
เปิดดู : 67
ชาวโลกถูกมัจจุราชคอยประหัตประหาร ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรแห่งตัณหาทิ่มแทง พล่านไปด้วยความปรารถนาตลอดเวลา
ข้อมูลเมื่อ : 21-07-2567
เปิดดู : 58