เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8362 รูป
สามเณร
301 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8877 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7208 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง

รหัสวัด
02720710001

ชื่อวัด
วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ

วันตั้งวัด
-

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500

ที่อยู่
บ้านต้นตาล

เลขที่
58

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ต้นตาล

เขต / อำเภอ
สองพี่น้อง

จังหวัด
สุพรรณบุรี

ไปรษณีย์
72110

เนื้อที่
59 ไร่ 12 งาน - ตารางวา

โทรศัพท์
035472646

Fax
035472646

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นอุทยานการศึกษาในวัด

จำนวนเข้าดู : 1707

ปรับปรุงล่าสุด : 30 มกราคม พ.ศ. 2565 14:32:18

ข้อมูลเมื่อ : 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 21:27:10

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดสองพี่น้อง
กำเนิดวัดสองพี่น้อง
แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช / ในราชสำนัก
             เมื่อพระเจ้าปราสาททองเสด็จสวรรคต บรรดามุขอมาตย์ข้าราชบริพารทั้งปวงต่างน้อมใจกันยก “พระสุรินทร์กุมาร” พระราชโอรสขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๑๙๙ ทรงพระนามว่า  “สมเด็จพระนารายณ์”  พระบารมีของพระองค์แผ่ไพศาลไปทุกทิศานุทิศ ประเทศใหญ่น้อยต่างศิโรราบขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาเป็นสง่าแก่แผ่นดิน  ส่วนไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ต่างอยู่กันอย่างร่มเย็น  ภายในพระบรมโพธิสมภารแห่งพระองค์
             สมเด็จพระนารายณ์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ปราดเปรื่องเชิงโคลงกวีกล่าวกันว่าในรัชสมัยของพระองค์ ข้าราชบริพารนับแต่ขุนนางผู้ใหญ่จนถึงไพร่  เฝ้าหน้าประตู  ทุกคนต่างสื่อสารกันด้วยภาษาโวหารเชิงกวี  นอกจากนั้นพระองค์  ยังทรงเป็น       นักต่อสู้  รักที่จะคบหาบรรดาผู้มีฝีมือไว้เป็นพรรคพวก ยังรวมถึงพระอาจารย์ทั้งเป็นพระสงฆ์ และฆราวาสที่เชี่ยวชาญเวทย์มนต์คาถา ตลอดจนชำนาญในการเสกเป่าเครื่องรางของขลัง
                พระพิรอด ดำรงความเป็นสมณะเพศเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในป่าแขวงเมืองสุพรรณ  เป็นผู้ทรงวิทยาคมสำเร็จฌานเตโชกสิณ  มีฤทธาอยู่ยงคงกระพัน  จนคนทั่วไปเรียกว่าท่าน  “ขรัวคง”  หรือ  “ขรัวตาคง”  เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าได้รับพระราชทาน  พระราชวังที่พระราชทาน  จากพระราชบิดาคือ สมเด็จพระเจ้าประสาททอง ให้เป็นที่ประทับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงโปรดเกล้าฯ  อาราธนา  “พระพิรอด”  ให้ไปพำนักอยู่ในศาลาหลังสวนตำหนักวังนอกเพื่อรับการถ่ายทอดวิทยาคม  ทั้งพระองค์และพระสหายอีกหลายท่านซึ่งในจำนวนนั้นรวมถึง  พระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)  พระยาโกษาธิบดี (ปาน)  และ พระเพทราชา ด้วย
พระพิรอด  ผู้ให้กำเนิดวัดสองพี่น้อง
             หลักฐานเกี่ยวกับตำนานที่มาของวัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดว่าค่อนข้างลางเลือน  เนื่องจากมีการกล่าวถึงในประวัติศาสตร์น้อยมากแม้กระนั้นความชัดเจนที่ “วัดสองพี่น้อง” ถือกำเนิดขึ้นในสมัยแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา  อันตรงกับรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็เป็นความจริงที่ประวัติศาสตร์ไม่อาจบิดเบือน
             ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า พระองค์ได้  ทรงฝึกฝนเล่าเรียนอย่างยิ่งยวด  แต่หาได้พอพระหทัยอย่างเต็มที่ไม่   จึงทรงแสวงหาผู้มีวิชาถ่ายทอดให้พระองค์อยู่ร่ำไป  จนได้พบกับ  “พระพิรอด” หรือ “ขรัวตาคง”  พระผู้คงกระพัน  แขวงเมืองสุพรรณบุรี
             จากการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  มีพระแม่นมชื่อ  “บัว”  หรือที่รู้จักกันดีในนาม  “เจ้าแม่ดุสิต”  เป็นชาวสุพรรณบุรีซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพบกับพระภิกษุผู้แก่กล้ารูปนี้
             เจ้าแม่ดุสิตนี้  เดิมเป็นภรรยาพระญาติห่าง ๆ  ของพระเจ้าปราสาททอง ญาติคนนี้อาศัยอยู่ที่วัดดุสิต ตำบลสวนพลู  แขวงเมืองสุพรรณ  มีภรรยา  ๒  คน  ชื่อนางบัว  และนางเปรม  นางบัวนั้น มีบุตร ๒  คน  ชื่อเหล็ก และปาน  มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อฉ่ำ  ส่วนนางเปรม  มีบุตรชายคือ  พระเพทราชา  ต่อมาญาติผู้นี้เสียชีวิตลง  ภรรยาทั้งสองจึงกลายเป็นหญิงหม้าย ทั้งสองเข้าวัง  เพื่อเลี้ยงดูสมเด็จพระนารายณ์  หลังจากที่พระราชเทวีพระนางศิริธิดา  ซึ่งเป็นพระราชมารดาสมเด็จพระนารายณ์  สิ้นพระชนม์ภายหลังพระองค์มีพระประสูติกาล  ได้เพียง  ๗  เดือนเท่านั้น
             นางบัวซึ่งอยู่ในฐานะ  “พระแม่นม”  ถือเป็นบุคคลสำคัญที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรักเสมือนพระมารดา  เป็นที่ยำเกรงแก่ข้าราชบริพารทั่วหน้า  ภายหลังจึงได้รับการยกย่องและเรียกขานกันว่า  “เจ้าแม่ดุสิต”  นอกจากเจ้าแม่ดุสิตแล้ว   ทั้งเหล็กและปานซึ่งเป็นบุตรชายก็ได้กลายมาเป็นพระสหาย ก่อนเข้ารับราชการหลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นครองราชย์  จึงมีความเป็นไปได้ที่พระองค์จะเสด็จยังเมืองสุพรรณ  อยู่เนื่องๆ  เนื่องจากโปรดการล่าสัตว์  จนมีโอกาสพบกับพระพิรอด หรือ ขรัวตาคง  แห่งวัดสองพี่น้อง   พระสงฆ์ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานกลางป่ารกชัฏ  และได้ถวายการสอนวิชาอักขระ  ประจุอาคม  บนแผ่นผ้าที่ขมวดเกลียวม้วนเป็นวงแหวน  ซึ่งต่อมารู้จักกันดีในชื่อ  “แหวนพระพิรอด”  ด้วยความศรัทธาสมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดเกล้าฯ  อาราธนาให้พระพิรอดไปพำนักใกล้พระราชวัง เพื่อถวายการถ่ายทอดวิชาคงกระพัน
             จากหลักฐานในหนังสือประวัติศาสตร์การปกครองประเทศไทยของ  วิชัย ประสังสิต  หรือ ว.ช. ประสังสิต  มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า  “พระอาจารย์พิรอดอยู่วัดสองพี่น้อง แขวงเมืองสุพรรณ  อายุ  ๔๕  ปี”   และจากหนังสือวัดทั่วราชอาณาจักร  เล่ม ๑  พุทธศักราช ๒๕๒๕  ระบุว่า  “วัดสองพี่น้อง ประกาศตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๒”     
จึงวิเคราะห์ได้ว่า  เมื่อพระพิรอดเข้าถวายวิชาการแขนงต่างๆ แก่พระเจ้าแผ่นดิน  ตั้งแต่ครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า  จนขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช ๒๑๙๙ พระพิรอดยังคงจำพรรษาภายในตำหนักวังนอก  จนถึงราวปีพุทธศักราช ๒๒๑๒  หลังจากสมเด็จพระนารายณ์ครองราชย์ได้  ๑๓  ปี  พระพิรอดอาจเห็นว่าสมควรแก่เวลาที่จะเปลี่ยนอารามจำพรรษา   และไม่เหมาะหากจะบำเพ็ญภาวนาตามฐานะแห่งสงฆ์ภายในพระราชวังตลอดไป  สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเป็นหลักแหล่งยังที่เดิมคือวัดสองพี่น้อง  และเจ้าแม่ดุสิตรวมทั้งบุตรชายคู่บารมีสมเด็จพระนารายณ์ คือพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และพระยาโกษาธิบดี (ปาน)  ก็อาจเป็นกำลังสำคัญในการสร้างวัดจนลุล่วงไปด้วยดี  จากหลักฐานต่างๆ  รวมถึงจากพงศาวดารกรุงเก่าพอจะมีเค้าโครงอยู่เพียงเท่านี้
๑. วัดสองพี่น้อง มีที่ดินที่ตั้งวัด  เนื้อที่ประมาณ ๓๙ ไร่  ๒ งาน  ได้ตั้งวัดตามกฎหมาย   เมื่อวันที่  ๒๕  มิถุนายน  ๒๔๗๐  มีเขตติดต่อดังนี้   ทิศเหนือ ติดกับลำคลองสองพี่น้อง   ทิศตะวันตก ติดคลองสองพี่น้อง   ทิศใต้ ติดคลองสองพี่น้อง    ทิศตะวันออก ติดกับที่ทำการ องค์การบริหารส่วนตำบลต้นตาล  
๒. ลำดับเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้อง
ชื่อเจ้าอาวาส ครองวัดตั้งแต่ปี จนถึงปี
พระพิรอด หรือหลวงตาคง ๒๒๑๒ -
พระอาจารย์ชื่น - -
พระอาจารย์มน - -
พระอาจารย์ง้วน ๒๔๐๐ ๒๔๓๐
พระอาจารย์ยัง ๒๔๔๐ ๒๔๔๘
พระครูวินยานุโยค(เหนี่ยง) ๒๔๔๘ ๒๔๗๒
พระครูอุภัยภาดารักษ์(จ่าง) ๒๔๗๒ ๒๕๐๙
พระสิรินันทเมธี (สอิ้ง) ๒๕๐๙ ๒๕๓๙
พระปริยัติวรคุณ  (สมชาย ทตฺตชีโว) ๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน
 
๓. ปัจจุบันวัดสองพี่น้อง   เป็นพระอารามหลวง ชั้น ตรี  ชนิด  สามัญ 
                                ประกาศ ณ วันที่ ๘  มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๕๕

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : หนังสือรับรองสภาพวัด (219.52 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : เรื่อง ยกวัดราฎร์เป็นพระอารามหลวง (418.05 kb)

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระปริยัติวรคุณ (สมชาย) ทตฺตขีโว

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระครูอนุกูลนวการ (วิสุทธิ์) ฐานยุตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 13-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระครูสุวิธานสังฆกิจ (สมศักดิ์) จนฺทสุวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาอนุวัชร์ อภิชาโต

ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระมหาทินกร อริโย

ข้อมูลเมื่อ : 10-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระปลัดไพโรจน์ ธมฺมธโร ธมฺมธโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระปลัดภาณุพงศ์ ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระใบฏีกามนตรี วํสปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระสมชาย ธมฺมธีโร

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระณรงค์ สิทฺธาโส

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระจำเนียร วิมุตฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระธนัท สิริวฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาจักรกฤช นนฺทโก

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระประชา สติสมฺฺปนฺโน

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระภิรมย์ สุภทฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระดำรงค์ ปญฺญาวชิโร

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสุรศักดิ์ สุรเตโช

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระชัยวัฒน์ ชยวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 14-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระดาวพลอย อธิปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระณัฏฐวิช อกิญฺจโน

ข้อมูลเมื่อ : 08-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระธวัช สนฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 12-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

สามเณรสวิตต์ ลัยนันท์

ข้อมูลเมื่อ : 10-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

สามเณรพัณณกร ใจชื่อ

ข้อมูลเมื่อ : 10-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

สามเณรวัชรากร ใคร่ครวญ

ข้อมูลเมื่อ : 10-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

สามเณรอนุพันธ์ รูปสมดี

ข้อมูลเมื่อ : 10-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

สามเณรวิชาญ น้อยมหาพรม

ข้อมูลเมื่อ : 10-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

เทศกาลงานบุญประเพณี

ทอดผ้าป่าเจ็ดชั...

วันที่จัดงาน : 12-04-2563

เปิดดู 94 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

วิหารเทพสถิตย์

ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565

เปิดดู 394 ครั้ง

วิหารคต

ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565

เปิดดู 1468 ครั้ง

พระอุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565

เปิดดู 147 ครั้ง

เจดีย์สมเด็จพระ...

ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565

เปิดดู 1427 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

คีตธรรมแห่งการไ...

ข้อมูลเมื่อ 03-02-2565

เปิดดู 120 ครั้ง

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

โครงการรักษ์วัด...

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู 139 ครั้ง

ไหว้พระปิดเคราะ...

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู 356 ครั้ง

ที่มา “เรือนไทย...

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู 1959 ครั้ง

ประวัติวัดสองพี...

ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565

เปิดดู 350 ครั้ง

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด